ทอง ปิดพุ่ง $13.20 ดอลล์อ่อน-บอนด์ยีลด์ร่วงหนุนแรงซื้อ COMEX ราคาทอง ราคาทองคำ อินโฟเควสท์
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปีในวันพฤหัสบดี เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนตลาดทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ในวันนี้ โดยตัวเลขดังกล่าวจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 13.20 ดอลลาร์ หรือ 0.67% ปิดที่ 1,997.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. 2565สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 19.50 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 996.90 ดอลลาร์/ออนซ์สัญญาทองคำดีดตัวขึ้น โดยได้แรงหนุนจากดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.48% แตะที่ 102.1516 และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีลดลงสู่ระดับ 3.
ทั้งนี้ การอ่อนค่าของดอลลาร์ทำให้สัญญาทองคำซึ่งกำหนดราคาเป็นดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่น ๆ ส่วนการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐจะช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย นักลงทุนจับตาสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ประจำเดือนก.พ.ในวันนี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เพราะสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ทองปิดพุ่ง $19.70 อานิสงส์ดอลล์อ่อน-แรงช้อนซื้อ : อินโฟเควสท์สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทะลุระดับ 1,970 ดอลลาร์ในวันอังคาร (28 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และจากการที่นักลงทุนช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากสัญญาทองคำร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการก่อนหน้านี้ สัญญาทองคำได้รับปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.41% แตะที่ระดับ 102.4281 เมื่อคืนนี้ ทั้งนี้ การอ่อนค่าของดอลลาร์ทำให้สัญญาทองคำซึ่งกำหนดราคาเป็นดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ นักลงทุนจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันศุกร์ ซึ่งจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ โดยสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
หุ้นไทยแนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งไซด์เวย์ ขาดปัจจัยใหม่ รอลุ้นผลกนง. : อินโฟเควสท์นักวิเคราะห์ฯ คาดตลาดหุ้นไทยแกว่งไซด์เวย์ ไร้ปัจจัยหนุนใหม่ พร้อมลุ้นผลกนง.วันนี้จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาดหรือไม่ และจะปรับคาดการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างไร ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเปิดมาเช้านี้ส่วนใหญทปรับขึ้น พร้อมให้แนวต้าน 1,610-1,620 จุด แนวรับ 1,590-1,580 จุด นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดว่าแกว่งตัวไซด์เวย์ โดยตอนนี้ยังไร้ปัจจัยหนุนใหม่เข้ามา แต่ภาพของดัชนีถือว่าสามารถรีบาวด์กลับมายืนที่ระดับ 1,600 จุดได้ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา จะมีวอลลุ่มการซื้อขายไม่มาก ส่วนตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่เปิดมาเช้านี้ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่วันนี้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ตามที่ตลาดคาดหรือไม่ และจะมีการปรับคาดการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างไร พร้อมกับรอติดตามว่า กนง.จะส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยออกไปหรือไม่ โดยให้แนวต้าน 1,610-1,620 จุด แนวรับ 1,590-1,580 จุด โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวก อานิสงส์หุ้นอาลีบาบาพุ่งขึ้น 15% : อินโฟเควสท์ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวกในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากการที่หุ้นอาลีบาบาที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงพุ่งขึ้น 15% หลังอาลีบาบาประกาศแตกธุรกิจออกเป็น 6 กลุ่ม ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิเปิดภาคเช้าที่ระดับ 27,549.37 จุด เพิ่มขึ้น 31.12 จุด หรือ +0.11% ดัชนีฮั่งเส็งเปิดภาคเช้าที่ระดับ 20,348.64 จุด เพิ่มขึ้น 563.99 จุด หรือ +2.85% และ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดภาคเช้าที่ระดับ 3,253.62 จุด เพิ่มขึ้น 8.24 จุด หรือ +0.25% ออสเตรเลียเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อชะลอตัวมากกว่าคาดการณ์แตะ 6.8% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่เดือนม.ค.อยู่ที่ 7.4% ส่วนนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าอาจจะอยู่ที่ 7.1% ส่วนดัชนีสำคัญทั้ง 3 ตัวของตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลงในวันอังคาร (28 มี.ค.) โดยดัชนี Nasdaq Composite ลดลง 0.45%, ดัชนี S&P500 ปรับตัวลง 0.16% และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง […]
อ่านเพิ่มเติม »
