สัญญาณการลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ หดตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณการซื้อขายที่ดินที่ลดลง โดยระหว่างปี 2558-2561 การซื้อขายที่ดินในประเทศมีมูลค่ากว่า 4.4 หมื่นล้านต่อปี แต่มูลค่าซื้อขายที่ดินเริ่มดิ่ง กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เป็นทุนเดิม แต่การเกิดโรคระบาดเพิ่มความท้าทายให้กับตลาดมากขึ้นไปอีก จะเห็นได้ว่า คอนโดใหม่เปิดตัวลดลงอย่างมากเพราะต้องเร่งระบายสต็อก และหันไปลงทุนที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้นก่อนโควิด อาคารสำนักงานเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ดาวรุ่ง เนื่องจากมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของบริษัทผู้เช่า โดยเฉพาะอาคารใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ และเคยมีการคาดการณ์ว่า ตลาดอาคารสำนักงานของกรุงเทพ จะยังคงแข็งแกร่งในแง่ของค่าเช่า...
ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีอาคารสำนักงานใหม่สร้างเสร็จเพิ่มขึ้นมาก ปี 2563 เกือบ 350,000 ตร.ม. ปี 2564 สร้างเสร็จเพิ่มอีก 470,000 ตร.ม. ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีพื้นที่สำนักงานรวม 9.9 ล้านตร.ม. ขณะที่ดีมานด์ช่วง 5 ปีก่อนเกิดโควิด กรุงเทพฯ มีอัตราการเช่าพื้นที่เพิ่มเฉลี่ย 145,000 ตร.ม.ต่อปี แต่ปี 2563 ลดลงเหลือ 122,000 ตร.ม. และ 70,000 ตร.ม.ในปี 2564
หมายความว่า จะมีพื้นที่ว่างเหลือเช่าสูงขึ้นต่อไปอีก และค่าเช่าจะปรับลดลง ดังนั้น อาคารเก่าที่ขาดการปรับปรุงดูแล ล้าสมัย หรือเสื่อมสภาพจะได้รับผลกระทบมากสุด เพราะผู้เช่ามีแนวโน้มสนใจอาคารที่ใหม่กว่า มีการออกแบบที่ดีกว่า มีเทคโนโลยีใหม่กว่า ตอบโจทย์ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม