น้ำมัน WTI ปิดพุ่ง $1.40 รับคาดการณ์อุปทานน้ำมันตึงตัว ราคาน้ำมัน น้ำมันWTI อินโฟเควสท์
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยได้ปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี รวมทั้งข่าวอิรักระงับการส่งออกน้ำมันบางส่วนจากเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าตลาดน้ำมันโลกจะเผชิญภาวะอุปทานตึงตัว
ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.40 ดอลลาร์ หรือ 1.92% ปิดที่ 74.37 ดอลลาร์/บาร์เรลตลาดน้ำมันยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการที่อิรักสั่งระงับการส่งออกน้ำมันราว 450,000 บาร์เรล/วันจากเคอร์ดิสถานผ่านทางตุรกี หลังจากคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการยืนยันว่าการส่งออกน้ำมันจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอิรัก โดยเคอร์ดิสสถานเป็นเขตปกครองตนเองซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอิรัก
นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 7.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 2.9 ล้านบาร์เรล นักลงทุนจับตาการประชุมคณะกรรมการของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ในวันที่ 3 เม.ย. ขณะที่แหล่งข่าวเปิดเผยว่า โอเปกพลัสมีแนวโน้มที่จะรักษานโยบายการผลิตน้ำมันด้วยการปรับลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปี 2566 แม้เกิดวิกฤตธนาคารในช่วงที่ผ่านมา
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
น้ำมัน WTI ปิดลบ 23 เซนต์ นลท.ขายทำกำไรหลังราคาพุ่งแรง : อินโฟเควสท์สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (29 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันพุ่งขึ้นติดต่อกัน 2 วันทำการ ขณะเดียวกันนักลงทุนยังคงจับตาภาวะอุปทานน้ำมันในตลาด ในช่วงแรกนั้น สัญญาน้ำมันดิบ WTI ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 73 ดอลลาร์ ก่อนที่จะอ่อนแรงลงในเวลาต่อมา เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันพุ่งขึ้นติดต่อกัน 2 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ปรับตัวขึ้น 0.21% แตะที่ 102.6478 เมื่อคืนนี้ ทั้งนี้ การแข็งค่าของดอลลาร์ทำให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งกำหนดราคาเป็นดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ ในระหว่างวัน สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ซึ่งระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 7.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 5.5 ล้านบาร์เรล รวมทั้งข่าวที่ว่าอิรักระงับการส่งออกน้ำมันบางส่วนจากเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน ทางตอนเหนือของอิรัก ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าตลาดน้ำมันโลกจะเผชิญภาวะอุปทานตึงตัว ข้อมูลของ EIA ยังระบุด้วยว่า สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 2.9 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 4.8 […]
อ่านเพิ่มเติม »
หุ้นไทยปิดบวก 3.61 จุด แกว่งไซด์เวย์เหนือ 1,600 กนง.ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด ช็อตต่อไปลุ้นส่งออก : อินโฟเควสท์SET ปิดวันนี้ที่ 1,610.52 จุด เพิ่มขึ้น 3.61 จุด (+0.22%) มูลค่าการซื้อขาย 44,496.08 ล้านบาท การซื้อขายหุ้นวันนี้ ดัชนีแกว่งไซด์เวย์ ดัชนีทำจุดสูงสุด 1,615.29 จุด และแตะจุดต่ำสุด 1,602.43 จุด ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้เพิ่มขึ้น 617 หลักทรัพย์ ลดลง 754 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 612 หลักทรัพย์ นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้แกว่งไซด์เวย์ออกด้านข้าง ลดความร้อนแรงลง หลังปรับตัวขึ้นมาเกือบ 100 จุดในช่วง 2 สัปดาห์นี้ ประกอบกับ ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ทำให้ไม่ได้มีแรงหนุนเข้ามาเพิ่ม แนวโน้มวันพรุ่งนี้คาดว่าตลาดฯ น่าจะยังไปไหนได้ไม่ไกล เนื่องจากนักลงทุนยังรอติดตามสถานการณ์ภาคธนาคารในต่างประเทศ รวมถึงจะมีการเปิดเผยตัวเลขส่งออกของไทยในสัปดาห์นี้ และตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ของยุโรป, […]
อ่านเพิ่มเติม »
พาณิชย์เผยส่งออกก.พ. หดตัว 4.7% คาดครึ่งปีแรกยังติดลบต่อเนื่อง : อินโฟเควสท์กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนก.พ.66 พบว่า มูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 22,376 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.7% ส่วนมูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 23,489 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.1% ส่งผลให้ในเดือนก.พ. ไทยขาดดุลการค้า 1,113 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.66) มูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 42,625 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.6% มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 48,388 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3.3% ส่งผลให้ช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ไทยขาดดุลการค้า 5,763 ล้านดอลลาร์ กระทรวงพาณิชย์ ยังประเมินด้วยว่า การส่งออกของไทยในไตรมาสแรกปีนี้ จะหดตัวราว 8% ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้หารือร่วมกับภาคเอกชนผู้ส่งออกสินค้า เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ายังมีสต็อกสินค้าอยู่ในปริมาณสูง จึงทำให้ชะลอการนำเข้าสินค้าจากไทย ประกอบกับเมื่อเทียบกับฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไตรมาส 1 ปี 65) ที่มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นถึง 14.7% […]
อ่านเพิ่มเติม »
เจ้าของยูนิโคล่-มูจิ-มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ ตบเท้ายุติผลิตสินค้าในเมียนมา : อินโฟเควสท์กลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้าระดับโลก เช่น ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เจ้าของแบรนด์ยูนิโคล่ จากญี่ปุ่น และมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์จากอังกฤษตัดสินใจยุติจ้างผลิตสินค้าในเมียนมา เนื่องจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและความวิตกกังวลเรื่องแรงงาน รวมถึงความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ การก่อรัฐประหารของกองทัพเมียนมาในเดือนก.พ. 2564 ส่งผลให้บริษัทต่างชาติแห่ถอนธุรกิจออกจากเมียนมา โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติที่ร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา ขณะเดียวกันก็จุดชนวนเหตุประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ และกองทัพเมียนมาก็ถูกกล่าวหาเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบเป็นวงกว้าง ฟาสต์ รีเทลลิ่งเป็นบริษัทล่าสุดที่ตัดสินใจถอนธุรกิจออกจากเมียนมา โดยถอดรายชื่อกลุ่มพันธมิตรในเมียนมาออกจากรายชื่อโรงงานผลิตเสื้อผ้า โดยฟาสต์ รีเทลลิ่งจ้างผลิตเสื้อแจ็กเก็ตและเสื้อเชิ้ตสำหรับแบรนด์ GU แต่จะยุติการผลิตสินค้าสำหรับฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวปี 2566 สำนักข่าวนิกเกอิ เอเชียรายงานว่า การถอนธุรกิจออกจากเมียนมาครั้งนี้แทบจะไม่มีผลกระทบต่อฟาสต์ รีเทลลิ่ง เนื่องจากบริษัทมีพันธมิตรด้านการผลิตกว่า 430 แห่งทั่วโลก เช่นในจีนและเวียดนาม ขณะเดียวกันบริษัทเรียวฮิน เคคะคุ เจ้าของแบรนด์มูจิจากญี่ปุ่นก็มีแผนที่จะยุติการจ้างผลิตเสื้อแจ็กเก็ตและสินค้าชนิดอื่น ๆ จากเมียนมาภายในเดือนส.ค. ด้านมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ประกาศเมื่อปีที่ผ่านมาว่าจะถอนธุรกิจออกจากเมียนมาในเดือนมี.ค. โดยระบุว่า บริษัทจะไม่อดทนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
ออสเตรเลียผ่านกม.ปิดช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ หวังพัฒนาชีวิตทำงานสตรี : อินโฟเควสท์ออสเตรเลียผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ (30 มี.ค.) กำหนดให้บริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 100 คนขึ้นไป ต้องเผยแพร่ข้อมูลความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างเพศตั้งแต่ต้นปีหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลที่จะปรับปรุงสภาพการทำงานของสตรี โดยข้อมูลอย่างเป็นทางการบ่งชี้ว่า ในปี 2566 ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างเพศในระดับชาติของออสเตรเลียอยู่ที่ 13.3% “จากการคาดการณ์ในปัจจุบัน จะต้องใช้เวลานานถึง 26 ปีในการปิดช่องว่างของรายได้ที่แตกต่างเพราะเพศสภาพ” นางเคที กัลลาเกอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสตรีของออสเตรเลียระบุในแถลงการณ์ “ผู้หญิงต้องทนรอมานานมากพอแล้วสำหรับการปิดช่องว่างของรายได้ที่แตกต่าง ซึ่งรัฐบาลชุดนี้จะไม่ปล่อยให้พวกเธอต้องรอต่อไปอีก 26 ปี” สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในปี 2560 อังกฤษออกคำสั่งให้ทุกบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 250 ต้องรายงานข้อมูลความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างเพศของพนักงานชายและหญิง ขณะที่สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายที่คล้ายคลึงกันในปี 2564 ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือนมี.ค. รัฐบาลออสเตรเลียผ่านร่างกฎหมายเพิ่มจำนวนวันลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับค่าจ้างเป็น 26 สัปดาห์ ซึ่งสามารถแบ่งกันได้ระหว่างพ่อและแม่ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »