ญี่ปุ่นปรับเพิ่มประมาณการ GDP Q1 สู่ระดับ 2.7% หลังภาคธุรกิจลงทุนเพิ่ม GDP คณะรัฐมนตรี ญี่ปุ่น อินโฟเควสท์
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในไตรมาส 1/2566 ขยายตัว 2.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งแข็งแกร่งกว่าการประมาณการเบื้องต้นที่ระบุว่าขยายตัวเพียง 1.6% หลังจากการใช้จ่ายในภาคธุรกิจดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นหลักฐานล่าสุดที่บ่งชี้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศเริ่มฟื้นตัว
เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ขยายตัว 0.7% ซึ่งดีกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่มีการขยายตัว 0.4% และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 0.5%
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
GDP ออสซี่โตเพียง 2.3% ใน Q1 ต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี จากผลกระทบดบ.ขาขึ้น : อินโฟเควสท์สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) รายงานในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566 ขยายตัว 2.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าจะขยายตัว 2.4% และชะลอตัวลงจากไตรมาส 4/2565 ที่มีการขยายตัว 2.7% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของออสเตรเลียขยายตัว 0.2% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 0.3% นางแคเธอร์รีน คีแนน ผู้อำนวยการ ABS กล่าวว่า แม้ว่าตัวเลข GDP ในไตรมาส 1 ของออสเตรเลียมีการขยายตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาส แต่ก็เป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2564 ทั้งนี้ เศรษฐกิจออสเตรเลียได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและตัวเลขเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 4.10% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า RBA […]
อ่านเพิ่มเติม »
ภาคเอกชน ห่วงการเมืองสุญญากาศหากตั้งรัฐบาลช้า กระทบเชื่อมั่น-ฉุด GDP : อินโฟเควสท์นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวว่า ภาคเอกชนอยากให้การจัดตั้งรัฐบาลเสร็จโดยเร็ว เพื่อจะได้ไม่เกิดภาวะสุญญากาศ อยากให้สถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนมากกว่านี้ ภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางไม่เกิดการสะดุด แต่เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ กกร.ได้ประเมินผลกระทบไว้ในคาดการณ์อยู่แล้ว หากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าออกไปกว่าที่ควรจะเป็นคงบอกระดับความเสียหายไม่ได้ แต่ผลที่เกิดขึ้นจะสะท้อนให้เห็นจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ ซึ่งภาคเอกชนเองก็วางไทม์ไลน์ล้อตามไปด้วย แต่หากเกิดความล่าช้ากว่าไทม์ไลน์ก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างประเทศที่ไม่สามารถรอได้นานๆ นอกจากนี้ยังอยากให้สถานการณ์ทางการเมืองนิ่ง ไม่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวาย สำหรับช่วงนี้มีเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจที่หวังพึ่งได้แค่ 2 ตัว คือ การท่องเที่ยวแต่ยังมีความเปราะบางเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกสบาย กับการบริโภคภายในประเทศ ด้วยการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มกำลังซื้อ แม้จะมีข้อจำกัดก็ตาม ส่วนการส่งออกที่ชะลอตัวลงนั้น ผู้ผลิตก็หวังพึ่งกำลังซื้อในประเทศมาทดแทน ขณะเดียวกันก็ต้องระวังการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศผ่านการค้าออนไลน์ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 มิ.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
น้ำมัน WTI ปิดบวก 79 เซนต์ ขานรับซาอุฯลดผลิตน้ำมัน : อินโฟเควสท์สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (7 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มภาวะน้ำมันตึงตัว หลังซาอุดีอาระเบียประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งช่วยบดบังปัจจัยลบจากรายงานสต็อกเชื้อเพลิงของสหรัฐที่พุ่งขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และข้อมูลการส่งออกที่ย่ำแย่ของจีน ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากการที่ซาอุดีอาระเบียประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ระดับ 9 ล้านบาร์เรล/วันตั้งแต่เดือนก.ค. จากระดับ 10 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี ในช่วงแรกนั้น ตลาดถูกกดดันจากรายงานที่ว่า ยอดส่งออกของจีนร่วงลง 7.5% ในเดือนพ.ค. และยอดนำเข้าเดือนพ.ค.ลดลง 4.5% ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าของจีนลดลง 16.1% สู่ระดับ 6.581 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2565 นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันในช่วงแรกแรกจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ซึ่งระบุว่า สต็อกน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้นเพียง 750,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล พุ่งขึ้น 5.1 ล้านบาร์เรล มากกว่านักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ดี สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐลดลง […]
อ่านเพิ่มเติม »
“บิตคอยน์” ร่วง 5.5% สู่ระดับ 25,662.50 ดอลล์ หลัง ก.ล.ต.สหรัฐยื่นฟ้อง Binance-Changpeng Zhaoเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ราคาบิตคอยน์ร่วงหลุดจากระดับ 26,000 ดอลลาร์ โขณะที่ราคาคริปโทเคอเรนซีประเภทอื่น ๆ ปรับตัวลงเช่นกัน หลังจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (ก.ล.ต.สหรัฐ) ยื่นฟ้องดำเนินคดีทางกฎหมายกับ Binance และ Changpeng Zhao ผู้ก่อตั้ง ในข้อหาละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์
อ่านเพิ่มเติม »
น้ำมัน WTI ปิดลบ 41 เซนต์ กังวลศก.ซบฉุดดีมานด์ชะลอตัว : อินโฟเควสท์สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (6 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน ซึ่งได้บดบังปัจจัยบวกจากการที่ซาอุดีอาระเบียประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2567 ลงสู่ระดับ 2.4% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 2.7% โดยระบุว่าเศรษฐกิจโลกยังคงได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด และวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร ขณะเดียวกันธนาคารโลกได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2566 สู่ระดับ 2.1% จากระดับ 1.7% แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าการขยายตัวในปี 2565 ที่ระดับ 3.1% ทางด้านสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวเพียง 1.3% ในปี 2566 และขยายตัว 1% ในปี 2567 ซึ่งลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 1.6% และ 1.8% ตามลำดับ พร้อมระบุว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการใช้พลังงานของสหรัฐทั้งในปี 2566 และ 2567 นอกจากนี้ การแข็งค่าของดอลลาร์ยังส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งกำหนดราคาเป็นดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 […]
อ่านเพิ่มเติม »
ทองปิดร่วง $23.10 กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย : อินโฟเควสท์สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ในวันพุธ (7 มิ.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีและ 10 ปีพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ หลังจากธนาคารกลางแคนาดาประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.75% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี ส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้เช่นกัน ขณะที่ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.10% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะตรึงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับ 3.85% FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 30% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 21.8% และให้น้ำหนัก 69% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 5.00-5.25% ซึ่งลดลงจากระดับ 77% นอกจากนี้ นักลงทุนยังให้น้ำหนัก […]
อ่านเพิ่มเติม »