ท่องเที่ยว ยังขับเคลื่อนศก.ไทยพ.ย. แต่ส่งออกชะลอตามคู่ค้า เศรษฐกิจไทย อินโฟเควสท์
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน มีสัญญาณทรงตัวจากเดือนก่อน และการส่งออกสินค้าชะลอลงตามทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -2.2% แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 13.6% และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 0.
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามอุปสงค์ที่ชะลอตัวของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ดี ตลาดที่ยังคงขยายตัว ได้แก่ สหราชอาณาจักร ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ขยายตัวที่ 22.2% 13.8% 7.1% 3.2% และ 1.2% ตามลำดับ
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ศก.โลกซบเซาถ่วงผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนพ.ย.ลด 0.1% : อินโฟเควสท์กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ (28 ธ.ค.) ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือนพ.ย.ปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากอุปสงค์ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรอ่อนแอลงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ข้อมูลระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือนพ.ย. ลดลง 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งลดลงน้อยกว่าที่ค่ากลางที่ตลาดคาดการณ์ว่าอาจจะลดลง 0.3% นับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นหดตัวลง หลังจากที่ลดลง 3.2% ในเดือนต.ค. และ 1.7% ในเดือนก.ย. รายงานระบุว่า ผลผลิตเครื่องจักรทั่วไป ร่วงลง 7.9% ในขณะที่ผลผลิตเครื่องจักรการผลิต ลดลง 5.7% ฉุดรั้งดัชนีผลผลิตรวมในเดือนพ.ย. นอกจากนี้ ผลผลิตผลิตภัณฑ์รถยนต์หดตัว 0.8% ด้วยเช่นกัน METI ระบุในการแถลงข่าวว่า ความต้องการอุปกรณ์ผลิตเซมิคอนดักเตอร์และจอแบนมีแนวโน้มลดลงในตลาดต่างประเทศ เช่น จีน ยุโรป และอเมริกาเหนือ ทั้งนี้ METI ได้ปรับลดการประเมินผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยระบุว่า “การผลิตอ่อนแอลง” ผลสำรวจกลุ่มผู้ผลิตคาดการณ์ว่า […]
อ่านเพิ่มเติม »
ดิ่งต่อ! ส่งออกพ.ย. ร่วง 6% ผลพวงเศรษฐกิจโลกชะลอ : อินโฟเควสท์นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือน พ.ย.65 ว่า การส่งออก มีมูลค่า 22,308 ล้านดอลลาร์ ลดลง 6.0% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 23,650 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 5.6% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เดือนพ.ย. ไทยขาดดุลการค้า 1,342 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในช่วง 11 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.65) การส่งออกของไทย มีมูลค่า 265,349 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.6% การนำเข้าของไทย มีมูลค่า 280,438 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.3% ส่งผลให้ 11 เดือนแรกปีนี้ ไทยขาดดุลการค้า 15,088 ล้านดอลลาร์ โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการส่งออกของไทยในช่วงท้ายปีนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงปี 66 คือ 1. ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 2. […]
อ่านเพิ่มเติม »
จับตายุบสภา! หลังครม.ไฟเขียวกรอบวงเงินงบประมาณปี 67 : อินโฟเควสท์นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2567 โดยมีกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย วงเงิน 3.35 ล้านล้านบาท เป็นงบประมาณแบบขาดดุล จำนวน 5.95 แสนล้านบาท และกระบวนหลังจากนี้เป็นไปตามปฏิทินงบประมาณที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ นายเฉลิมพล ชี้แจงว่า การจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลลงเรื่อยๆ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงการคลังที่ต้องการให้ขาดดุลงบประมาณต่ำกว่า 3% เพื่อนำไปสู่งบประมาณสมดุลในอนาคต อย่างไรก็ตาม แม้จะจัดทำแบบงบประมาณขาดดุลลงเรื่อยๆ จะไม่กระทบต่องบลงทุน เพราะสามารถจัดเก็บรายได้มากขึ้น มีการกู้น้อยลง นายเฉลิมพล เชื่อว่า แม้จะมีการยุบสภาเกิดขึ้น ก็ไม่ส่งผลต่อการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณ และเมื่อเดินตามปฏิทินงบประมาณ สิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ คือ งบรายจ่ายประจำที่เป็นไปตามกฏหมาย และภาระงบประมาณผูกพัน ซึ่งไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทางสำนักงบประมาณได้เตรียมการรองรับไว้ เพียงแต่ว่าการใช้งบประมาณประมาณปี 67 อาจช้ากว่ากำหนด ซึ่งสามารถใช้จ่ายงบประมาณปี 66 ไปพลางก่อนได้ และเชื่อว่าสามารถรองรับการใช้จ่ายงบประมาณไปได้ 6 เดือน หรือประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (27 […]
อ่านเพิ่มเติม »