พาณิชย์เผยส่งออกก.พ. หดตัว 4.7% คาดครึ่งปีแรกยังติดลบต่อเนื่อง : อินโฟเควสท์กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนก.พ.66 พบว่า มูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 22,376 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.7% ส่วนมูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 23,489 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.1% ส่งผลให้ในเดือนก.พ. ไทยขาดดุลการค้า 1,113 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.66) มูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 42,625 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.6% มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 48,388 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3.3% ส่งผลให้ช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ไทยขาดดุลการค้า 5,763 ล้านดอลลาร์ กระทรวงพาณิชย์ ยังประเมินด้วยว่า การส่งออกของไทยในไตรมาสแรกปีนี้ จะหดตัวราว 8% ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้หารือร่วมกับภาคเอกชนผู้ส่งออกสินค้า เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ายังมีสต็อกสินค้าอยู่ในปริมาณสูง จึงทำให้ชะลอการนำเข้าสินค้าจากไทย ประกอบกับเมื่อเทียบกับฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไตรมาส 1 ปี 65) ที่มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นถึง 14.7% […]
อ่านเพิ่มเติม »
เจ้าของยูนิโคล่-มูจิ-มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ ตบเท้ายุติผลิตสินค้าในเมียนมา : อินโฟเควสท์กลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้าระดับโลก เช่น ฟาสต์ รีเทลลิ่ง เจ้าของแบรนด์ยูนิโคล่ จากญี่ปุ่น และมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์จากอังกฤษตัดสินใจยุติจ้างผลิตสินค้าในเมียนมา เนื่องจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและความวิตกกังวลเรื่องแรงงาน รวมถึงความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ การก่อรัฐประหารของกองทัพเมียนมาในเดือนก.พ. 2564 ส่งผลให้บริษัทต่างชาติแห่ถอนธุรกิจออกจากเมียนมา โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติที่ร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา ขณะเดียวกันก็จุดชนวนเหตุประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ และกองทัพเมียนมาก็ถูกกล่าวหาเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบเป็นวงกว้าง ฟาสต์ รีเทลลิ่งเป็นบริษัทล่าสุดที่ตัดสินใจถอนธุรกิจออกจากเมียนมา โดยถอดรายชื่อกลุ่มพันธมิตรในเมียนมาออกจากรายชื่อโรงงานผลิตเสื้อผ้า โดยฟาสต์ รีเทลลิ่งจ้างผลิตเสื้อแจ็กเก็ตและเสื้อเชิ้ตสำหรับแบรนด์ GU แต่จะยุติการผลิตสินค้าสำหรับฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวปี 2566 สำนักข่าวนิกเกอิ เอเชียรายงานว่า การถอนธุรกิจออกจากเมียนมาครั้งนี้แทบจะไม่มีผลกระทบต่อฟาสต์ รีเทลลิ่ง เนื่องจากบริษัทมีพันธมิตรด้านการผลิตกว่า 430 แห่งทั่วโลก เช่นในจีนและเวียดนาม ขณะเดียวกันบริษัทเรียวฮิน เคคะคุ เจ้าของแบรนด์มูจิจากญี่ปุ่นก็มีแผนที่จะยุติการจ้างผลิตเสื้อแจ็กเก็ตและสินค้าชนิดอื่น ๆ จากเมียนมาภายในเดือนส.ค. ด้านมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ประกาศเมื่อปีที่ผ่านมาว่าจะถอนธุรกิจออกจากเมียนมาในเดือนมี.ค. โดยระบุว่า บริษัทจะไม่อดทนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
ออสเตรเลียผ่านกม.ปิดช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ หวังพัฒนาชีวิตทำงานสตรี : อินโฟเควสท์ออสเตรเลียผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ (30 มี.ค.) กำหนดให้บริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 100 คนขึ้นไป ต้องเผยแพร่ข้อมูลความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างเพศตั้งแต่ต้นปีหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลที่จะปรับปรุงสภาพการทำงานของสตรี โดยข้อมูลอย่างเป็นทางการบ่งชี้ว่า ในปี 2566 ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างเพศในระดับชาติของออสเตรเลียอยู่ที่ 13.3% “จากการคาดการณ์ในปัจจุบัน จะต้องใช้เวลานานถึง 26 ปีในการปิดช่องว่างของรายได้ที่แตกต่างเพราะเพศสภาพ” นางเคที กัลลาเกอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสตรีของออสเตรเลียระบุในแถลงการณ์ “ผู้หญิงต้องทนรอมานานมากพอแล้วสำหรับการปิดช่องว่างของรายได้ที่แตกต่าง ซึ่งรัฐบาลชุดนี้จะไม่ปล่อยให้พวกเธอต้องรอต่อไปอีก 26 ปี” สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในปี 2560 อังกฤษออกคำสั่งให้ทุกบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 250 ต้องรายงานข้อมูลความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างเพศของพนักงานชายและหญิง ขณะที่สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายที่คล้ายคลึงกันในปี 2564 ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือนมี.ค. รัฐบาลออสเตรเลียผ่านร่างกฎหมายเพิ่มจำนวนวันลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับค่าจ้างเป็น 26 สัปดาห์ ซึ่งสามารถแบ่งกันได้ระหว่างพ่อและแม่ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »