ญี่ปุ่นเผย GDP Q2/66 โต 6% สูงกว่าคาดการณ์ อานิสงส์ส่งออกแข็งแกร่ง GDP ญี่ปุ่น ส่งออก อินโฟเควสท์
รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในไตรมาส 2/2566 ขยายตัว 6.0% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกันสามไตรมาส และแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะขยายตัวเพียง 0.8% โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยชดเชยการฟื้นตัวที่อ่อนแอของภาคบริการ
ทั้งนี้ ความแข็งแกร่งของตัวเลข GDP อาจช่วยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำหนดนโยบายของญี่ปุ่นคลายความวิตกกังวล หลังจากที่ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่พยายามหาแนวทางในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับภาวะเงินเฟ้อที่ยั่งยืนและค่าจ้างที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคส่วนพบว่า การอุปโภคบริโภคในภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นปรับตัวลง 0.5% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสโดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
GDP เกาหลีใต้ขยายตัว 0.6% ใน Q2/66 สูงกว่าคาดการณ์ แม้ส่งออกชะลอตัว : อินโฟเควสท์ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยในวันนี้ (25 ก.ค.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2566 ขยายตัว 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งเป็นการขยายตัวที่รวดเร็วกว่าในไตรมาส 1 ที่มีการขยายตัว 0.3% แม้ว่าการส่งออกปรับตัวลงก็ตาม ทั้งนี้ GDP ไตรมาส 2 ขยายตัวได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าอาจจะขยายตัว 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และเป็นการขยายตัวรายไตรมาสที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2565 เมื่อเทียบเป็นรายปี ตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของเกาหลีใต้ขยายตัว 0.9% ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับเดียวกับในไตรมาส 1 ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงมีการขยายตัว แม้ว่าการส่งออกในไตรมาส 2 ปรับตัวลง 1.8% เนื่องจากความอ่อนแอของอุปสงค์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและการบริการด้านการขนส่ง อย่างไรก็ดี ยอดการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์และยานยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนยอดนำเข้าร่วงลง 4.2% ในไตรมาส 2 โดยถูกกดดันจากการลดลงของยอดนำเข้าน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ รายงานของ BOK ยังระบุด้วยว่า […]
อ่านเพิ่มเติม »
DITTO โชว์กำไรสุทธิ Q2/66 โต 47%บมจ. ดิทโต้ โชว์กำไรสุทธิ Q2/66 โต 47% ยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า102.46 ล้านบาท คาดครึ่งปีหลังยังโตต่อเนื่อง จากแบ็คล็อกของบริษัทอีกกว่า 5.3 พันล้านบาท อ่านเพิ่มเติม :
อ่านเพิ่มเติม »
GDP อังกฤษ Q2/66 โต 0.2% ท่ามกลางเงินเฟ้อสูง กดดัน BoE ขึ้นดอกเบี้ยต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ของ อังกฤษ ขยายตัว 0.2% ท่ามกลางอัตรา เงินเฟ้อ ที่ยังปรับตัวอยู่ในระดับสูง กดดันให้ธนาคารกลางอังกฤษ ยังขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง อ่านต่อ: กรุงเทพธุรกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
TFM ลุยปรับโฉมธุรกิจดันกำไร Q2/66 โต 41.6% จับสัญญาณอาหารกุ้งแกร่งจ่อขยายตลาดต่อเนื่อง : อินโฟเควสท์บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ (TFM) รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 2/66 ด้วยยอดขาย 1,343.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า กำไรขั้นต้น 122.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.7% และกำไรสุทธิ 47.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41.6% โดยไตรมาสนี้บริษัทบันทึกรายการพิเศษเป็นการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ฟาร์มทดลองที่จังหวัดตรัง 20 ล้านบาท เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากลงทุน (BOI) ได้ครบกำหนด ซึ่งหากไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษนี้แล้วบริษัทจะมีกำไรสุทธิ 67.8 ล้านบาท หากมองเปรียบเทียบผลการดำเนินประจำไตรมาส 2 กับไตรมาสก่อนหน้า TFM พลิกฟื้นจากไตรมาสก่อนที่ขาดทุนมาเป็นกำไรสุทธิ และยอดขายเพิ่มขึ้น 16.6% จากไตรมาสแรกของปี นายพีระศักดิ์ บุญมีโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TFM กล่าวถึงแนวทางการบริหารบริษัทตั้งแต่ต้นปี 66 ว่า บริษัทได้มีความพยายามในการปรับปรุงและปรับระบบในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ทั้งในด้านการบริหารจัดการต้นทุน และการควบคุมการผลิตสินค้า เพื่อให้มีคุณภาพที่ดี รวมถึงไปการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสดใหม่ของอาหาร รวมไปถึงคุณภาพอาหารที่จะช่วยให้สัตว์น้ำเติบโตได้ดี ในอัตรา FCR (Feed […]
อ่านเพิ่มเติม »
สิงคโปร์เผย GDP Q2/66 โตต่ำคาด รอดภาวะศก.ถดถอยหวุดหวิด : อินโฟเควสท์กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสิงคโปร์รายงานในวันนี้ (11 ส.ค.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2566 ของสิงคโปร์ ขยายตัวเพียง 0.1% เมื่อเทียบรายไตรมาส น้อยกว่าที่ทางรัฐบาลคาดไว้ว่าจะโต 0.3% แต่ถือว่ายังรอดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้ เมื่อเทียบเป็นรายปี GDP ไตรมาส 2 ของสิงคโปร์โตแตะ 0.5% ต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าที่ 0.7% นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ยังได้ปรับลดประมาณการ GDP สำหรับปีนี้ลงสู่ระดับ 0.5%-1.5% จากเดิมที่ 0.5%-2.5% และต่ำกว่าตัวเลข GDP ของปีที่แล้วอย่างมากที่ 3.6% ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดส่งออกลดลง 9 เดือนติดต่อกัน ทำให้มีความเสี่ยงว่าสิงคโปร์จะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเป็นเวลานาน ส่วนภาวะเงินเฟ้อของสิงคโปร์แม้จะสูงในช่วงครึ่งปีแรก แต่ก็เริ่มคลายตัวลงในเดือนมิ.ย. ด้านธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) มองว่าทิศทางด้านการคลังในขณะนี้ถือว่า “เหมาะสมแล้ว” และแนวโน้มการเติบโตกับภาวะเงินเฟ้อของสิงคโปร์ก็เป็นไปตามคาดหมาย โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 ส.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »