นักเรียนบ้านป่าเด็งนับร้อยมีปัญหาสถานะบุคคล วอนรัฐเร่งแก้ไข หวั่นขาดโอกาสทางการศึกษา กดอ่าน
ส่วนใหญ่พ่อแม่ไม่มีบัตรประชาชนและเป็นชาวกะเหรี่ยง เนื่องจากในอดีตพ่อแม่ไม่มีเงินไปจ้างรถมาทำบัตรถึงที่อำเภอแก่งกระจานซึ่งต้องขับรถกว่า 1 ชั่วโมง ทำให้เมื่อเด็กๆเรียนจบ ป.6 มักไม่ได้เรียนต่อ หรือเรียนบางกลุ่ม จบ ม.6 ก็ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยไม่ได้เพราะไม่มีเงิน
“เมื่อก่อนเด็กๆที่ประสบปัญหาเช่นนี้เคยมีถึงกว่า 300 คน แต่เมื่อ 2-- ปีก่อน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม.ได้มาลงพื้นที่ และช่วยกันเก็บข้อมูลส่งไปที่อำเภอทำให้เด็กกว่า 100 คนได้รับการแก้ไข แต่ทางอำเภอแจ้งว่าหมดก่อน ทำให้เหลืออีกกว่า 100 คน ไม่ได้รับการแก้ไข จริงๆแล้วพวกเขาควรได้ทั้งหมดแล้ว มีรายชื่อตกค้างอยู่ที่อำเภอ อีกบางส่วนที่ตกค้างอยู่ที่โรงเรียนอีกไม่ถึง 50 คน”นายแซมซั่น กล่าวและว่าในปีนี้ก่อนเปิดเทอมมีเด็กนักเรียนที่จบ ป.
ขณะที่นายเกรียงไกร ชีช่วง ผู้ประสานงานเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมา มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรม “กล้าใหญ่ อินดี้” ที่โรงเรียนป่าเด็งวิทยา โดยมีนักเรียนและเยาวชนเข้าร่วม 120 คน โดยรูปแบบกิจกรรมมุ่งเน้นการอบรมทักษะจำเป็นในการใช้ชีวิต ทักษะการเข้าสังคม ทักษะการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การสร้างกำลังใจ ให้คำปรึกษาปัญหาด้านต่างๆ การรู้เท่าทันสื่อ...
นายเกรียงไกร กล่าวว่า กิจกรรมมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายนักเรียนและเยาวชนชายขอบในพื้นที่แก่งกระจาน โดยโรงเรียนป่าเด็งวิทยามีนักเรียนจำนวนมากที่เป็นกลุ่มชาติพันธ์กระเหรี่ยงในพื้นที่ป่าละอู และจากพื้นที่อื่นเดินทางมาเรียนแบบอยู่ประจำ เช่น บางกลอย ป่าละอู เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มเยาวชนที่มีความเปราะบาง ทั้งทางเศรษฐกิจ และการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา โดยสิ่งที่เยาวชนสะท้อนออกมา ทำให้เห็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาการการจัดการสุขภาวะในชุมชน และสิทธิการศึกษา...
“ปัญหาด้านสิทธิ การไม่มีบัตรประชาชน ทำให้เด็กๆ ไม่มีโอกาสศึกษาต่อ ไม่มีเงินทุนการศึกษา จะไปกู้ยืมกองทุนของรัฐก็ไม่มีสิทธิ จบมาก็ต้องเข้าสู่ภาคแรงงาน อยากให้เด็กมีความมุ่งมั่น มีความฝัน มีโอกาสศึกษาต่อ เราพยายามให้โอกาส ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจให้เยาวชน” นายเกรียงไกร กล่าว