ชาวจีนแห่เที่ยวต่างประเทศคึกคัก คาดเป็นปัจจัยหลักกระตุ้นเศรษฐกิจโลก : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

ชาวจีนแห่เที่ยวต่างประเทศคึกคัก คาดเป็นปัจจัยหลักกระตุ้นเศรษฐกิจโลก : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 57 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 26%
  • Publisher: 68%

ชาวจีนแห่เที่ยวต่างประเทศคึกคัก คาดเป็นปัจจัยหลักกระตุ้นเศรษฐกิจโลก กระตุ้นเศรษฐกิจ การค้าโลก จีน เศรษฐกิจ อินโฟเควสท์

เฟรเดอริก นอยมานน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ กล่าวว่า การเปิดประเทศของจีนจะเป็นแรงกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยจีนซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสองของโลกนั้น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของยอดการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนและการลงทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพยุงการค้าโลก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อุปสงค์ในกลุ่มชาติตะวันตกเผชิญกับความไม่แน่นอน

แรงกระตุ้นในการเติบโตดังกล่าวจะเห็นได้ในภาคการบริการ เช่น การบิน การท่องเที่ยว และการศึกษา เนื่องจากประชาชนชาวจีนแพคกระเป๋าเดินทางออกนอกประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดโรคโควิด-19 โดยประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พึ่งพาการท่องเที่ยวนั้น มีแนวโน้มว่าจะเป็นกลุ่มแรกที่ชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยว ขณะเดียวกันกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะได้ประโยชน์จากการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีนด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จีนคาดว่าจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศในช่วงสิ้นเดือนมี.ค.นี้ จะดีดตัวขึ้แตะระดับ 15 – 25% ของช่วงก่อนที่โรคโควิด-19 จะแพร่ระบาด ทีมนักวิเคราะห์ของบาร์เคลย์สซึ่งรวมถึงเจียน ชาง คาดการณ์ว่า การท่องเที่ยวขาออกจากจีนจะเพิ่มสูงขึ้น โดยบาร์เคลย์สระบุข้อมูลจากซีทริป อินเตอร์แนชั่นแนล ว่า ชาวจีนมีการจองตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางไปต่างประเทศในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้พุ่งขึ้น 260% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย รวมอยู่ในกลุ่มประเทศที่จะได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวของชาวจีน

ขณะเดียวกันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะเป็นปัจจัยหนุนความต้องการสินค้านำเข้าจากต่างประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น โดยเอสแอนด์พี โกลบอล คาดการณ์ว่ายอดค้าปลีกของจีนจะเติบโตขึ้น 5.8% ในปี 2566

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

บล.กสิกรฯ คาดดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์หน้า 1,650-1,710 ลุ้นผลประกอบการกลุ่มแบงก์ : อินโฟเควสท์บล.กสิกรฯ คาดดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์หน้า 1,650-1,710 ลุ้นผลประกอบการกลุ่มแบงก์ : อินโฟเควสท์บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยสำหรับสัปดาห์ถัดไป (16-20 ม.ค.66) มีแนวรับที่ 1,670 และ 1,650 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,700 และ 1,710 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การทยอยประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส 4/65 ของบจ.ไทย โดยเฉพาะกลุ่มแบงก์ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิดในจีน ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค. ตลอดจนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม BOJ ดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. ของญี่ปุ่น ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. ของยูโรโซน รวมถึงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/65 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนธ.ค. ของจีน อาทิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยย่อตัวลง หลังดีดตัวขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ตามตลาดหุ้นต่างประเทศ จากความคาดหวังว่าเฟดจะชะลอขนาดการปรับขึ้นดอกเบี้ย ประกอบกับมีแรงหนุนจากแรงซื้อต่อเนื่องของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ […]
อ่านเพิ่มเติม »

KBANK คาดบาทสัปดาห์หน้า 32.70-33.70 จับตาประชุม BOJ, flow ต่างชาติ : อินโฟเควสท์KBANK คาดบาทสัปดาห์หน้า 32.70-33.70 จับตาประชุม BOJ, flow ต่างชาติ : อินโฟเควสท์ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสัปดาห์ถัดไป (16-20 ม.ค.) ที่ระดับ 32.70-33.70 บาท/ดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ), การประกาศอัตราดอกเบี้ย LPR ของจีน, ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเอเชีย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิต ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดนิวยอร์ก และผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดฟิลาเดลเฟียเดือนม.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และ Beige Book ของเฟด นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามจีดีพีไตรมาส 4/65 และตัวเลขเศรษฐกิจเดือนธ.ค. ของจีน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน และอังกฤษเดือนธ.ค. ด้วยเช่นกัน โดยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-13 ม.ค.) เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง ทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 10 เดือนที่ 32.95 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนจากกระแสเงินทุนไหลเข้าของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งในส่วนของตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรไทยในระหว่างสัปดาห์ ประกอบกับภาพรวมของสกุลเงินเอเชียขยับแข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่องตามทิศทางค่าเงินหยวน ซึ่งยังคงได้รับอานิสงส์จากความหวังเรื่องการทยอยเปิดประเทศของจีน […]
อ่านเพิ่มเติม »

หุ้นยุโรปปิดบวกสูงสุดในรอบ 9 เดือน หุ้นแบงก์-เฮลท์แคร์หนุนตลาด : อินโฟเควสท์หุ้นยุโรปปิดบวกสูงสุดในรอบ 9 เดือน หุ้นแบงก์-เฮลท์แคร์หนุนตลาด : อินโฟเควสท์ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันศุกร์ (13 ม.ค.) ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเฮลท์แคร์และกลุ่มธนาคาร รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสจากอังกฤษ ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 452.54 จุด เพิ่มขึ้น 2.32 จุด หรือ +0.52% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 7,023.50 จุด เพิ่มขึ้น 47.82 จุด หรือ +0.69%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,086.52 จุด เพิ่มขึ้น 28.22 จุด หรือ +0.19% และ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,844.07 จุด เพิ่มขึ้น 50.03 จุด หรือ +0.64% ดัชนี STOXX 600 […]
อ่านเพิ่มเติม »

ดอลล์อ่อนค่า หลังเงินเฟ้อลด-คาดเฟดชะลอขึ้นดบ. : อินโฟเควสท์ดอลล์อ่อนค่า หลังเงินเฟ้อลด-คาดเฟดชะลอขึ้นดบ. : อินโฟเควสท์ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (13 ม.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อชะลอตัวลงในเดือนธ.ค. ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.08% แตะที่ระดับ 102.2110 ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 127.93 เยน จากระดับ 129.34 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9270 ฟรังก์ จากระดับ 0.9289 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดนที่ระดับ 10.3850 โครนา จากระดับ 10.4131 โครนา แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.3390 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3359 ดอลลาร์แคนาดา ส่วนสกุลเงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0828 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0851 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าสู่ระดับ 1.2228 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2218 ดอลลาร์ ดอลลาร์สหรัฐยังคงถูกกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย […]
อ่านเพิ่มเติม »

ทองคำนิวยอร์กปิดพุ่ง $22.9 รับอานิสงส์ดอลล์อ่อน-คาดเฟดชะลอขึ้นดบ. : อินโฟเควสท์ทองคำนิวยอร์กปิดพุ่ง $22.9 รับอานิสงส์ดอลล์อ่อน-คาดเฟดชะลอขึ้นดบ. : อินโฟเควสท์สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 8 เดือนในวันศุกร์ (13 ม.ค.) และปิดเหนือระดับ 1,900 ดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว โดยได้แรงหนุนจากการที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังการเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐชะลอตัวลง และคาดว่าจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 22.9 ดอลลาร์ หรือ 1.21% ปิดที่ระดับ 1,921.7 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยเป็นการปิดตลาดเหนือระดับ 1,900 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย. และปิดตลาดสัปดาห์นี้บวก 2.8% สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 36.8 เซนต์ หรือ 1.53% ปิดที่ 24.372 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 11.8 ดอลลาร์ หรือ 1.09% ปิดที่ 1,072.5 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 3.60 ดอลลาร์ หรือ 0.2% […]
อ่านเพิ่มเติม »

แอป 'สปอติฟาย' ล่ม คอเพลงหลายพันคนไม่สามารถเข้าใช้งานได้ : อินโฟเควสท์แอป 'สปอติฟาย' ล่ม คอเพลงหลายพันคนไม่สามารถเข้าใช้งานได้ : อินโฟเควสท์เว็บไซต์ดาวน์ดีเทกเตอร์.คอม (Downdetector.com) ซึ่งตรวจสอบการทำงานของระบบออนไลน์ต่าง ๆ เปิดเผยว่า สปอติฟาย (Spotify) ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมมิ่งเพลงดิจิทัลประสบปัญหาใช้งานไม่ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานหลายพันคนเมื่อวันศุกร์ (13 ม.ค.) ดาวน์ดีเทกเตอร์ระบุด้วยว่า ผู้ใช้งานสปอติฟายในสหรัฐมากกว่า 38,000 คนประสบปัญหาไม่สามารถใช้งานแอปฯ ดังกล่าวได้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สปอติฟาย สเตตัส (Spotify Status) ซึ่งเป็นบัญชีทวิตเตอร์ที่อัปเดตเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันของแอปฯ สปอติฟายนั้นระบุว่า “มีบางสิ่งบางอย่างผิดพลาด และเรากำลังทำการตรวจสอบ ขอบคุณสำหรับรายงานของคุณ!” โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 ม.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-03-31 14:50:12