ห่วง 6 อุตสาหกรรมรับผลกระทบค่าไฟขึ้น : อินโฟเควสท์นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า จากผลการศึกษาผลกระทบต่อการขึ้นค่าไฟฟ้าต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม พบว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ เหล็กและเหล็กกล้า รองลงมา ได้แก่ ซีเมนต์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เครื่องแต่งกาย และเซรามิก ทั้งนี้ เมื่อนำอุตสาหกรรมดังกล่าวมาวิเคราะห์ต่อในมุมของการจำหน่าย โดยใช้ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) ของ สศอ. ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 65 (ม.ค.-ต.ค.) พบว่า ดัชนีการส่งสินค้าของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และสิ่งทอ มีค่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรม 2 กลุ่มนี้ นอกจากได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าแล้ว ยังขายสินค้าได้น้อยลงอีกด้วย นางวรวรรณ กล่าวต่อว่า ในมุมของการขึ้นค่าไฟฟ้าต่อต้นทุนการผลิต จะส่งผลกระทบต่อ MSME มากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของ MSME สูงกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ผลิตแบบ Mass Production สำหรับข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการ คือ 1. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน พลังงานสะอาด […]
อ่านเพิ่มเติม »
ปักกิ่งเตรียมแจกยาต้านโควิดของไฟเซอร์หลังระบบสาธารณสุขรับภาระหนัก : อินโฟเควสท์สำนักข่าวไชน่า นิวส์ เซอร์วิส ของทางการจีน รายงานว่า กรุงปักกิ่งจะเริ่มกระจายยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ซึ่งเป็นยารักษาโรคโควิด-19 ของไฟเซอร์ ให้กับศูนย์สุขภาพชุมชนในปักกิ่งในเร็ว ๆ นี้ รายงานดังกล่าวมีขึ้นขณะที่ปักกิ่งกำลังประสบปัญหาจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งทำให้โรงพยาบาลรับภาระหนักและร้านขายยาขาดแคลนยารักษาโรค รายงานระบุว่า แพทย์ในชุมชนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับตัวยา และจะสามารถสั่งยาให้กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาได้ บุคลากรรายหนึ่งของศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตซีเฉิงของกรุงปักกิ่งกล่าวว่า “เราได้รับแจ้งจากทางการแล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่ายาจะมาถึงเมื่อใด” สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ยาแพกซ์โลวิดยังคงเป็นยาที่ใช้รักษาโควิด-19 เพียงตัวเดียวที่เป็นยาจากต่างประเทศและได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของจีนให้ใช้ในจีน แต่การเข้าถึงตัวยานั้นยากมาก โดยเมื่อแพลตฟอร์มสาธารณสุขรายหนึ่งของจีนเปิดขายยาตัวดังกล่าวเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ยาก็หมดอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง นอกจากนี้ จีนยังอนุมัติการใช้ยาแอซวูดีน (Azvudine) ซึ่งเป็นยารักษาโควิด-19 ชนิดรับประทานจากบริษัทเจ็นนิวอิน ไบโอเทค (Genuine Biotech) ของจีนด้วยเช่นกัน โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (27 ธ.ค. 65) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
ฮ่องกงเล็งปรับกฏตรวจโควิดนักเดินทาง ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างชาวจีนกับต่างชาติ : อินโฟเควสท์หนังสือพิมพ์เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ ของฮ่องกง รายงานว่า ฮ่องกงเตรียมปรับข้อกำหนดการตรวจเชื้อแบบพีซีอาร์ (PCR) สำหรับนักท่องเที่ยวผู้ที่เดินทางมาเยือนทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านขั้นตอนระหว่างนักท่องเที่ยวจากต่างชาติและนักเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ แหล่งข่าวจากรัฐบาลระบุวันนี้ (27 ธ.ค.) ว่า รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการตรวจเชื้อสำหรับนักเดินทางขาเข้าทุกคน จะมีการประกาศในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขของฮ่องกงได้รับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นเพียงพอแล้ว โดยแหล่งข่าวกล่าวว่า “เรากำลังมองหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการลดการตรวจเชื้อแบบ PCR สำหรับผู้มาเยือนให้เหลือน้อยที่สุด และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีข้อมูลพร้อมแล้ว” ทั้งนี้ ภายใต้มาตรการปัจจุบัน ผู้ที่มิใช่ผู้พักอาศัยอยู่ถาวรที่ต้องการเดินทางมายังฮ่องกงจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนยับยั้งโควิด-19 จำนวน 2 เข็ม และต้องผ่านการตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็ว (RAT) ภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง นอกจากนี้ เหล่านักเดินทางยังต้องผ่านการตรวจเชื้อแบบ PCR เมื่อมาถึงสนามบิน และตรวจซ้ำอีกครั้งในวันที่ 3 ของการอยู่ในฮ่องกง รวมถึงต้องตรวจเชื้อแบบ RAT เป็นเวลา 5 วัน ในขณะเดียวกัน ผู้เดินทางจากแผ่นดินใหญ่และมาเก๊าจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับวัคซีนหรือการตรวจคัดกรองก่อนออกเดินทาง แต่ต้องผ่านการทดสอบ PCR ในวันที่ 3 ของการมาฮ่องกง ทั้งนี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) […]
อ่านเพิ่มเติม »