ดีอีเอสเตือนแม่ค้าออนไลน์ระวังสลิปปลอม แนะเช็คยอดโอนก่อนส่งสินค้า : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

ดีอีเอสเตือนแม่ค้าออนไลน์ระวังสลิปปลอม แนะเช็คยอดโอนก่อนส่งสินค้า : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 1 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 4%
  • Publisher: 68%

ดีอีเอส เตือนแม่ค้าออนไลน์ระวัง สลิปปลอม แนะเช็คยอดโอนก่อนส่งสินค้า ขายของออนไลน์ อินโฟเควสท์

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวการแจ้งเตือนพ่อค้าแม่ค้าระวังภัยออนไลน์จากลูกค้าใช้สลิปบัญชีธนาคารปลอมแจ้งว่าชำระเงินแล้ว หลอกให้ส่งของโดยไม่ได้โอนเงินจริง และพบมีคนทำโปรแกรมสร้างสลิปปลอมมาขาย โดยสามารถกรอกชื่อผู้รับ ผู้โอนเป็นใครก็ได้ ตัวเลขเท่าใด โอนวันไหน เวลาไหน แล้ว สร้างภาพสลิปออกมา จึงขอแจ้งเตือนให้พ่อค้า แม่ค้า ระมัดระวัง ควรสังเกตสลิปก่อนที่จะส่งของให้ลูกค้า ตรวจสอบยอดเงินโอนในมือถือก่อนว่ามียอดเงินเข้ามาแล้วจริงๆ...

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวการแจ้งเตือนพ่อค้าแม่ค้าระวังภัยออนไลน์จากลูกค้าใช้สลิปบัญชีธนาคารปลอมแจ้งว่าชำระเงินแล้ว หลอกให้ส่งของโดยไม่ได้โอนเงินจริง และพบมีคนทำโปรแกรมสร้างสลิปปลอมมาขาย โดยสามารถกรอกชื่อผู้รับ ผู้โอนเป็นใครก็ได้ ตัวเลขเท่าใด โอนวันไหน เวลาไหน แล้ว สร้างภาพสลิปออกมา จึงขอแจ้งเตือนให้พ่อค้า แม่ค้า ระมัดระวัง ควรสังเกตสลิปก่อนที่จะส่งของให้ลูกค้า ตรวจสอบยอดเงินโอนในมือถือก่อนว่ามียอดเงินเข้ามาแล้วจริงๆ ก่อนส่งมอบสินค้า ทั้งนี้โดยทั่วไป การทำธุรกรรมโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร ในแต่ละครั้งธนาคารจะมีการบันทึกสลิปการทำธุรกรรมที่มีระบุรายละเอียดในการโอนเงิน คือ ชื่อผู้รับ/ผู้ส่ง ,วัน เดือน ปี เวลา ที่ทำรายการ ,จำนวนเงิน ,QR Code เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดหรือมีปัญหาในการทำธุรกรรม

“ในกรณีสลิปปลอมมิจฉาชีพอาจจะใช้ช่องโหว่ของภาพสลิปมาดัดแปลง ทำซ้ำ เพื่อให้พ่อค้า แม่ค้า ที่ไม่ได้ทันสังเกต เห็นภาพสลิปโอนเงินปลอม ที่มิจฉาชีพแสดงหรือส่งไลน์ไปเป็นหลักฐานให้กับร้านค้าต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมปลอมสลิป เพราะสามารถใช้แอป แต่งรูปภาพบนสมาร์ทโฟนทำได้เลย”1. สังเกตภาพของสลิปโอนเงินว่าตัวหนังสือ และตัวเลขต่างๆ มีความสม่ำเสมอ อักษรเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ สลิปปลอมส่วนใหญ่ ตัวหนังสือบนสลิป เช่น เวลา วันที่ จำนวนเงิน ชื่อบัญชีผู้รับโอน ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าตัวหนังสือบนสลิปจะมีความหนา-บางไม่เท่ากัน หรืออาจจะเป็นตัวหนังสือคนละประเภทกัน และตรวจสอบยอดเงิน ชื่อบัญชีของผู้รับโอนด้วย ว่าเป็นบัญชีของเราหรือไม่ ยอดเงินถูกต้องหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายลักษณะนี้ โอกาสเป็นสลิปปลอมสูงมาก

2. สแกน QR Code บนสลิปโอนเงินที่ต้องการตรวจสอบ ทั้งนี้สลิปโอนเงินจากแอปพลิเคชันของธนาคารต่าง ๆ จะมี QR Code ให้เราสามารถตรวจสอบสลิปปลอมได้ ทำได้โดยเข้าไปที่แอปของธนาคารที่เรารับโอน จากนั้นกด “สแกน QR Code” ใช้กล้องโทรศัพท์สแกน QR Code บนสลิปโอนเงินของลูกค้า หรือถ้ามีรูปสลิปโอนเงินอยู่ในโทรศัพท์อยู่แล้ว สามารถเลือกรูปสลิปที่อยู่ในอัลบั้มภาพที่เรา save มาตรวจสอบได้เลย ระบบก็จะตรวจสอบให้เราได้เห็นว่ายอดเงินที่โอนเข้ามาตรงกับสลิปหรือไม่ หากยอดเงินไม่ตรง หรือว่าไม่สามารถตรวจสอบได้ เป็นไปได้ว่าลูกค้าอาจส่งสลิปปลอมให้แทน

3. ใช้บริการแจ้งเตือนของธนาคาร ซึ่งวิธีนี้อาจไม่ใช่วิธีการตรวจสลิปปลอมได้โดยตรงก็ตาม แต่การใช้ประโยชน์จากบริการแจ้งเตือนของธนาคาร ทำให้เราสามารถ รับการแจ้งเตือน ยอดเงินเข้า – ออกจากบัญชีของธนาคาร เพื่อตรวจสอบยอดโอนของลูกค้าว่าโอนเงินเข้ามาจริงหรือเปล่า ตรงตามยอดที่ตกลงกันไว้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับสลิปโอนเงินที่ลูกค้าส่งมา

4. ใช้ระบบจัดการร้านค้าที่มีฟังก์ชันตรวจสอบสลิปการโอนเงินอัตโนมัติ กรณีที่ร้านค้าออนไลน์มียอดการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก และมีการโอนเงินเข้าหลายรายการ สามารถเลือกใช้ระบบจัดการร้านค้าที่มีระบบตรวจสอบสลิป และยอดเงินเข้าอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ร้านค้าประหยัดเวลา และลดขั้นตอนการตรวจสอบ สลิปปลอม

“หากส่งสินค้าไปแล้ว พบว่าเป็นสลิปปลอม หากเกิดเหตุแล้วให้รีบแจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทขนส่งต่างๆ เพื่ออายัดการส่งของให้เร็วที่สุดก่อนเพื่อบรรเทาความเสียหาย หากปล่อยเป็นระยะเวลานานจะทำให้ไม่สามารถติดตามเอาสินค้าคืนได้ สงสัยสอบถามข้อมูลและแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วนของกระทรวงดิจิทัลฯ 1212 , บช.สอท. โทร.1441 “

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

ระวังสลิปปลอม! เตือน'แม่ค้าออนไลน์'เช็คยอดโอนก่อนส่งสินค้าระวังสลิปปลอม! เตือน'แม่ค้าออนไลน์'เช็คยอดโอนก่อนส่งสินค้าคลิกอ่านข่าว : ระวังสลิปปลอม! เตือน'แม่ค้าออนไลน์'เช็คยอดโอนก่อนส่งสินค้า อาชญากรรม DES แม่ค้าออนไลน์ สลิปปลอม เช็คยอดโอน ดีอีเอส
อ่านเพิ่มเติม »

ทอ.แจงเหตุจำเป็นจัดหาบินรบ F-35 A ทดแทน 3 ฝูงบินที่ทยอยปลดประจำการ : อินโฟเควสท์ทอ.แจงเหตุจำเป็นจัดหาบินรบ F-35 A ทดแทน 3 ฝูงบินที่ทยอยปลดประจำการ : อินโฟเควสท์พลอากาศตรี.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ แจงถึงผลกระทบกรณีการเลื่อนโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน หลังจาก กมธ.แจงตัดงบประมาณจัดซื้อ “F-35 A” ว่า ในปัจจุบันกองทัพอากาศมีเครื่องบินขับไล่โจมตี จำนวน 5 ฝูงบิน ซึ่งกองทัพอากาศ ได้ดำเนินการปรับปรุง ขีดความสามารถของอากาศยานที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจเอาไว้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านอายุของอากาศยานมีผลต่อขีดความสามารถของอากาศยานที่ลดลง ข้อจำกัดการส่งกำลัง และซ่อมบำรุงที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งมีระยะเวลาในการจัดหาพัสดุอะไหล่ที่ยาวนาน ส่งผลให้กองทัพอากาศมีความจำเป็นที่จะต้องทยอยปลดประจำการอากาศยานประเภทเครื่องบินขับไล่โจมตีจาก 5 ฝูงบิน จนเหลือ 2 ฝูงบิน ในปี พ.ศ.2575 โดยกองทัพอากาศได้วางแผนดำเนินการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี จำนวน 1 ฝูงบิน เพื่อมาทดแทน 3 ฝูงบินที่ได้วางแผนทยอยปลดประจำการ เพื่อให้สามารถดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติการบินรบในอากาศ และการโจมตีทางอากาศต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อยอีก 40 ปี โดยสถานการณ์ปัจจุบันมีการขยายอิทธิพลจากชาติมหาอำนาจสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น รวมถึงปัญหาการเมือง และความมั่นคงภายในแต่ละประเทศ ทำให้หลายประเทศในภูมิภาคมีการสะสมกำลัง ทางทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังทางอากาศที่มีขีดความสามารถสูงในการปฏิบัติการทางทหาร อาทิ เมียนมา, มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง (เช่น เครื่องบินแบบ Su-27 และ …
อ่านเพิ่มเติม »

บราซิล-สเปนรายงานพบผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงเป็นรายแรก : อินโฟเควสท์บราซิล-สเปนรายงานพบผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงเป็นรายแรก : อินโฟเควสท์บราซิล และสเปนรายงานพบผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงเป็นรายแรก โดยชายวัย 41 ปีในบราซิลเสียชีวิตเป็นรายแรกจากโรคฝีดาษลิงซึ่งเกิดขึ้นนอกทวีปแอฟริกา และหลังจากนั้น สเปนประกาศพบผู้เสียชีวิตรายแรกเช่นกัน และเป็นรายแรกในยุโรปด้วย สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขของบราซิลเปิดเผยว่า ผู้เสียชีวิตเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โดยอาการป่วยร่วมทำให้สภาวะของผู้ป่วยแย่ลง ทั้งนี้ บราซิลมีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงที่ได้รับการยืนยันแล้ว 1,066 ราย และต้องสงสัยติดเชื้อ 513 ราย ขณะที่มากกว่า 98% เป็นผู้ติดเชื้อเพศชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ส่วนในสเปนมีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง 3,750 ราย ซึ่ง 120 รายหรือ 3.2% รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และ 1 รายเสียชีวิต โดยที่ทางการสเปนไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระดับโลก แต่การติดเชื้อโดยทั่วไปนั้นยังไม่รุนแรง และความเสี่ยงต่อประชากรทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (30 ก.ค. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »

ผู้นำยูเครนสั่งประชาชนอพยพออกจากโดเนตสก์ หลังสงครามระอุ : อินโฟเควสท์ผู้นำยูเครนสั่งประชาชนอพยพออกจากโดเนตสก์ หลังสงครามระอุ : อินโฟเควสท์ประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนสั่งการให้พลเรือนทั้งหมดอพยพออกจากแคว้นโดเนตสก์ ทางภาคตะวันออกของประเทศยูเครน โดยเตือนเรื่องการต่อสู้ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น “ยิ่งประชาชนอพยพออกจากโดเนตสก์มากเท่าไหร่ ก็จะมีประชาชนที่ถูกรัสเซียสังหารน้อยลงเท่านั้น โดยเราจะใช้ทุกโอกาสเพื่อรักษาชีวิตประชาชนให้ได้มากที่สุดและจำกัดเหตุความรุนแรงจากรัสเซียให้ได้มากที่สุด” ปธน.เซเลนสกีกล่าว สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า เหตุสู้รบในแคว้นโดเนตสก์ดำเนินไปอย่างดุเดือด ในขณะที่กองกำลังรัสเซียรุกคืบดินแดนยูเครนอย่างช้า ๆ หลังสามารถควบคุมพื้นที่ต่าง ๆ ของแคว้นโดเนตสก์ได้เป็นจำนวนมาก คำกล่าวของปธน.เซเลนสกีมีขึ้นหลังรัสเซียเชิญเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ (UN) และสภากาชาดเข้าร่วมการไต่สวนกรณีการเสียชีวิตของเชลยศึกชาวยูเครน 50 คนในเรือนจำเมืองโอเลนิฟกา ของแคว้นโดเนตสก์ ซึ่งฝ่ายรัสเซียเป็นผู้ควบคุม รัสเซียและยูเครนต่างกล่าวโทษอีกฝ่ายว่าเป็นผู้ก่อเหตุยิงขีปนาวุธโจมตีเรือนจำในเมืองโอเลนิฟกา โดยยูเครนกล่าวหาว่า รัสเซียโจมตีเรือนจำแห่งนี้ เพราะต้องการทำลายหลักฐานการทารุณกรรมและฆ่าฟัน ขณะที่เจ้าหน้าที่กลาโหมรัสเซียประกาศเมื่อวันเสาร์ (30 ก.ค.) ว่ายินดีให้มีการตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 ก.ค. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-05 03:28:28