เกิดดราม่าใน 'อิตาลี' ระหว่างฝ่ายที่ต้องการควบคุมราคา 'กาแฟเอสเพรสโซ' ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กับฝ่ายที่อยากเห็นกาแฟหลุดพ้นจากบัญชีสินค้าควบคุมราคา เพราะอาจขัดหลักกลไกตลาด และกีดกันกาแฟคุณภาพ กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ล่าสุดเกิดดราม่าอีกครั้งในดินแดนต้นกำเนิดวัฒนธรรมกาแฟยุคใหม่อย่าง"อิตาลี" ระหว่างฝ่ายที่ต้องการควบคุมราคา"กาแฟเอสเพรสโซ" ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กับฝ่ายที่อยากเห็นกาแฟหลุดพ้นจากบัญชีสินค้าควบคุมราคา เพราะอาจขัดหลักกลไกตลาด และกีดกันกาแฟคุณภาพที่มากลายเป็นประเด็นร้อนๆ จนได้รับความสนใจนำเสนอเป็นข่าวฮ็อตบนหน้าเว็บไซต์ข่าวของยุโรป, ออสเตรเลีย, สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนเมษายน แต่มาเป็นข่าวแรงๆ เอาก็ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้เอง...
เรื่องนี้โดยส่วนตัวผู้เขียน "เข้าใจ" และ "เห็นใจ" ทั้ง 2 ฝ่าย อย่างฝ่ายลูกค้าคงไม่เจอมาก่อนกับราคา "เอสเพรสโซ" ที่ 2 ยูโร พอมาโดนเข้าก็ตกใจ ขณะที่ฝ่ายร้านกาแฟเอง จะขายเอสเพรสโซราคาต่ำก็ไม่ไหว ต้นทุนค้ำคออยู่ เห็นในข่าวบอกว่า กาแฟที่ใช้ทำเอสเพรสโซ ดีแคฟ นำเข้ามาจากไร่กาแฟขนาดเล็กแห่งหนึ่งของย่าน "เชียปาส" ในเม็กซิโก
อย่างไรก็ตาม เมื่อข่าวนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ทางผู้บริหารหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของอิตาลี ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า การเพิ่มขึ้นของราคากาแฟ ทำให้เครื่องดื่มใน "ชีวิตประจำวัน" เริ่มมีความ "หรูหรา" เหมือนเป็นเครื่องดื่มคนรวยเข้าไปทุกทีแล้ว ว่ากันตามจริง หน่วยงานนี้ก็ได้รับเรื่องร้องเรียนอยู่เป็นประจำจากผู้บริโภคว่า ราคาเอสเพรสโซในประเทศนั้นสูงมากเกินไปแล้ว...
ในระยะหลังๆ ร้านกาแฟจำนวนมากจึงหาทางลดต้นทุนลง เช่น เปิดพื้นที่ร้านสำหรับการยืนดื่มเอสเพรสโซแทนการนั่ง หากต้องการที่นั่ง จะต้องถูกบวกเพิ่มเข้าไปในราคากาแฟ นี่เป็นจุดกำเนิดของ "เอสเพรสโซบาร์" ที่ยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้ หลายคนสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมต้องคุมราคาเอสเพรสโซกันด้วย อย่าง "เซเรน่า โนบิลี" แห่งดินี่ คัฟเฟ่ โรงคั่วและร้านกาแฟในเมืองฟลอเรนซ์เช่นกัน ตั้งคำถามค่อนข้างชัดเจนผ่านทางเว็บไซต์ข่าวแห่งหนึ่งว่า เอสเพรสในประเทศนี้ เป็นราคา "ทางการเมือง" ด้วยหรือเปล่า ทำไมคนขายไวน์หรือเบียร์จึงมีเสรีภาพในการตั้งราคาขายได้เอง