อุตุฯ ญี่ปุ่น เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นนันมาดอล มีขนาดใหญ่และรุนแรง อาจเทียบได้กับเฮอร์ริเคนระดับ 5 ล่าสุดพบ ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงถึง 270 กม./ชม. โดยคาดว่า ปริมาณฝนในรอบ 24 ชม. ถึงเที่ยงวันพรุ่งนี้ อาจจะเผชิญสูงถึง 500 มม. ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู
อุตุฯ ญี่ปุ่น ออกประกาศเตือนภัยพายุไต้ฝุ่นนันมาดอล ซึ่งมีขนาดใหญ่และรุนแรงมาก โดยคาดว่า มีความรุนแรงเทียบเท่ากับเฮอร์ริเคนระดับ 5นอกจากนี้ ยังคาดว่า ปริมาณฝนทางตอนใต้ของเกาะคิวชู อาจจะเผชิญฝนตกหนักสูงถึง 500 มม. ในรอบ 24 ชม.
ซึ่งล่าสุด ทางการญี่ปุ่นรายงานว่า ไต้ฝุ่นนันมาดอล มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำให้มีฝนตกหนักได้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางตอนใต้ของเกาะคิวชู คาดว่า ปริมาณฝนในรอบ 24 ชั่วโมงจนถึงเที่ยงวันอาทิตย์นี้อาจจะสูงถึง 500 มม. ไต้ฝุ่นลูกดังกล่าวจะพัดขึ้นชายฝั่งของเกาะคิวชู ทางตอนใต้ญี่ปุ่นในช่วงบ่ายพรุ่งนี้ ซึ่งภายในประกาศดังกล่าวได้มีเตือนให้พื้นที่จังหวัดคะโงะชิมะ ทางตอนเหนือของเกาะคิวชูให้เฝ้าระวังอันตรายจากไต้ฝุ่นลูกดังกล่าวเป็นพิเศษ และเร่งอพยพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงมายังศูนย์อพยพที่เตรียมไว้ โดยจะเร่งให้เสร็จเรียบร้อยก่อนค่ำวันนี้
คาดว่า อิทธิพลของไต้ฝุ่นนันมาดอลจะส่งผลให้เกิดคลื่นสูงในทะเล มีฝนตกหนักและอาจทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยหลังจากพัดขึ้นฝั่งเกาะคิวชูแล้ว ไต้ฝุ่นนันมาดอลจะเคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันออก และมุ่งหน้าไปยังกรุงโตเกียวในวันอังคาร ก่อนที่จะเคลื่อนตัวออกทะเล และทางการญี่ปุ่นได้ออกประกาศเตือนระดับสูงสุด รวมถึงคำเตือนพิเศษในพื้นที่คิวชู ให้ระวังคลื่นลมแรงอีกด้วย
ทั้งนี้ ไต้ฝุ่นนันมาดอลถือเป็นไต้ฝุ่นลุกที่ 14 ที่พัดถล่มญี่ปุ่น หลังจากเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเพิ่งเผชิญกับไต้ฝุ่นหินหนามหน่อ ซึ่งเป็นไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงเช่นกัน
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
อุตุฯ ออกประกาศฉบับที่ 4 เตือน ฝนตกหนัก-หนักมาก ลมกระโชกแรง 17-21 ก.ย.นี้เตือนฝนตกหนัก - หนักมาก และลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทย ช่วง 17-21 ก.ย.นี้ จากอิทธิพลของความกดอากาศสูงจากจีนแผ่ลง ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทย + มรสุมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น เช็ครายชื่อจังหวัดและพื้นที่ฝนตกหนักได้ในลิ้ง
อ่านเพิ่มเติม »
“ผู้ดี” เพิ่มคว่ำบาตร “หม่อง” รอบใหม่สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทางการอังกฤษ โดยนางอแมนดา มิลลิง รัฐมนตรีด้านกิจการเอเชีย แถลงการประกาศบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตร หรือแซงก์ชันระลอกใหม่ต่อกองทัพเมียนมา ด้วยการแซงก์ชันต่อบริษัทธุรกิจในเมียนมา ที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมา รวมถึงการจำกัดการเข้าถึงอาวุธและรายได้ของกองทัพเมียนมา พร้อมกันนี้ นางมิลลิง ยังระบุด้วยว่า การคว่ำบาตรดังกล่าว เพื่อเป็นการสนับสนุนต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจาในเมียนมา โดยเน้นย้ำว่า อังกฤษยังคงยืนเคียงข้างเป็นหนึ่งเดียวต่อชาวโรฮีนจา และขอประณามต่อกองทัพเมียนมาที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮีนจา ในรัฐยะไข่ จนทำให้ชาวโรฮีนจาหลายแสนคน ต้องอพยพลี้ภัยไปยังบังกลาเทศ รายงา
อ่านเพิ่มเติม »
อาเซียน-ญี่ปุ่น ถกแผนร่วมเศรษฐกิจครั้งใหม่ พร้อมเร่งอัพเกรด FTA กับเกาหลีใต้ : อินโฟเควสท์น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2/27 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยที่ประชุมเห็นชอบหลักการที่จะหารือแผนงานกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น 50 ปี ในปี 2566 โดยเฉพาะการร่วมกันเตรียมจัดทำข้อริเริ่ม “การออกแบบอนาคตและแผนปฏิบัติการของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นครั้งใหม่ และการจัดทำวิสัยทัศน์การร่วมสร้างสรรค์ด้านเศรษฐกิจ อาเซียน-ญี่ปุ่น สำหรับข้อริเริ่มดังกล่าว จะจัดทำโดยรัฐบาลของอาเซียน-ญี่ปุ่น ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ การร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืนอาเซียน-ญี่ปุ่น การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานระดับโลกในยุคดิจิทัลอาเซียน-ญี่ปุ่น และการพัฒนาและแลกเปลี่ยนทรัพยากรมนุษย์อาเซียน-ญี่ปุ่น นอกจากนี้ การจัดทำวิสัยทัศน์การร่วมสร้างสรรค์ด้านเศรษฐกิจ อาเซียน-ญี่ปุ่น คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียนและญี่ปุ่น (AMEICC) ได้เปิดให้ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาจากประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ร่วมกันระดมความเห็นหรือการวิจัย เพื่อนำมาประกอบการจัดทำวิสัยทัศน์ดังกล่าว โดยสาขาที่คาดว่าจะเสนอวิสัยทัศน์ อาทิ ห่วงโซ่อุปทาน ดิจิทัล นวัตกรรม การแก้ปัญหาความท้าทายของสังคม การเชื่อมต่อ สตาร์ทอัพ และสิ่งแวดล้อม น.ส.โชติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลีใต้ ครั้งที่ 37 ได้หารือประเด็นสำคัญ …
อ่านเพิ่มเติม »