สตูล น้ำล้นตลิ่งคลองสายหลัก ทะลักท่วมบ้านเรือน-ชุมชน จมแล้ว 3 อำเภอ 4 ตำบล 22 หมู่บ้าน เตือนประชาชน อาศัยอยู่ริมคลอง-ที่ลุ่ม เตรียมรับสถานการณ์น้ำสูงขึ้น
27 ก.ย. 66 – จากกรณีเกิดฝนตกหนัก พื้นที่จังหวัดสตูล ตั้งแต่วันที่ 25 – 26 กันยายน 2566 ทำให้น้ำในคลองสายหลัก มีปริมาณน้ำสูงขึ้น ท่วมผิวจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416 บริเวณสามแยกฉลุง และในชุมชนตลาดโดยรอบ
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล รายงานสถานการณ์ 27 ก.ย. 66 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 3 อำเภอ 4 ตำบล 22 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอท่าแพ ผู้ได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน อำเภอเมืองฯ ได้รับผลกระทบ 316 ครัวเรือน อำเภอควนโดน 750 ครัวเรือน ซึ่งจังหวัดสตูลได้แจ้งให้อำเภอที่ได้รับผลกระทบจัด กำลัง อส. ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในเบื้องต้น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล ได้สนับสนุนเรือในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'นครพนม' ดีเปรสชั่นมาตามนัด ระดมเดินเครื่องสูบน้ำรับมือ ผันลงน้ำโขงกันท่วมเมืองผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดนครพนม รวม 12 อำเภอ
อ่านเพิ่มเติม »
ปักธงแดง เตือนน้ำเต็มตลิ่ง ท่วม 3 อำเภอ ตชด.เร่งช่วยชาวบ้านขนของหนีน้ำทะลักสตูล ฝนตกต่อเนื่อง ปักธงแดง เตือนภัย น้ำเต็มตลิ่ง ท่วมแล้ว 3 อำเภอ ตชด.436 ส่งกำลังพลระดมขนของขึ้นบนที่สูง ช่วยชาวบ้านเดือดร้อน 40 ครัวเรือน หนีน้ำทะลัก
อ่านเพิ่มเติม »
แม่น้ำมูลขึ้นสูง ปภ.ตั้งเครื่องสูบน้ำ ชาวชุมชนประสบอุทกภัย 2 อำเภอ เร่งอพยพหนีอุบลราชธานี มรสุมกำลังแรง แม่น้ำมูลขึ้นสูง ปภ.เร่งตั้งเครื่องสูบน้ำ ลดน้ำท่วม ชาวชุมชนประสบอุทกภัย 2 อำเภอ อพยพหนีน้ำ 15 ชุมชน 200 ครอบครัว
อ่านเพิ่มเติม »
ปภ. ประกาศเตือน8อำเภอ เฝ้าระวังน้ำชีล้นตลิ่ง เหตุเขื่อนลำปาว ปรับเพิ่มการระบายร้อยเอ็ด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ประกาศเตือน 8 อำเภอ เฝ้าระวังน้ำชีล้นตลิ่ง เหตุเขื่อนลำปาว ปรับเพิ่มการระบาย น้ำวันละ 8.64 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่านเพิ่มเติม »
สพข.10 ดัน “เครือข่ายหมอดินอาสา” ยกระดับศักยภาพการอนุรักษ์ดินและน้ำในชุมชนหมอดินอาสา คือ เกษตรกรที่เป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่ ซึ่งได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ เรียกว่า หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมอดินอาสาประจำตำบล หมอดินอาสาประจำอำเภอ และหมอดินอาสาประจำจังหวัดอาสาเข้ามาช่วยกรมพัฒนาที่ดิน ดูแลรักษาทรัพยากรของท้องถิ่น โดยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดิน และเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินในชุมชนเคียงคู่ไปกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน สำหรับบทบาทของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน คือ เป็นผู้ทำการเกษตรถูกต้องตามหลักวิชาการพัฒนาที่ดิน เป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรข้างเคียง และสามารถให้ค
อ่านเพิ่มเติม »