ดัชนีเชื่อมั่นภาคอสังหาฯ Q1/66 หด กังวลดอกเบี้ยสูงขึ้นกระทบยอดขาย-เปิดโครงการใหม่ชะลอ อสังหาริมทรัพย์ เศรษฐกิจไทย อินโฟเควสท์
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในภาวะปัจจุบัน ภาพรวมของไตรมาส 1/66 มีค่าดัชนีเท่ากับ 46.7 ลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/65 ที่มีค่าดัชนี 51.5 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวของปีก่อนที่มีค่าดัชนี 47.
แต่ในด้านความเชื่อมั่นในด้านต้นทุนผลประกอบการที่ปรับเพิ่มขึ้น 3.7 จุด ซึ่งสะท้อนว่าผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลมีความเชื่อมั่นในด้านต้นทุนการประกอบการในการพัฒนาที่อยู่อาศัยมากขึ้นเนื่องจากมีการปรับตัวคงที่ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากภาพรวมต้นทุนยังคงสูงอยู่ทำให้ระดับความเชื่อมั่นยังต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องมามากกว่า 5 ไตรมาส
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในภาพรวมอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าเท่ากับ 61.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.5 และค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอีก 6 เดือนเพิ่มขึ้น
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ZoomIn: ส่องหุ้นแบงก์ Q1/66 กำไรแน่นปึ้ก รันเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น-สำรองเริ่มลด : อินโฟเควสท์เข้าสู่ฤดูเก็งงบแบงก์ไตรมาส 1/66 โบรกประเมินกำไรทั้งกลุ่ม 4.34 หมื่นล้านบาท เติบโตพุ่งขึ้นถึง 31% จากไตรมาส 4/65 แต่กลับหดตัว 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหนุนสำคัญเทียบไตรมาสต่อไตรมาสมาจากแนวโน้มการตั้งสำรองฯของ 2 แบงก์ใหญ่ ได้แก่ KBANK และ KTB แนวโน้มลดลา โดยเฉพาะ KBANK ที่สร้างเซอร์ไพรส์การตั้งสำรองฯที่สูงแล้วในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายต่างๆ น่าจะเห็นการปรับลดลงในไตรมาส 1/66 รวมถึงอานิสงส์ของดอกเบี้ยขาขึ้นช่วยให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) โตขึ้นตามไปด้วย แต่ภาพรวมสินเชื่ออาจยังไม่เห็นแววสดใสมากนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเศรษฐกิจเพิ่งเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับฐานของสินเชื่อในไตรมาส 4/65 สูง เมื่อเทียบกันจึงยังใกล้เคียงเดิมหรือคงที่ แต่หากเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนคาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยราว 1.5% เพราะในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.66 สินเชื่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังมีภาพชะลอตัว กลุ่มกำไรโตทั้ง QoQ, YoY นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.พาย ระบุว่า หุ้นกลุ่มแบงก์ในไตรมาส 1/66 ที่มีโอกาสเห็นกำไรเติบโตได้ทั้ง QoQ และ YoY คาดว่าจะเป็น […]
อ่านเพิ่มเติม »
เข้าช่วงเก็งงบแบงก์ Q1/66 โบรกคาดกำไรกลุ่มโตพุ่ง QoQ รับผลตั้งสำรองลด-ลุ้นโอกาสอัพเป้ากำไร : อินโฟเควสท์บล.เอเชียพลัส ระบุว่า เข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบกลุ่มธนาคารเริ่มแห่งแรก TISCO ในวันที่ 18 เม.ย. 66 ก่อนจะปิดท้ายด้วยแบงก์ใหญ่ อย่าง KBANK และ SCB วันที่ 21 เม.ย. 66 แนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) งวด Q1/66 อยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 34% QoQ (+5% YoY) ขับเคลื่อนด้วยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) ของแบงก์ใหญ่รวมถึงค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลงตามฤดูกาล อีกทั้ง Credit Cost ของ KBANK ต่ำลงจากฐานสูงงวดก่อน หากกำไรสุทธิกลุ่มฯ Q1/66 เป็นไปตามคาด จะคิดเป็นสัดส่วนราว 25% ของประมาณการกำไรกลุ่มฯ ของฝ่ายวิจัยและ Bloomberg Consensus (ณ 6 เม.ย. 66) ปี 66 บ่งชี้โอกาสในการ […]
อ่านเพิ่มเติม »
