ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ช้อปลดหย่อนภาษีเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้บริโภคยังมีความกังวลต่อหนี้ครัวเรือนและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
ช้อปลดหย่อนภาษี เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลบวกต่อ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และมีมุมมองเชิงบวกต่อ เศรษฐกิจ ไทย ในการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในด้าน เศรษฐกิจ ไทย คิดเป็นสัดส่วนถึง 47.43% ของการตัดสินใจ รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ 15.34% สังคม ความมั่นคง 8.48% ราคาสินค้าเกษตร 7.56% เศรษฐกิจ โลก 6.95% การเมือง 5.33% ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 4.24% ภัยพิบัติ โรคระบาด 3.04% และอื่น ๆ 1.
63% ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานบำนาญปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ธันวาคม 2567 คาดว่าเป็นผลจากการที่ผู้สูงอายุจะได้รับเงินหมื่นจากโครงการของรัฐบาลในช่วงปลายเดือน มกราคม 2568 ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนกลุ่มนี้ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีอยู่ในช่วงเชื่อมั่น 5 อาชีพ ได้แก่ พนักงานของรัฐ อยู่ที่ระดับ 55.7 นักศึกษา อยู่ที่ระดับ 53.5 ผู้ประกอบการ อยู่ที่ระดับ 52.9 เกษตรกร อยู่ที่ระดับ 51.5 และพนักงานเอกชน อยู่ที่ระดับ 50.1 ยกเว้น อาชีพรับจ้างอิสระ อยู่ที่ระดับ 49.3 สำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ต่ำกว่าช่วงเชื่อมั่น โดยอยู่ที่ระดับ 44.2 ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความมุมมองเชิงบวกต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในอนาคตว่ามีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ที่อาจส่งผลและช่วยให้การใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรการดึงดูดการท่องเที่ยว มาตรการขยายความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุน และมาตรการส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังมีความกังวลต่อหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ และนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่อาจส่งผลต่อความไม่แน่นอนของภาคการผลิตและการจ้างงาน อาจเป็นปัจจัยทอนที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน กระทรวงพาณิชย์จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างทันท่วงทีและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดความกังวลและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อไ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ช้อปลดหย่อนภาษี เศรษฐกิจไทย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือน
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
IMF ชี้การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ส่อกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจโลก : อินโฟเควสท์นายปีแอร์ โอลิเวอร์ กูรินชาส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะถูกแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มก้อนนั้นถูกถ่วงด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตชะลอตัวลง หลังประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันตกเคลื่อนไหวเพื่อลดการพึ่งพาจีน โดยในเดือนที่ผ่านมา กลุ่ม G7 ประกาศสร้างความหลากหลายด้านห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญและลดความเสี่ยง ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างจีนและตะวันตก นายกูรินชาส์ระบุว่า การสร้างความหลากหลายด้านห่วงโซ่อุปทานสามารถทำให้เศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น แต่กระแสการลดความเสี่ยงดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก “มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะถูกแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบการค้า ระบบการชำระเงิน และมาตรฐานทางเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง โดยไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับกลุ่มอื่น ๆ” นายกูรินชาส์กล่าวกับสำนักข่าวนิกเกอิเอเชีย นายกูรินชาส์กล่าวว่า กรณีดังกล่าวจะกลายเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจโลกในหลากหลายรูปแบบและทำให้จัดการแก้ไขปัญหาที่มีร่วมกันได้ยากยิ่งขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศหรือหนี้สินจำนวนมหาศาลในประเทศที่มีรายได้ต่ำบางประเทศ IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเติบโตชะลอตัวลง โดยคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 2.8% ในปีนี้ ซึ่งลดลงจากการขยายตัวที่ 3.4% ในปี 2565 โดยจีน ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจโลก มีการฟื้นตัวอย่างไม่ต่อเนื่อง หลังยกเลิกการบังคับใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ โดยตัวเลขกิจกรรมภาคการผลิตจีนที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ (31 พ.ค.) นั้นอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI ) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.ของจีน […]
อ่านเพิ่มเติม »
นักวิเคราะห์คาดบิตคอยน์อาจพลิกโฉมระบบการเงินของทวีปแอฟริกา : อินโฟเควสท์นายแจ็ก ดอร์ซี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบล็อก (Block) และคณะเข้าร่วมการประชุมบิตคอยน์แอฟริกา (Africa Bitcoin Conference) ในกรุงอักกรา เมืองหลวงของประเทศกานาในเดือนธ.ค. เพื่อเสวนาเกี่ยวกับบิตคอยน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สามารถสั่นคลอน หรืออาจจะพลิกโฉมระบบการเงินดั้งเดิมของทวีปแอฟริกามากที่สุด โดยขณะนี้ระบบการเงินของทวีปแอฟริกามีมูลค่าสูงถึง 8.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ระบบการเงินแบบคู่ขนานระหว่างคริปโทเคอร์เรนซีและระบบการเงินดั้งเดิมนั้น มีศักยภาพในการหยิบยื่นทางเลือกให้กับผู้คนที่ต้องการออกจากระบบการเงินแบบเดิม ๆ โดยในกลุ่มประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีธนาคารนั้น สกุลเงินท้องถิ่นไม่ใช่ที่กักเก็บมูลค่าที่ปลอดภัยอีกต่อไป การส่งเงินกลับประเทศคิดเป็นสัดส่วนสำคัญของ GDP และการคว่ำบาตรจากต่างชาติสร้างความยุ่งยากในการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก ขณะที่เงินคริปโทฯที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการอนุมัติการทำธุรกรรม สามารถเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่คริปโทฯโดดเด่นขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งยังกลายเป็นวาระสำคัญสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบ โดยนายดอร์ซีและผู้ช่วยให้ความเห็นว่า บิตคอยน์มอบอำนาจทางการเงินให้กับกลุ่มคนที่ไม่เคยมี “ผมคิดว่าไม่สำคัญเลยว่าราคาบิตคอยน์จะขึ้นหรือลง เพราะผมยังคงสามารถใช้บิตคอยน์เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนย้ายเงินไปทั่วโลกได้ในเวลาเพียงชั่วพริบตา” นายไมค์ บร็อก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัททีบีดี (TBD) ธุรกิจในเครือบล็อก กล่าว โดยทีบีดีนั้นเป็นธุรกิจด้านคริปโทฯและการเงินแบบกระจายศูนย์ “ผมสามารถแปลงเงินดอลลาร์เป็นบิตคอยน์ จากนั้นแปลงบิตคอยน์เป็นเงินเรียลของบราซิล ทุกวันนี้บิตคอยน์มีตลาดอยู่ทั่วทุกมุมโลก” สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า เครือข่ายไลต์นิง (Lightning Network) ของบิตคอยน์ได้หั่นต้นทุนการทำธุรกรรมจนแทบจะเหลือศูนย์ และทำให้ผู้คนสามารถชำระเงินทั่วโลกได้ในเวลาเพียงชั่วพริบตา ทำให้บิตคอยน์เป็นเครื่องมือการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเครือข่ายไลต์นิงเป็นโปรโตคอลการชำระเงินในระดับเลเยอร์ 2 ถูกออกแบบมาใช้วางบนเลเยอร์ของบล็อกเชนสำหรับการชำระเงินคริปโทฯ โดย […]
อ่านเพิ่มเติม »
ความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจอาจทำให้ Bitcoin มีบทบาทในระบบการค้าของโลกในไม่ช้าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงได้สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจโลก เป็นผลทำให้ประเทศต่าง ๆ อาจยอมรับ Bitcoin ในไม่ช้า
อ่านเพิ่มเติม »