ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยพ.ค.ฟื้นต่อเนื่อง ตามท่องเที่ยว-ใช้จ่ายในปท.หนุน ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท เงินเฟ้อ เศรษฐกิจไทย อินโฟเควสท์
ธนาคารแห่งประเทศไทย เผย เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค. 66 อยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นทั้งการบริโภค และการลงทุน ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวจากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำ ปรับเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวต่อเนื่อง
ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ตามค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลง ประกอบกับมีผลของฐานสูงในปีก่อน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเล็กน้อย ด้านตลาดแรงงานฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อย
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'ก้าวไกล' หวัง 2 ก.ค. ได้ข้อสรุป 'ปธ.สภา' ดักคอ พท. ไม่แทงข้างหลัง'เลขาฯก้าวไกล' แจงยังไม่ได้ข้อยุติเก้าอี้ 'ปธ.สภา' มั่นใจ 2 ก.ค. จบได้แน่ ดักคอ 'เพื่อไทย' จริงใจไม่แทงข้างหลัง จับมือตั้งรัฐบาล หนุน 'พิธา' นายกฯ
อ่านเพิ่มเติม »
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้พุ่งเกินคาดในพ.ค. อานิสงส์การผลิตรถยนต์และชิป : อินโฟเควสท์สำนักงานสถิติเกาหลีใต้เปิดเผยข้อมูลในวันนี้ (30 มิ.ย.) บ่งชี้ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้พุ่งขึ้นในเดือนพ.ค. นำโดยการผลิตรถยนต์และชิป ขณะที่ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค.ด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 3.2% หลังลดลง 0.6% ในเดือนเม.ย. ซึ่งสวนทางกับผลสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าอาจลดลง 0.8% และสูงกว่า 2.8% ซึ่งเป็นระดับประมาณการการเพิ่มขึ้นสูงสุดในผลสำรวจ ผลผลิตรถยนต์พุ่งขึ้น 8.7% และผลผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น 4.4% ในเดือนพ.ค. แต่ผลผลิตอุปกรณ์สื่อสารร่วงลง 16.9% ส่วนยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ค. หลังจากลดลง 2.6% ในเดือนเม.ย. เนื่องจากประชาชนซื้อสินค้าคงทน อาทิ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนมากขึ้น หลังจากสภาพอากาศอบอุ่นกว่าระดับเฉลี่ยในเดือนพ.ค. โดยภาคค้าปลีกโดยรวมขยายตัว 0.5% ในเดือนพ.ค. การลงทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น 3.5% โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเครื่องจักรซึ่งเพิ่มขึ้น 2.6% และกลุ่มเครื่องบินซึ่งเพิ่มขึ้น 6.2% โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 มิ.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE […]
อ่านเพิ่มเติม »
ประชุมสภาฯ 4 ก.ค.นี้ ก้าวไกล-เพื่อไทย ปิดดีลประธาน : อินโฟเควสท์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหนังสือแจ้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จะมีการประชุมสภาฯ สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1 ในวันที่ 4 ก.ค. 66 เวลา 9.30 น. เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่ามกลางกระแสข่าวการเจรจาตำแหน่งประธานสภาฯ ระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลได้ข้อสรุปลงตัวแล้ว โดยพรรคก้าวไกล จะได้ตำแหน่งประธานสภาฯ ส่วนพรรคเพื่อไทย ได้ตำแหน่งรองประธานสภาฯ 2 ที่นั่ง บนเงื่อนไขที่ว่าทั้ง 8 พรรคร่วมจะสนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถ้านายพิธา ไม่สามารถฝ่าด่าน ส.ว. ได้ พรรคเพื่อไทยจะเป็นแกนนำจัดตั้ง โดยพรรคก้าวไกลจะอยู่ช่วยเพื่อไทยในการจัดตั้งรัฐบาลไม่แยกตัวออกไปไหน นอกจากนี้ยังขอต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเกรดเอ ในบางกระทรวง เช่น กระทรวงพลังงาน ให้เป็นของพรรคเพื่อไทย โดยที่ยังยึดสูตรเหมือนเดิม 14+1 ทั้ง 2 พรรค โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 มิ.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
STARK คาดสรุปแผนแก้ส่วนผู้ถือหุ้นติดลบใน 19 ก.ค. : อินโฟเควสท์บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทได้นำส่งงบการเงินประจำปี 2565 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีและปรากฏว่าส่วนของผู้ถือหุ้นปี 2564 (ปรับปรุงใหม่) และปี 2565 มีค่าน้อยกว่าศูนย์นั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงประกาศให้หลักทรัพย์ของบริษัทมีเหตุเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน บริษัทขอชี้แจงว่า บริษัทมิได้นิ่งนอนใจและจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขเหตุเพิกถอนดังกล่าว บริษัทมีความตั้งใจที่จะปรับโครงสร้างทุนและโครงสร้างหนี้ ทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยซึ่งดำเนินธุรกิจหลัก เพื่อทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทมีค่ามากกว่าศูนย์ และมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติของบริษัทย่อยซึ่งดำเนินธุรกิจหลัก โดยบริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางดำเนินการแก้ไข ดังต่อไปนี้ 1. เจรจากับเจ้าหนี้ที่สำคัญทั้งหมด เพื่อให้เจ้าหนี้ต่าง ๆ ระงับการใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้โดยพลันสนับสนุนแผนการปรับโครงสร้างทุนและโครงสร้างหนี้ของบริษัท รวมถึงให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อวางแผนการบริหารการชำระหนี้ และวางแผนธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 2. จำหน่ายทรัพย์สิน (เช่น หุ้นในบริษัทย่อยที่ไม่ได้ด เนินธุรกิจหลักของบริษัท สิทธิเรียกร้องในสัญญาที่สำคัญ) และปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณธุรกิจ เพื่อเพิ่มรายได้และลดต้นทุนคงที่ (fixed cost) และค่าใช้จ่ายของบริษัท 3. เพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในปัจจุบัน หรือพิจารณาหานักลงทุนรายใหม่ เพื่อเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท 4. ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายเพื่อดำเนินการฟื้นฟูกิจการเพื่อปรับโครงสร้างทุนและโครงสร้างหนี้ของบริษัท รวมถึงให้สิทธิการแปลงหนี้เป็นทุนแก่เจ้าหนี้ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้ ในการจะพิจารณาเลือกแนวทางแก้ไขส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์บริษัทจะต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขและข้อจำกัดต่าง ๆ ภายใต้สัญญาทางการเงิน […]
อ่านเพิ่มเติม »
EEC ยกคณะเดินสายโรดโชว์จีน 9-15 ก.ค.ชักชวนลงทุน EV-พลังงานสะอาด-แบตเตอรี่-การแพทย์ : อินโฟเควสท์นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC เปิดเผยว่า EEC เตรียมเดินทางไปยังจีน ทั้งเมืองเซี่ยงไฮ้และกวางตุ้ง ในช่วงวันที่ 9-15 ก.ค. เพื่อให้ข้อมูล (โรดโชว์) และดึงดูดภาคธุรกิจจีนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) พลังงานสะอาด แบตเตอรี่ไฟฟ้า และการแพทย์ เนื่องจากจันมีนโยบายขับเคลื่อนการลงทุนไปยังต่างประเทศ ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมามีนักธุรกิจจีนเข้ามาในประเทศไทยเพื่อมองหาโอกาสการลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ EV ที่สนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม คือ บริษัท กวางโจว ออโต้ คอร์ปอเรชั่น (GAC AION) นอกเหนือจากค่าย BYD และ เกรทวอลล์ ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยแล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจจีนเข้ามาลงทุนใน EEC ราว 11% หรือ ประมาณ 2 แสนล้านล้านบาท และ ภาคธุรกิจจากฮ่องกง […]
อ่านเพิ่มเติม »
สศค. เผยศก.ไทยพ.ค.ได้แรงหนุนท่องเที่ยว-บริโภค-เงินเฟ้อลดต่อเนื่อง : อินโฟเควสท์นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพ.ค.2566 โดยเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค.66 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย การบริโภคภาคเอกชน และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐยังคงหดตัว แต่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนพฤษภาคม 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่29.4% และ 13.5% โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนพฤษภาคม 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.7 จากระดับ 55.0 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 และสูงสุดในรอบ 39 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน -6.5% และรายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในเดือนพฤษภาคม 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -9.8% เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุน […]
อ่านเพิ่มเติม »