ธปท.เผยระบบการเงินไทย Q1/66 มีเสถียรภาพ จับตาปัญหารัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ : อินโฟเควสท์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเสถียรภาพระบบการเงินไทย ประจำไตรมาส 1/2566 พบว่า ระบบการเงินไทยยังมีเสถียรภาพ แต่หากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครนยืดเยื้อ อาจส่งผลให้ค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตปรับเพิ่มขึ้น จนกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ผ่านความสามารถในการชำระหนี้ที่ด้อยลงของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ และการสูญเสียความเชื่อมั่นของนักลงทุน สำหรับความเสี่ยงรายด้าน มีรายละเอียดดังนี้ – ภาคครัวเรือน ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน และกลุ่มเปราะบางมีแนวโน้มด้อยลง จากค่าครองชีพที่เร่งตัวขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ความเปราะบางสะสมของครัวเรือนเพิ่มขึ้น จากปัญหาภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง และรายได้ที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน โดยเฉพาะในภาวะที่ค่าครองชีพสูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ – ภาคธุรกิจ โดยธุรกิจขนาดใหญ่ ผลประกอบการและฐานะฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ขณะที่ SMEs สินเชื่อขยายตัวได้เล็กน้อยจากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู แต่ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ และความต่อเนื่องของการฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวที่แตกต่างกันในแต่ละภาคธุรกิจ และโดนซ้ำเติมจากต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถส่งผ่านไปสู่ผู้บริโภคได้เต็มที่ – ภาคอสังหาริมทรัพย์ ตลาดที่อยู่อาศัยมีสัญญาณฟื้นตัวจากอุปทานที่เร่งตัวขึ้น และธนาคารพาณิชย์เริ่มปรับการพิจารณาสินเชื่อของกลุ่มผู้กู้ที่มีกำลังซื้อ ตอบสนองการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV อย่างไรก็ดี ความต้องการซื้อยังคงชะลอตัว จึงต้องติดตามภาวะอุปทานคงค้างในระยะต่อไป – ระบบธนาคารพาณิชย์ ความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง โดยผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน จากค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลงเป็นสำคัญ แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19 […]
อ่านเพิ่มเติม »
MONO ร่วง 8.33% คาด Q1/66 พลิกขาดทุน เม็ดเงินโฆษณาหด-ดีลขาย 3BB ยังไม่แน่นอน : อินโฟเควสท์MONO ราคาดิ่ง 8.33% หรือลดลง 0.11 บาท มาที่ 1.21 บาท มูลค่าซื้อขาย 79.24 ล้านบาท เมื่อเวลา 14.43 น.จากราคาเปิด 1.32 บาท ราคาขึ้นไปสูงสุด 1.32 บาท ราคาต่ำสุด 1.13 บาท นายนภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน บล.บัวหลวง เปิดเผยว่า ราคาหุ้น บมจ.โมโน เน็กซ์ (MONO) ปรับตัวลงมาแรง น่าจะมีปัจจัยกดดันมาจาก 2 เรื่องด้วยกัน คือ 1. ภาพรวมอุตสาหกรรมกลุ่มสื่อในไตรมาส 1/66 ดูไม่ค่อยดี จากเม็ดเงินโฆษณาที่หดตัว ทำให้คาดว่าผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/66 มีโอกาสพลิกเป็นขาดทุนได้ 2. ดีลขาย 3BB ให้กับ ADVANC ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ทำให้เกิดภาวะ Overhang อย่างไรก็ตาม แนะนำนักลงทุนให้ […]
อ่านเพิ่มเติม »
ส่องงบ Q1/66 `กลุ่มค้าปลีก` คาดกำไรโต 18.2% ชู CPALL โดดเด่นสุด ฟันกำไร 3.8 พันลบ.สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -10 เม.ย. 66 15:09 น. โบรกฯ ส่องแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 1/66 กลุ่มค้าปลีกคาดเติบโตแข็งแกร่ง 18.2% ชู CPALL โดดเด่นสุด คาดกำไร 3.7-3...
อ่านเพิ่มเติม »
หุ้นไทยปิดบวก 16.06 จุด แรงซื้อหุ้นบิ๊กแคปหนุน ลุ้นผลงานกลุ่มแบงก์ Q1/66ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 10 เมษายน ปิดที่ระดับ 1,593.13 จุด เพิ่มขึ้น 16.06 จุด (+1.02%) โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวสูงสุดที่ 1,596.54 จุด ต่ำสุดที่ 1,571.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 36,411.84 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 2,495.19 ล้านบาท ขณะที่กองทุนขายสุทธิ 68.02 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »