ซีอีโอสแตนชาร์ตชี้ AT1 เครดิตสวิสถูกตัดมูลค่าเหลือศูนย์ส่งผลกระทบรุนแรง AT1 creditsuisse ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เครดิตสวิส อินโฟเควสท์
นายบิลล์ วินเทอร์ส ซีอีโอของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กล่าวในระหว่างการประชุมด้านการเงินที่ฮ่องกงในวันนี้ว่า การที่รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ตัดมูลค่าตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือ AT1 ของธนาคารเครดิต สวิส ลงเหลือศูนย์นั้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาด และสร้างความยากลำบากให้กับหน่วยงานกำกับดูแลด้านธนาคารทั่วโลก
“ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า หน่วยงานกำกับดูแลมีความมั่นใจในการชำระหนี้ของเราหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่า ตลาดมีความเชื่อมั่นในสภาพคล่องของเราหรือไม่”ทั้งนี้ ยูบีเอสได้เข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ตราสาร AT1 ของเครดิต สวิสซึ่งระบุมูลค่าหน้าตั๋วไว้ที่ 1.6 หมื่นล้านฟรังก์สวิส จะถูกตัดมูลค่าลงเหลือศูนย์ นอกจากนี้ ข้อตกลงยังกำหนดว่า ผู้ถือ AT1 ของเครดิต สวิส จะไม่มีสิทธิ์ในการรับเงินชดเชย แต่ผู้ถือหุ้นสามัญกลับได้รับเงินชดเชย 3.
AT1 เป็นเครื่องมือการลงทุนยอดนิยมในทวีปเอเชีย เนื่องจากเสนออัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป โดยผู้ออก AT1 ส่วนใหญ่ล้วนเป็นธนาคารยุโรปที่มีชื่อเสียงและอันดับความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง ทำให้เป็นหลักทรัพย์ที่น่าดึงดูดใจท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยคาดการณ์กันว่านักลงทุนฮ่องกงและสิงคโปร์อยู่ในกลุ่มผู้ถือหุ้นกู้ AT1 เครดิต สวิสรายใหญ่
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
นลท.เอเชียอ่วม เซ่นพิษรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ตัดหนี้สูญ AT1 ของเครดิตสวิส : อินโฟเควสท์สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า กลุ่มนักลงทุนในทวีปเอเชยกำลังเตรียมยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ จากกรณีการตัดมูลค่าของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) หรือ AT1 มูลค่า 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ของธนาคารเครดิต สวิส ลงเหลือศูนย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการเทกโอเวอร์กิจการโดยธนาคารยูบีเอส ขณะที่ หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบในเอเชียพยายามเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าอาจเกิดวิกฤตลักษณะเดียวกันนี้ในเอเชีย ทั้งนี้ รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อตลาดทั่วโลกในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ด้วยการผลักดันการขายกิจการเครดิต สวิสให้กับยูบีเอส ซึ่งจะจ่ายเงินผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 3.25 พันล้านดอลลาร์ แต่กลับตัดมูลค่า AT1 เหลือศูนย์ AT1 นั้นเป็นเครื่องมือการลงทุนยอดนิยมในทวีปเอเชีย เนื่องจากเสนออัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป โดยผู้ออก AT1 ส่วนใหญ่ล้วนเป็นธนาคารยุโรปที่มีชื่อเสียงและอันดับความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง ทำให้เป็นหลักทรัพย์ที่น่าดึงดูดใจท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยคาดการณ์กันว่านักลงทุนฮ่องกงและสิงคโปร์อยู่ในกลุ่มผู้ถือหุ้นกู้ AT1 เครดิต สวิสรายใหญ่ แหล่งข่าวเปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทกฎหมายในฮ่องกงและสิงคโปร์ได้รับการติดต่อสอบถามจากนักลงทุนจำนวนมาก เช่น กองทุนเฮดจ์ฟันด์ เพื่อดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ โดยควินน์ เอมานูเอล เออร์คูฮาร์ต แอนด์ ซัลลิแวน บริษัทกฎหมายจากสหรัฐ ก็ได้รับโทรศัพท์จากผู้ถือ AT1 ของเครดิต สวิสจากเอเชียเมื่อวันพุธที่ 22 […]
อ่านเพิ่มเติม »
นลท.สหรัฐจ่อฟ้องรัฐบาลสวิสฯ เหตุตัดมูลค่า AT1 ของเครดิตสวิสเหลือศูนย์ : อินโฟเควสท์สำนักข่าวไฟแนนเชียล ไทม์สรายงานว่า กลุ่มนักลงทุนและกลุ่มธุรกิจในสหรัฐเตรียมยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ตัดมูลค่าของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) หรือ AT1 มูลค่า 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ของธนาคารเครดิต สวิส ลงเหลือศูนย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการเทกโอเวอร์กิจการโดยธนาคารยูบีเอส ทั้งนี้ ยูบีเอสได้เข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ภายใต้ข้อตกลงการเทกโอเวอร์กิจการนั้น ตราสาร AT1 ของเครดิต สวิสซึ่งระบุมูลค่าหน้าตั๋วไว้ที่ 1.6 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (1.735 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จะถูกตัดมูลค่าลงเหลือศูนย์ นอกจากนี้ ข้อตกลงยังกำหนดว่า ผู้ถือ AT1 ของเครดิต สวิส จะไม่มีสิทธิในการรับเงินชดเชย แต่ผู้ถือหุ้นสามัญกลับได้รับเงินชดเชย 3.23 พันล้านดอลลาร์ แม้ว่าผู้ถือหุ้นสามัญมักมีอันดับเป็นรองผู้ถือตราสารหนี้ในการได้รับเงินชดเชยในกรณีธนาคารล้มละลาย โดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างทุนของธนาคารพาณิชย์จะมีตราสาร AT1 ในอัตราส่วนสูงกว่าหุ้นสามัญ และหากธนาคารประสบปัญหา กลุ่มผู้ถือตราสารหนี้เหล่านี้ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่นักลงทุนต้องการเงินคืน แต่การที่รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ตัดมูลค่า AT1 ของเครดิต สวิส […]
อ่านเพิ่มเติม »
แบงก์ชาติฮ่องกงจับตาวิกฤตแบงก์สหรัฐ แต่มั่นใจฮ่องกงไม่ถูกกระทบ : อินโฟเควสท์นายเอ็ดดี้ หยู ผู้ว่าการธนาคารกลางฮ่องกงเปิดเผยในวันนี้ (24 มี.ค.) ว่า ฮ่องกงจำเป็นต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคารในระดับภูมิภาคของสหรัฐนั้นจะลุกลามบานปลายหรือไม่ แม้ว่าภาคธนาคารของฮ่องกงแทบจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐและยุโรปก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) และธนาคารซิกเนเจอร์ แบงก์ (SB) ของสหรัฐ รวมทั้งวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคารเครดิต สวิส ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินในสัปดาห์ที่ผ่านมา และสร้างแรงกระเพื่อมที่รุนแรงต่อระบบธนาคารทั่วโลก ทั้งนี้ นายหยูกล่าวว่า ฮ่องกงมีการลงทุนที่น้อยมากในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) หรือ AT1 ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วเอเชียกำลังหาแนวทางที่จะบรรเทาความวิตกกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถือครองตราสาร AT1 ของธนาคารเครดิต สวิส หลังจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ตัดมูลค่า AT1 ของเครดิต สวิส ลงเหลือศูนย์ตามข้อตกลงการเทกโอเวอร์กิจการโดยธนาคารยูบีเอส “วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐและยุโรปเมื่อเร็วนี้ ๆ แทบจะไม่มีผลกระทบกับฮ่องกง และเรามองว่าสถานการณ์ในขณะนี้เริ่มมีเสถียรภาพ แต่ฮ่องกงก็ยังจำเป็นต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินว่าวิกฤตการณ์นั้นจะลุกลามบานปลายหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐ” นายหยูกล่าว นอกจากนี้ เขากล่าวว่า ธนาคารในฮ่องกงและทั่วโลกจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับความผันผวนในตลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ยูบีเอสได้เข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน […]
อ่านเพิ่มเติม »
