ตลาดหุ้นเอเชียปิดเช้าบวก ขานรับ PMI ภาคบริการจีนแข็งแกร่ง ตลาดหุ้น ตลาดหุ้นเอเชีย อินโฟเควสท์
ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าบวกในวันนี้ โดยเคลื่อนไหวตามการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเมื่อวันพฤหัสบดี หลังนายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ สาขาแอตแลนตา สนับสนุนให้เฟดชะลอความแรงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ไฉซิน/เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมภาคบริการของจีนพุ่งทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่งดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าที่ 20,575.16 จุด เพิ่มขึ้น 145.70 จุด หรือ +0.71% และนายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ สาขาแอตแลนตากล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันพฤหัสบดี ว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดนั้น อาจจะเริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีนี้ ซึ่งทำให้เขามองว่า เฟดควรจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.
การแสดงความเห็นดังกล่าวของนายบอสติกช่วยให้ตลาดการเงินผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่รายอื่น ๆ ของเฟดซึ่งรวมถึงนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนมี.ค. ไฉซิน/เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยผลสำรวจในวันนี้ ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคบริการเดือนก.พ.ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากการยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ผู้บริโภค และการจ้างงานที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.พ.ของจีนพุ่งขึ้นแตะระดับ 55.0 จากระดับ 52.9 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 2 หลังจากรัฐบาลจีนประกาศยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
หุ้นไทยปิดเช้าบวก 2.17 จุดตามภูมิภาค PMI จีนสูงกว่าคาด แรงซื้อพลังงาน-CRC-DELTA หนุน : อินโฟเควสท์SET ปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,624.52 จุด เพิ่มขึ้น 2.17 จุด (+0.13%) มูลค่าซื้อขายราว 30,386 ล้านบาท นักวิเคราะห์ฯ เผยตลาดหุ้นไทยเช้านี้ฟื้นตัวขึ้นมาเล็กน้อยตามตลาดหุ้นภูมิภาคหลัง PMI จีนดีกว่าคาด โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานหลังราคาน้ำมันสูงขึ้น และหุ้น CRC งบสวยกว่าคาด รวมถึง DELTA หนุน แนวโน้มช่วงบ่ายแกว่งไซด์เวย์ยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดรอ PMI ยุโรปและสหรัฐ พรุ่งนี้มีเงินเฟ้อยุโรป ให้แนวต้าน 1,630, 1,636 จุด แนวรับ 1,620 จุด ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดช่วงเช้าวันนี้ 1,624.52 จุด เพิ่มขึ้น 2.17 จุด (+0.13%) มูลค่าซื้อขายราว 30,386 ล้านบาท การซื้อขายในช่วงเช้านี้ ดัชนีแกว่งตัวขึ้นตามภูมิภาค ทำระดับสูงสุดที่ 1,628.92 จุด และต่ำสุด 1,620.56 จุด นายณัฐพล คำถาเครือ […]
อ่านเพิ่มเติม »
กรุงไทยเผยเงินบาท เปิดเช้านี้ “แข็งค่าขึ้น” ที่ระดับ 34.69 บาทต่อดอลลาร์แม้ว่ารายงานดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ จะปรับตัวขึ้นน้อยกว่าคาด สู่ระดับ 47.7 จุด และยังคงสะท้อนภาวะหดตัวต่อเนื่องของภาคการผลิต (ดัชนี ต่ำกว่าระดับ 50 จุด) ทว่าหากพิจารณาในรายละเอียดจะเห็นได้ว่า ดัชนีด้านราคา (Price Index) กลับเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 51.3 จุด
อ่านเพิ่มเติม »
เงินบาทเปิด 34.69 แข็งค่าตามค่าเงินหยวน หลังตัวเลขศก.จีนออกมาดี จับตาทิศทาง Flow : อินโฟเควสท์นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.69 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่องจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.82 บาท/ดอลลาร์ หลังตัวเลขเศรษฐกิจของจีนออกมาดีเกินคาด ทำให้มีแรงเทขายดอลลาร์ออกมาเพื่อทำกำไร เนื่องจากก่อนหน้านี้ดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าไปมาก “บาทกลับมาแข็งค่าเร็วมากตามทิศทางค่าเงินหยวน หลังตัวเลขเศรษฐกิจจีนออกมาดี ทำให้มีแรงขายดอลลาร์ทำกำไร” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.60 – 34.85 บาท/ดอลลาร์ ช่วงนี้ต้องจับตาดูทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) ในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร THAI BAHT FIX 3M (1 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.37457% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.62055% *ปัจจัยสำคัญ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
หุ้นไทยแนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งไซด์เวย์ บาทกลับมาแข็งค่า-Bond Yield พุ่งกดดัน : อินโฟเควสท์นักวิเคราะหฯคาดตลาดหุ้นไทยวันนี้แกว่งไซด์เวย์ หลังเริ่มเห็นสัญญาณค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่า ชะลอ Fund Flow ไหลออก แต่ยังไร้ปัจจัยหนุนใหม่ อีกทั้ง Bond Yield สหรัฐ 10 ปี ยังพุ่งขึ้นกลับไปที่ 4% อีกครั้ง กดดันตลาดหุ้น ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดมาเคลื่อนไหวบวกและลบสลับกัน พร้อมให้แนวรับที่ 1,610 จุด แนวต้าน 1,630 จุด นายชาญชัย พันทาธนากิจ รองผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าดัชนีแกว่งตัวไซด์เวย์ หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่าขึ้น ช่วยชะลอการไหลออกของ Fund flow ต่างชาติได้ แต่ยังคงไร้ปัจจัยใหม่ที่จะเข้าช่วยหนุนการฟื้นตัวของดัชนีได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันยังคงมีปัจจัยกดดันจากผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (Bond Yield) 10 ปี พุ่งขึ้นไปที่ระดับ 4% อีกครั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้น ส่วนตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้าวันนี้เปิดมาเคลื่อนไหวบวกและลบสลับกัน โดยให้แนวรับที่ 1,610 จุด แนวต้าน 1,630 จุด […]
อ่านเพิ่มเติม »
ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบเป็นส่วนใหญ่ ตามตลาดวอลล์สตรีทหลังบอนด์ยีลด์สหรัฐทะลุ 4% : อินโฟเควสท์ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบเป็นส่วนใหญ่ในวันนี้ โดยเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเมื่อวันพุธ (1 มี.ค.) หลังผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทะลุ 4% ในช่วงสั้น ๆ ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิเปิดภาคเช้าที่ระดับ 27,564.82 จุด เพิ่มขึ้น 48.29 จุด หรือ +0.18% ดัชนีฮั่งเส็งเปิดภาคเช้าที่ระดับ 20,390.02 จุด ลดลง 229.69 จุด หรือ -1.11% และ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดภาคเช้าที่ระดับ 3,308.01 จุด ลดลง 4.34 จุด หรือ -0.13% เกาหลีใต้รายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.ลดลง 12.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่การลดลง 8.9% ขณะเดียวกันนักลงทุนรอคอยข้อมูลกิจกรรมภาคการผลิตเกาหลีใต้สำหรับเดือนก.พ.จากเอสแอนด์พี โกลบอลในวันนี้ (2 มี.ค.) สิงคโปร์มีกำหนดเปิดเผยตัวเลขกิจกรรมภาคการผลิตสำหรับเดือนก.พ.ในวันนี้เช่นเดียวกัน ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ในวันพุธที่ผ่านมา โดยทั้งดัชนี S&P500 และ Nasdaq ต่างก็ปิดลบ ขณะที่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดทรงตัว หุ้นสหรัฐทรุดตัวลง หลังผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก.พ. โดยผลตอบแทนพันธบัตรอายุ […]
อ่านเพิ่มเติม »
บริษัทญี่ปุ่นเพิ่มการลงทุนติดต่อกัน 7 ไตรมาส แม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว : อินโฟเควสท์กระทรวงการคลังญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ (2 มี.ค.) ว่า บริษัทญี่ปุ่นยังคงเพิ่มการใช้จ่าย แม้เผชิญกับอุปสรรคหลายด้าน ซึ่งรวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2565 ทั้งนี้ การใช้จ่ายด้านทุนของบริษัทญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 7.7% ในไตรมาส 4/2565 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 12.44 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 7 ไตรมาส เมื่อแบ่งเป็นภาคส่วนพบว่า บริษัทในภาคการผลิตมีการใช้จ่ายด้านทุนเพิ่มขึ้น 1.1% ขณะที่บริษัทในภาคบริการปรับลดการใช้จ่ายลงเล็กน้อย โยชิมาสะ มารูยามะ นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทเอสเอ็มบีซี นิคโค ซิเคียวริตีส์กล่าวว่า “การใช้จ่ายด้านทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่มากนัก โดยการลงทุนในภาคบริการปรับตัวลง อย่างไรก็ดี คาดว่าแนวโน้มการลงทุนในภาคส่วนนี้อาจจะดีขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคกำลังปรับตัวในการอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19” ข้อมูลดังกล่าวจะใช้ในการคำนวณตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 4/2565 โดยสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นมีกำหนดเปิดเผยตัวเลข GDP ในวันที่ 9 มี.ค. โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter […]
อ่านเพิ่มเติม »