ตลท.ปรับเกณฑ์รับหุ้นเพิ่มทุนจากการเสนอขายหุ้น PP ให้สอดคล้องกับ ก.ล.ต. มีผล 1 ก.ค. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นPP หุ้นเพิ่มทุน อินโฟเควสท์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เดินหน้าทำตลาดทุนให้เป็นเรื่องง่าย ปรับปรุงนิยาม “ราคาตลาด” พร้อมยกเว้น Silent Period ในหลักเกณฑ์การรับหุ้นเพิ่มทุนจากการเสนอขายหุ้นแบบ PP เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ก.ล.ต. ที่ปรับปรุงใหม่ ตลอดจนเพื่อลดภาระของบริษัทจดทะเบียน โดยจะมีผลใช้บังคับ 1 ก.ค. 66 นี้ เป็นต้นไป
ตลท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับหุ้นเพิ่มทุนจากการเสนอขายหุ้นต่อบุคคลในวงจำกัด ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ก.ล.ต. พร้อมลดภาระให้บริษัทจดทะเบียน ตามแผนกลยุทธ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการทำตลาดทุนให้เป็นเรื่องง่าย โดยสามารถสรุปหลักเกณฑ์ที่มีการปรับปรุงดังนี้2) ยกเว้นหรือผ่อนผัน Silent Period ในกรณีการเสนอขายหุ้นแบบ PP ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ดังนี้
ยกเว้น Silent Period สำหรับหุ้นที่เหลือจากการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น หรือ มาเสนอขายแบบ PP ในราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาที่เสนอขาย RO หรือ PPO ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ก.ล.ต. ผ่อนผัน Silent Period ให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นหรือหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูกิจการ
ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดของหลักเกณฑ์ได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯโดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์รองรับการเปิดเผยข้อมูลกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานอาเซียน : อินโฟเควสท์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund) หรือ “SRI Fund” ตามมาตรฐานกลางของอาเซียนด้านการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืน ก.ล.ต. ให้ความสำคัญเรื่องการยกระดับระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุนยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ออกแนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลของ SRI Fund เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 เพื่อสนับสนุนให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG) ในการบริหารจัดการกองทุนรวม รวมทั้งเป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้ออกหลักทรัพย์ (issuer) คำนึงถึงประเด็นด้าน ESG เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนความยั่งยืนสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังมีพันธกิจที่สำคัญ โดยร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum: ACMF) ออกมาตรฐานกลางของอาเซียนด้านการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืน (ASEAN Sustainable and Responsible Fund Standards) […]
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต. ไฟเขียวขาย Digital Bond 4 รายรวม 6,700 ล้านบาทก.ล.ต. อนุมัติขาย Digital Bond แก่ผู้ออกหลักทรัพย์ 4 รายแรก มูลค่าไม่เกิน 6,700 ล้านบาท เสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผ่านระบบ DIF : Web Portal ภายใต้โครงการ Sandbox การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
ธ.ไทยเครดิต ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้น IPO ในรอบ 10 ปี จำนวน 347 ล้านหุ้นธนาคารไทยเครดิต ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้น IPO ในรอบ 10 ปี กับ ก.ล.ต. คาดไม่เกิน 347 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 28.2% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียน
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต.ออกเกณฑ์รองรับการเปิดเผยข้อมูล `กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน` ตามมาตรฐานกลางอาเซียนสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -3 พ.ค. 66 10:35 น. ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์รองรับการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานกลางของอาเซียน ตามมาตรฐานกลางอาเซ...
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต.เตรียมปรับเกณฑ์การเสนอขายไอพีโอ ต้องไม่ดำเนินธุรกิจลักษณะ investment companyสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -2 พ.ค. 66 12:35 น. ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์...
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต. เปิดเฮียริ่งเกณฑ์ห้าม investment company เป็น บจ.-ขาย IPO : อินโฟเควสท์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai ต้องไม่ประกอบธุรกิจในลักษณะการบริหารจัดการเงินลงทุน (investment company) เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน ตามที่ ก.ล.ต. ได้เสนอปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจที่อาจเข้าข่ายเป็น investment company และเพื่อป้องกันการใช้ช่องทางการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ ว่าด้วยการประกอบธุรกิจการจัดการเงินลงทุน (regulatory arbitrage) ซึ่งเป็นแนวทางในการกำกับดูแลที่มีความเข้มงวดมากกว่า เช่น ต้องได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจการจัดการเงินลงทุน ต้องมีความพร้อมของระบบงานและบุคลากรและต้องลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่เปิดเผยในโครงการจัดการกองทุนรวมและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ก.ล.ต. จึงจัดทำร่างประกาศตามหลักการที่ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) บริษัทที่มีลักษณะเป็น investment company หมายถึง บริษัทที่มีการลงทุนในลักษณะที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัล รวมกันเกินกว่าร้อยละ 40 ของสินทรัพย์รวม ทั้งนี้ ไม่นับการลงทุนเพื่อบริหารสภาพคล่องในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ บริษัทร่วมที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจเป็น investment company เงินลงทุนที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนธุรกิจของบริษัท หรือการลงทุนในบริษัทในเครือที่อยู่ภายใต้บริษัทใหญ่เดียวกัน หรือการลงทุนในบริษัทเครือข่ายที่แสดงได้ว่ามีนโยบายหรือทิศทางในการร่วมมือหรือสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างกัน (2) บริษัทจดทะเบียนต้องไม่มีลักษณะเป็น investment company ยกเว้นเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน หากบริษัทจดทะเบียนมีลักษณะดังกล่าว บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน (3) […]
อ่านเพิ่มเติม »