ธปท. แจงบาทอ่อนจากดอลลาร์กดดัน ยันไม่พบเงินทุนเคลื่อนย้ายผิดปกติ : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

ธปท. แจงบาทอ่อนจากดอลลาร์กดดัน ยันไม่พบเงินทุนเคลื่อนย้ายผิดปกติ : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 39 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 19%
  • Publisher: 68%

ธปท. แจงบาทอ่อนจากดอลลาร์กดดัน ยันไม่พบเงินทุนเคลื่อนย้ายผิดปกติ Fed ดอลลาร์ ธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท เงินบาท อินโฟเควสท์

น.ส.ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินผันผวนสูงขึ้น จากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิมในระยะถัดไป โดยนับแต่ต้นปี เงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับแข็งค่าไปแล้วกว่า 14.

ทั้งนี้ ยังไม่พบสัญญาณการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ โดยนับตั้งแต่ต้นปี นักลงทุนต่างชาติยังมีฐานะซื้อสุทธิในสินทรัพย์ไทยประมาณ 1.6 แสนล้านบาท นอกจากนี้ การแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังส่งผลให้มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศ ของหลายประเทศปรับลดลงเช่นกัน โดยสำหรับไทย เงินสำรองฯ ปรับลดลงจาก 2.78 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงต้นปี มาอยู่ที่ระดับ 2.4 แสนล้าน

“การลดลงดังกล่าว เป็นผลจากการตีมูลค่าเงินสำรองฯ ที่อยู่ในสินทรัพย์หลายสกุลเงินให้เป็นสกุลดอลลาร์ฯ เป็นสำคัญ โดยเงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้สินทรัพย์สกุลอื่นเมื่อตีเป็นรูปดอลลาร์ฯ มีมูลค่าลดลง ซึ่งโดยปกติ ในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์ฯเคลื่อนไหวผันผวนสูง จะเห็นมูลค่าเงินสำรองฯ ผันผวนสูงขึ้นตามไปด้วย”อย่างไรก็ดี ไทยยังมีฐานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง จากระดับเงินสำรองฯ ที่อยู่ที่ประมาณ 2.

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

นักเศรษฐศาสตร์ห่วง เศรษฐกิจไทยฟื้น สวนทางครัวเรือนช็อตสภาพคล่องหนักนักเศรษฐศาสตร์ห่วง เศรษฐกิจไทยฟื้น สวนทางครัวเรือนช็อตสภาพคล่องหนักRERUN กอบศักดิ์” ชี้ เศรษฐกิจไทยเริ่มน่ากังวล ส่งออก การลงทุน การบริโภคเริ่มแผ่ว สะท้อนเริ่มรับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 'อีไอซี' คาด เงินเฟ้อสูงเกินกรอบ ธปท.ตั้งไว้ ถึงปี 67 กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม »

“สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล” รายย่อยเข้าถึงได้น้อย เปิด 4 โจทย์ใหญ่ผู้ประกอบการไทย“สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล” รายย่อยเข้าถึงได้น้อย เปิด 4 โจทย์ใหญ่ผู้ประกอบการไทย“สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล” รายย่อยเข้าถึงได้น้อย เปิด 4 โจทย์ใหญ่ผู้ประกอบการไทย PPTVHD36 ช่อง36 สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล กู้เงิน สถาบันการเงิน ธปท. ผู้ประกอบการ
อ่านเพิ่มเติม »

BOJ สั่งตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยน ส่งสัญญาณแทรกแซงตลาดสกัดเยนร่วง : อินโฟเควสท์BOJ สั่งตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยน ส่งสัญญาณแทรกแซงตลาดสกัดเยนร่วง : อินโฟเควสท์สำนักข่าวเกียวโดรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ดำเนินการตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Rate Check) ด้วยการสอบถามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในตลาดปริวรรตเงินตราเกี่ยวกับการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นสัญญาณล่วงหน้าที่บ่งชี้ว่าจะมีการเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราโดยตรง ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของ BOJ มีขึ้น หลังจากนายชูนิชิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นกล่าวว่า ญี่ปุ่นจะใช้ทุกทางเลือก ซึ่งรวมถึงการเข้าแทรกแซงตลาดโดยตรง หากเงินเยนยังคงทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เงินเยนได้รับแรงกดดันอย่างหนักหลังจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค.ของสหรัฐพุ่งขึ้น 8.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 8.1% ซึ่งส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกเป็นเวลานาน “เงินเยนมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและเป็นการเคลื่อนไหวฝั่งเดียว (one-sided move) ซึ่งทำให้เรากังวลอย่างมาก หากเงินเยนยังคงเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ต่อไป เราก็จะใช้มาตรการตอบสนองในทุกทางเลือก” นายซูซูกิกล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การแทรกแซงตลาดด้วยการเข้าซื้อเงินเยนเป็นหนึ่งในทางเลือกของรัฐบาลด้วยหรือไม่ นายซูซูกิตอบว่า “เรามีการหารือกันเกี่ยวกับการใช้ทุกทางเลือก ดังนั้นคำถามที่ว่า เราจะแทรกแซงตลาดด้วยวิธีการเข้าซื้อเงินเยนหรือไม่ นั่นก็ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกของรัฐบาลด้วย” โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 ก.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »

In Focus: พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จเสวยราชย์ นำพาราชวงศ์มุ่งสู่ยุคสมัยใหม่ : อินโฟเควสท์In Focus: พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จเสวยราชย์ นำพาราชวงศ์มุ่งสู่ยุคสมัยใหม่ : อินโฟเควสท์การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 นำมาสู่ปฐมบทแห่งรัชกาลใหม่ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ช่วงเวลาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินนี้ได้ก่อให้เกิดคำถามว่า กษัตริย์พระองค์ใหม่จะทรงเข้าแทรกแซงกิจการการเมืองหรือไม่ ข้อวิตกกังวลนี้อิงจากหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดชั่วระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยในขณะทรงดำรงพระยศเจ้าชายแห่งเวลส์ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงมักแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อม นโยบายผู้อพยพ กสิกรรม และยาร่วมสมัย ทั้งยังถูกครหาว่าแทรกแซงทางการเมือง โดยพระองค์มักส่งจดหมายถึงเหล่ารัฐมนตรี ซึ่งขนานนามกันว่า “บันทึกแมงมุมดำ” (Black spider memos) อันมีที่มาจากลายพระหัตถ์เปี่ยมเอกลักษณ์ของพระองค์ ขณะที่เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งมีกระแสข่าวเรื่องอดีตนายกรัฐมนตรีกาตาร์บริจาคเงินเข้ามูลนิธิของพระองค์ในปีพ.ศ. 2554 – 2558 อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วรัชกาลของกษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์อังกฤษนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยกว่าที่คาดการณ์เอาไว้มาก สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คืออังกฤษปกครองประเทศด้วยระบอบราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ   *บทบาทของราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐตามระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อันหมายความว่า การบัญญัติกฎหมายเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น โดยนับตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าจอห์นและการตรากฎบัตรใหญ่แห่งเสรีภาพเมื่อปีพ.ศ. 1758 อังกฤษก็ใช้ระบอบกษัตริย์ที่ถูกจำกัดด้วยกฎหมาย แม้พระเจ้าแผ่นดินทรงต้องพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติของรัฐสภาอย่างเป็นทางการ แต่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงขนบธรรมเนียม หาใช่กระบวนการที่ได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง เพื่อให้สถาบันกษัตริย์อยู่รอด พระเจ้าแผ่นดินทรงต้องวางตนอยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง และเป็นกลางทางการเมือง โดยในอดีตเคยมีบทเรียนให้เห็นแล้วว่าการใช้อำนาจตามอำเภอใจนั้นได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจย้อนคืน เช่นเหตุการณ์ที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 บุกรัฐสภาในปีพ.ศ. 2185 เพื่อจับกุมสมาชิกรัฐสภาโทษฐานเป็นกบฏ จนนำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน อังกฤษในขณะนั้นได้เปลี่ยนสถานะเป็นสาธารณรัฐในเวลาอันสั้น …
อ่านเพิ่มเติม »

ที่ประชุมสภาฯ มีมติ 218:109 ไม่ให้เก็บดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมเงิน กยศ. : อินโฟเควสท์ที่ประชุมสภาฯ มีมติ 218:109 ไม่ให้เก็บดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมเงิน กยศ. : อินโฟเควสท์การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … หรือร่าง พ.ร.บ.กยศ. ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ต่อจากเมื่อวันที่ 31 ส.ค.65 ซึ่งได้พิจารณาจนถึงมาตรา 17 แก้ไขมาตรา 44 พ.ร.บ.กยศ.เกี่ยวกับผู้กู้ยืมเงินจะต้องมีหน้าที่ชำระเงินกู้ยืมที่ได้รับไป พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินคืนให้กองทุนฯ โดยร่าง พ.ร.บ. ฉบับที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอให้เก็บอัตราดอกเบี้ย 2% แต่ต่อมา กมธ.เสียงข้างมาก ปรับลดให้เก็บอัตราดอกเบี้ย 0.25% กระทั่งที่ประชุมสภาฯ ลงมติไม่เห็นด้วยกับ กมธ.เสียงข้างมาก อย่างไรก็ตาม การพิจารณาในวันนี้เป็นการลงมติว่าจะเห็นด้วยกับเสียงข้างน้อยกลุ่มใด เนื่องจากมีผู้สงวนความเห็นไว้ถึง 6 กลุ่ม ซึ่งต่อมากลุ่ม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ และกลุ่มนายซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะลา พรรคประชาชาติ ขอถอน ทำให้เหลือ 4 กลุ่มที่ต้องลงมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย …
อ่านเพิ่มเติม »

รมว.คลังฝรั่งเศสมั่นใจเศรษฐกิจไม่ถดถอย แม้หั่นคาดการณ์ GDP ปีหน้า : อินโฟเควสท์รมว.คลังฝรั่งเศสมั่นใจเศรษฐกิจไม่ถดถอย แม้หั่นคาดการณ์ GDP ปีหน้า : อินโฟเควสท์นายบรูโน เลอแมร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฝรั่งเศสระบุในวันนี้ (14 ก.ย.) ว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสจะไม่ประสบกับภาวะถดถอย แม้รัฐบาลได้ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับปี 2566 ทั้งนี้ นายเลอแมร์ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ซีนิวส์ว่า รัฐบาลฝรั่งเศสได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2565 เป็น 2.7% จากเดิมที่ 2.5% “ฝรั่งเศสจะไม่เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากเศรษฐกิจปี 2565 อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเราได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้สู่ 2.7% จาก 2.5%” นายเลอแมร์กล่าว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลฝรั่งเศสได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2566 ในวันอังคาร (13 ก.ย.) สู่ระดับ 1% จากการประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 1.4% เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลวางแผนที่จะปล่อยให้ราคาก๊าซและไฟฟ้าสำหรับภาคครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้นในปี 2566 ท่ามกลางราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นหรือไม่ นายเลอแมร์เน้นย้ำว่า เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่ภาคครัวเรือนต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ดี นายเลอแมร์ไม่ได้ยืนยันว่า ราคาก๊าซอาจจะปรับตัวขึ้นสูงถึง 15% ตามที่มีการคาดการณ์ในสื่อต่าง ๆ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 ก.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-06 03:40:25