ประเด็นชั่วโมงการทำงานหนักหนาสาหัสของบุคลากรทางการแพทย์ของไทย เป็นปัญหาที่มีการพูดคุยกันมาอย่างยาวนานแต่ยังไร้ทางออกที่ชัดเจน
แพทย์ที่ทำงานกับรัฐจำนวนมากมีชั่วโมงทำงานสัปดาห์ทำงานกว่า 120 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 17 ชั่วโมง และยังพบว่ามีแพทย์ลาออกระหว่างเรียน 8% ทำงานหลังจากจบ 66.5% และลาออกจากระบบปีละ 3.2% โดยเฉพาะแพทย์อินเทิร์นลาออกมากที่สุด ส่วนพยาบาลทำงานเฉลี่ย 71 - 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นับเป็นชั่วโมงทำงานที่สูงเกินกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดเป็นเท่าตัว
ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤต รวมถึงส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของแพทย์โดยตรง หลายคนลาออกเนื่องจากไม่สามารถฝืนทำงานภายใต้แรงกดดันด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแรงได้ ถึงแม้จะมีค่าตอบแทนเป็นค่าเวร แต่แพทย์ส่วนมากไม่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่เวรหรือไม่ เนื่องจากหลายโรงพยาบาลมีตำแหน่งแพทย์ไม่เพียงพอ
เทียบสัดส่วนแพทย์กับประชากรปี 2563 แบ่งออกเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่ที่ แพทย์ 1 คนต่อสัดส่วนประชากร 1,794 คนส่วนสัดส่วนของประชากรต่อแพทย์ 1 คนในหน่วยงานภาครัฐ 2,358 คน และสัดส่วนของประชากรต่อแพทย์ 1 คนในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอยู่ที่ 3,377 คน ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหาภาระงานโหลดของแพทย์ คือ ต้องกระจายแพทย์ให้เหมาะสมด้วยการเพิ่มเข้ามาในระบบ มีแรงจูงใจให้เหมาะสม ไม่เน้นการผลิตแพทย์อย่างเดียวสืบเนื่องจากปัจจุบันบุคลากรทางแพทย์ที่ทำงานกับรัฐบาล มีจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่สูงมากทั้งในเวลาและเวรนอกเวลาราชการ เมื่อรวมแล้วมีจำนวนชั่วโมงสูงกว่ามาตรฐานในกฎหมายแรงงานทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อเรียกร้องต่อกระทรวงสาธารณสุขผลักดันกฎหมายคุมชั่วโมงทำงานแพทย์
สมาพันธ์แพทย์ฯ จึงพยายามขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องให้การกำหนดเวลาชั่วโมงการทำงานของแพทย์ ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้จริง ซึ่งทางด้าน อาจารย์ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และหนึ่งในผู้แทนสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ระบุว่าการกำหนดเวลาการทำงานแพทย์ ต้องออกเป็นกฎหมาย คล้ายๆ ชั่วโมงการบิน ถ้าไม่มีกฎหมายก็ใช้ไม่ได้ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยหลังการหารือประเด็นแก้ปัญหาชั่วโมงการทำงานของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ โดยมี นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน...
ส่วนระยะกลาง และระยะยาว ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 จะมีการเก็บข้อมูลกำลังคน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ เพื่อเสนอนโยบายในการแก้ปัญหาอัตรากำลัง ภาระงาน ทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'แพทยสภา' สั่งสอบแพทย์หญิง ด่าคนไข้ 'โง่' พบทำพฤติกรรมแบบนี้หลายครั้ง'แพทยสภา' สั่งสอบแพทย์หญิง ด่าคนไข้ 'โง่' ส่งคณะกรรมการพิจารณาโทษ ชี้ หมอ-พยาบาล ทำงานในห้องฉุกเฉิน มีภาวะเครียดสะสม ขอผู้มารับการรักษาโปรดเห็นใจบุคลากรทางการแพทย์
อ่านเพิ่มเติม »
จ่อฟันโทษแล้ว แพทยสภา ตั้งกรรมการสอบ 'หมอ' ด่ากราดคนไข้แพทยสภา สอบกรณี 'หมอ' หญิงที่มีพฤติกรรม ไม่สุภาพ กับคนไข้เและญาติ ที่รพ.เชียงแสนที่เผยแพร่ ในโซเชียลมีเดีย จนดังสนั่น
อ่านเพิ่มเติม »
ไอติมของโปรดเด็ก “หมอ”ห่วงกัญชาผสมในอาหาร ยกข้อมูลเด็กต้องเข้า รพ.จากพิษกัญชาไอติมของโปรดเด็ก “หมอมานพ” ห่วงกัญชาผสมในอาหารโดยปราศจากการควบคุม ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด เปิดข้อมูลเตือน 'แคนาดา' ผู้ป่วยเด็กต้องเข้า รพ.จากพิษของกัญชา ยลตามช่องไทยอาจเดินตาม ท่ามกลางความเห็นต่างกัญชา…
อ่านเพิ่มเติม »
ปะทะเดือด ญาติ-คนไข้-หมอ หลุดคำหยาบ ด่าทอวิวาทะเดือดกลาง โรงพยาบาล ญาติ คนไข้ มีปากเสียงกับ หมอ ใช้คำหยาบคาย ด่าทอ ลั่น 'ไม่เต็มใจมาทำงาน แต่ต้องกินต้องใช้' งานนี้รถทัวร์จอดเพียบ! ข่าวช่อง8 ข่าวออนไลน์ช่อง8 คนไข้ โรงพยาบาล หมอ
อ่านเพิ่มเติม »
แชร์ว่อน! หมอ รพ.ในเชียงราย ด่าคนไข้ 'โง่' วิวาทถึงขั้นขึ้นมึงขึ้นกูวันที่ 4 พ.ย.65 ได้ปรากฏคลิปวีดิโอไปตามสื่อโซเชียลต่างๆ โดยเป็นภาพภายในห้องทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งตั้งอยู่พื้นที่ จ.เชียงราย ภายในเป็นโต๊ะทำงานและพลาสติกป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 และพบหญิง 1 คน ซึ่งผู้ที่ถ่ายคลิปและบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้กันต่างระบุว่าเป็นแพทย์หญิงคนหนึ่ง โดยเธอกำลังนั่งบนเก้าอี้โดยที่ใช้และจ้องอยู่ที่โทรศัพท์มือถืออยู่เกือบตลอดเวลา ขณะที่ผู้ที่ถ่ายคลิปและคนอื่นๆ พยายามที่จะสอบถามว่า เป็นแพทย์ทำไมพูดคุยกับผู้ป่วยเช่นนั้น ส่วนแพทย์หญิงคนดังกล่าวได้บอกให้ผู้ที่ถ่ายคลิปออกจากห้องไปแต่ไม่เป็นผล จากนั้นก็เกิดการโต้เถียงกันขึ้นโดยชาวบ้านที่เข้าไปพยายามสอบถามว่าเหตุใดไม่
อ่านเพิ่มเติม »
'แพทยสภา' สั่งสอบแพทย์หญิง ด่าคนไข้ 'โง่' พบทำพฤติกรรมแบบนี้หลายครั้ง'แพทยสภา' สั่งสอบแพทย์หญิง ด่าคนไข้ 'โง่' ส่งคณะกรรมการพิจารณาโทษ ชี้ หมอ-พยาบาล ทำงานในห้องฉุกเฉิน มีภาวะเครียดสะสม ขอผู้มารับการรักษาโปรดเห็นใจบุคลากรทางการแพทย์
อ่านเพิ่มเติม »