EDL-Gen เปิดจองหุ้นกู้ล็อตใหม่ 28-30 มี.ค.ดอกเบี้ย 6.50% ต่อปี : อินโฟเควสท์นายวันแสง วันนะวง กรรมการผู้จัดการ บมจ.ผลิต-ไฟฟ้าลาว (EDL-Gen) ผู้นำการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานน้ำรายใหญ่สุดของ สปป.ลาว เปิดเผยว่า EDL-Gen ได้เตรียมเปิดให้นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่จองซื้อหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2566 วงเงินไม่เกิน 4,078.1 ล้านบาท อายุ 3 ปี 10 เดือน ซึ่งจะเสนอขายไม่เกิน 4.0781 ล้านหน่วย โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกันและมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ครบอายุไถ่ถอนในปี 2570 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.50% และกำหนดชำระดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน หุ้นกู้ชุดดังกล่าว จะเสนอขายที่ราคาหน่วยละ 1,000 บาท จองซื้อขั้นต่ำ 100 หน่วย ผ่านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ประกอบด้วย บล.บลูเบลล์, บล.ไอร่า, บล.เอเอสแอล , บล.บียอนด์ , บล.ดาโอ (ประเทศไทย) , บล. ฟินันเซีย ไซรัส, บล.โกลเบล็ก , […]
อ่านเพิ่มเติม »
กสทช.ยกเลิก Must Have เตรียมเปิดรับฟังความเห็นใน 30 วัน : อินโฟเควสท์ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นัดพิเศษ ครั้งที่ 7/2566 ได้ให้ความเห็นชอบ ยกเลิกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 สำหรับกฎ Must Have คือกฎที่กำหนดให้ 7 กีฬาถ่ายทอดสด เป็นรายการโทรทัศน์ที่สามารถให้ประชาชนรับชมได้ฟรีผ่านช่องทางฟรีทีวี ดังต่อไปนี้ – การแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final) – การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (SEA Games) – การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games) – การแข่งขันอาเซียนพาราเกมส์ (ASEAN Para Games) – การแข่งขันเอเชียนพาราเกมส์ (Asian Para Games) – การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) – การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก (Paralympic Games) […]
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต. เฮียริ่งเกณฑ์จัดตั้งหรือย้ายสาขาผู้ประกอบธุรกิจ เพิ่มความคล่องตัว ลดกระบวนการ-ภาระภาคธุรกิจ : อินโฟเควสท์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการและร่างกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตจัดตั้ง ย้ายสำนักงานหรือสาขา ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ผู้ประกอบธุรกิจ) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดกระบวนการในการขออนุญาตของผู้ประกอบธุรกิจโดยมีการคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นไปตามโครงการ Regulatory Guillotine ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 มีมติเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้ง ย้ายสำนักงานหรือสาขา ของผู้ประกอบธุรกิจ ตามโครงการ Regulatory Guillotine เพื่อเพิ่มความคล่องตัว ลดกระบวนการ และภาระในการดำเนินการให้ภาคธุรกิจในการเปิดสาขา โดยมีสาระสำคัญที่เสนอปรับปรุง ดังนี้ 1. ใช้หลักการ auto approved ในการพิจารณาอนุญาตจัดตั้งสำนักงานสาขาในต่างประเทศเช่นเดียวกับสาขาในประเทศ 2. ยกเลิกการกำหนดขอบเขตการดำเนินการของสำนักงานผู้แทนของผู้ประกอบธุรกิจไทยในต่างประเทศ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศนั้น ๆ กำหนด 3. เพิ่มความยืดหยุ่นในเรื่องผู้จัดการสาขา 4. คุ้มครองผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอยู่บนหลักการว่าผู้ประกอบธุรกิจต้องมีความพร้อม สาขาตั้งอยู่ในสถานที่ที่ผู้ลงทุนเข้าถึงได้อย่างเหมาะสม และมีการดูแลลูกค้าโดยแจ้งลูกค้ารับทราบล่วงหน้าอย่างเพียงพอก่อนการปิดหรือย้ายสาขา ในการนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์สำนักงาน ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=890 ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ จนถึงวันที่ 23 เมษายน […]
อ่านเพิ่มเติม »