ตลาดดอกไม้-ผู้ค้า-แรงงาน ฟื้นตัวรับวาเลนไทน์ ThaiPBSnews วันวาเลนไทน์
ตลาดดอกไม้ปากคลองตลาด กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 คลี่คลายลง มีพ่อค้าแม่ค้า และประชาชนทั่วไปมาหาซื้อดอกไม้อย่างคึกคัก
นอกจากนี้ ยังมีการจัดเทศกาลต่างๆ ทำให้บรรยากาศคึกคักขึ้นผู้ค้าดอกไม้ประมาณ 800 ราย กลับมาขายใกล้เคียงปกติ และเชื่อว่าภายในปีนี้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติตามเศรษฐกิจ การฟื้นตัวของปากคลองตลาด ทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นแรงงานร้อยมาลัย แรงงานเข็นดอกไม้ มีรายได้ดีขึ้น แรงงานเข็นดอกไม้ ตลาดยอดพิมาน บอกว่า รายได้จากการเข็นรอบละ 20-40 บาททำให้มีรายได้ต่อวันประมาณ 500-600 เจ้าของร้านดอกไม้ ร้านนี้ บอกว่า ธุรกิจดอกไม้ปีนี้คึกคักกว่าปีที่ผ่านมา เพราะสามารถจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ ทั้งงานอีเวนต์ งานแต่งงาน ต่างๆ ได้ตามปกติ และยังมีเทศกาลต่างๆ...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ตลาดดอกไม้ โคราช ทยอยปรับ ขึ้นราคา ดอกกุหลาบ รับ วาเลนไทน์วันนี้ (13 กุมภาพันธ์ 2566) ทีมข่าวอีจันลงพื้นที่ ตลาดสดแม่กิมเฮง เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งพ่อค้าแม่ค้า ได้จัดเตรียมดอกไม้หลากหลายชนิดเพื่อนำมาจำหน่ายในช่วงเท
อ่านเพิ่มเติม »
'บิ๊กตู่' ลงพื้นที่สุราษฎร์ฯ นักการเมืองท้องถิ่น ว่าที่ผู้สมัครฯรทสช. ต้อนรับคึกคักพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นายธนกร วังบุญคงชนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐนตรี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
อ่านเพิ่มเติม »
'ก.แรงงาน' เตือนคนไทย สนใจไปทำงานตปท. ระวังนายหน้าเถื่อน หลอกลวงกระทรวงแรงงาน เตือน คนไทย สังเกตพฤติการณ์สาย-นายหน้า หากแนะนำให้ทำผิดกฎหมาย หลบเลี่ยงด่านตรวจคนหางาน ชวนลักลอบเข้าประเทศ ใช้วีซ่าท่องเที่ยวทำงาน ให้สันนิษฐานว่ากำลังถูกหลอกลวง
อ่านเพิ่มเติม »
อ.แหม่ม แนะแก้จนอย่าเหวี่ยงแห เจาะตรงกลุ่มเป้าหมาย-ใช้กองทุน : อินโฟเควสท์นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีต รมช.แรงงาน โพสต์ขอความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน โดยเริ่มต้นจากผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่คือ เกษตรกร ที่จำเป็นต้องแก้ไขและจัดการเรื่องที่ทำกิน พร้อมกับการพัฒนาสภาพที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร นอกจากเรื่องดินและน้ำแล้ว ปัจจัยพื้นฐานที่จะนำไปสู่การสร้างอาชีพและรายได้คือ การจัดสรรสวัสดิการแบบถูกฝาถูกตัว ยังเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการขจัดความยากจน สวัสดิการในการเข้าถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น การศึกษาและการฝึกอาชีพ หลักประกันทางสุขภาพ เป็นต้น “การเข้าถึงสวัสดิการเหล่านี้ไม่ควรจัดสรรแบบหว่านแห แต่ควรจัดเมนูเฉพาะที่ตรงกับสิ่งที่ผู้มีรายได้น้อยยังเข้าไม่ถึง และตรงกับพื้นฐานของผู้มีรายได้น้อยและความต้องการของตลาดแรงงาน” นางนฤมล ระบุ ส่วนคนจนในเมืองที่มีรายได้เกิน 1 แสนบาทต่อปี ไม่เข้าข่ายผู้ที่มีสิทธิได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแต่ต้องแบกค่าครองชีพ ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าเดินทาง ค่าเช่าที่พัก จนรายได้ที่เหลือไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างมีคุณภาพ รัฐบาลจึงควรจัดสรรสวัสดิการให้กับกลุ่มคนจนในเมือง เช่น สวัสดิการค่าเดินทาง เพื่อป้องกันปัญหาการขยายตัวของกลุ่มคนจนในเมือง “เราต้องเลิกแนวคิดแก้จนแบบบนลงล่าง การนั่งดูข้อมูลภาพรวมทั้งประเทศแล้วตัดสินใจออกแบบนโยบายแก้จนกันในห้องแอร์แบบหว่านแหจะไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน” นางนฤมล ระบุ การแก้ความยากจนไม่ใช่แค่เรื่องการจัดสรรสวัสดิการเท่านั้น แต่ต้องแก้กันด้วยเมนูแก้จนที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแยกรายกลุ่ม เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแรงงานในระบบ กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้พิการ เป็นต้น แยกรายพื้นที่ แยกรายภาค และแยกย่อยลงหัวเมือง ชนบท แหล่งอุตสาหกรรม แหล่งทำการเกษตร จนถึงระดับแยกชุมชน […]
อ่านเพิ่มเติม »