จี้รัฐออกมาตรการหนุนธุรกิจก้าวสู่ Net Zero Emission ฐานเศรษฐกิจ
เปิดเผยว่า แรงกดดันทั้งจากคู่ค้าในยุโรปและแรงกดดันจากภายในส่งผลให้ ผู้ผลิตในเมืองไทยที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินมาตรฐานต้องเสียภาษีนั้น
ทำให้ผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องใช้ทั้ง 2เครื่องมือ คือ คาร์บอนเครดิต หรือใบรับรองพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดคาร์บอนทำให้มีความต้องการมากขึ้นในฝั่งดีมานด์ ขณะเดียวกันตลาดฝั่งซัพพลายหรือฝั่งผู้ขาย ไม่ว่าคาร์บอนเครดิตหรือใบรับรองมีความคึกคักเช่นกัน โดยเฉพาะการมีตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต และใบรับรองพลังงานหมุนเวียนเป็นเครื่องมือช่วยให้ประเทศและภาคธุรกิจมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาด
“ ความตื่นตัวของบริษัทชั้นนำของโลกที่ตั้งเป้าหมาย Net zero emission รวมถึงเป้าหมายการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100% เห็นได้จากบริษัทที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2562 ที่มีเพียง 261 ราย ขยับสูงเป็น 378 รายในปัจจุบัน หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 13% โดยพบว่าเป็นบริษัทข้ามชาติที่ดำเนินธุรกิจในไทยไม่ต่ำกว่า 50 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีความต้องการ REC ในไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย”กล่าวว่า ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตของโลกจะเติบโตสูงถึง 15 เท่าตัวในช่วง 10 ปีข้างหน้า และ 100 เท่าตัวเมื่อมองไปถึงปี 2593...
ส่วนผู้ขายจะเป็นองค์กรอื่นที่ดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามมาตรฐาน เช่น Verified Carbon Standard และ Gold Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก หรือมาตรฐานของประเทศไทย ทั้งนี้ ราคาคาร์บอนเครดิตในแต่ละตลาดหรือแต่ละมาตรฐานจะมีความแตกต่างกันปัจจุบันราคาคาร์บอนเครดิตโลกอยู่ที่ประมาณ 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันคาร์บอนฯ ขณะที่ราคาคาร์บอนเครดิตไทยเฉลี่ยล่าสุดปี 2565 อยู่ที่ 107 บาท หรือประมาณ 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันคาร์บอนฯกล่าวว่า ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่า การซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียน...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
KTB ชี้ซื้อขายคาร์บอนเครดิต-ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน ช่วยธุรกิจตอบโจทย์ Net Zero : อินโฟเควสท์นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย (KTB) เปิดเผยว่า การมีตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต และใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ประเทศและภาคธุรกิจ มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) และเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาด ขณะเดียวกัน เป็นแต้มต่อในการดึงดูดลูกค้าและนักลงทุนที่ให้ความสำคัญด้าน ESG ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้พัฒนาโครงการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขายคาร์บอนเครดิต และผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากการขาย REC และยังเป็นโอกาสทางธุรกิจ สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางและพัฒนานวัตกรรมในการซื้อขาย “หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องส่งเสริมเครื่องมือเหล่านี้ คือ ความตื่นตัวของบริษัทชั้นนำของโลกที่ตั้งเป้าหมาย Net zero emission รวมถึงเป้าหมายการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100% (RE100) ดังจะเห็นได้จากมีบริษัทที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม RE100 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2562 ที่มีเพียง 261 ราย ขยับสูงเป็น 378 รายในปัจจุบัน หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 13% โดยพบว่าเป็นบริษัทข้ามชาติที่ดำเนินธุรกิจในไทยไม่ต่ำกว่า 50 บริษัท …
อ่านเพิ่มเติม »
ราคาน้ำมันดิบดีดพุ่งขึ้น หลังร่วงเกือบ 6% จากประเมินดีมานด์ทั่วโลก-และจีนเดินหน้านโยบาย Covid Zeroสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ว่า ราคาน้ำมันดิบขยับสูงขึ้นหลังจากร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน โดยนักลงทุนประเมินดีมานด์ทั่วโลก ขณะที่จีนเดินหน้านโยบาย Covid Zero และธนาคารกลางเข้มงวดนโยบายการเงินเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ
อ่านเพิ่มเติม »
ราคาน้ำมันดิบร่วงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน WTI ต่ำกว่า 86 ดอลล์สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ว่า น้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 จากความกังวลว่าการชะลอตัวทั่วโลกจะทำให้ดีมานด์ในยุโรปและสหรัฐลดลง เช่นเดียวกับกลยุทธ์ Covid Zero ของจีนส่งผลกระทบต่อการบริโภคในผู้นำเข้าน้ำมันดิบ
อ่านเพิ่มเติม »
เที่ยวบินเข้า-ออกจีนดิ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เซ่นนโยบายโควิดเป็นศูนย์ : อินโฟเควสท์ข้อมูลจาก VariFlight ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านข้อมูลเที่ยวบินระบุว่า การที่จีนเดินหน้าใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-Covid Policy) ทำให้จีนต้องแยกตัวจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกเกือบ 100% เมื่อพิจารณาจากเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกจากจีนที่ลดลงสู่ระดับต่ำกว่าเมื่อครั้งที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรกในเมืองอู่ฮั่นเมื่อช่วงต้นปี 2563 ทั้งนี้ VariFlight ระบุว่า ในขณะที่การเดินทางทางอากาศทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้นนั้น การเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศของจีนกลับกระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยพบว่าขณะนี้มีการให้บริการเที่ยวบินเพียง 100 เที่ยวต่อวัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ให้บริการเที่ยวบินมากกว่า 2,600 เที่ยวบินต่อวัน นอกจากนี้ จำนวนเที่ยวบินตามตารางบินยังลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากเมืองเซี่ยงไฮ้กำหนดมาตรการล็อกดาวน์ที่กินเวลานานหลายสัปดาห์ในเดือนเม.ย. การที่ประชาชนประสบกับความยากลำบากในการเดินทางทั้งขาเข้าและขาออกจากจีนนั้น ทำให้บรรดานักธุรกิจหันไปใช้บริการเครื่องบินเช่าเหมาลำของภาคเอกชน โดยหอการค้าอเมริกันในเมืองเซี่ยงไฮ้จะเปิดให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำจากนครลอสแอนเจลิสของสหรัฐไปยังเมืองหังโจวในเดือนนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกหอการค้าที่ยังคงติดค้างอยู่นอกประเทศจีน สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างข้อมูลของนิตยสารไฉซินว่า การที่รัฐบาลจีนจำเป็นต้องเร่งควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้ได้ก่อนที่การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะเปิดฉากขึ้นในเดือนต.ค.นั้น ทำให้เมืองต่าง ๆ กว่า 30 เมืองของจีนต้องถูกล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบหรือล็อกดาวน์บางส่วน โดยเมืองเฉิงตูซึ่งมีประชากร 21 ล้านคน ประกาศขยายเวลาการล็อกดาวน์จนถึงวันพุธที่ 7 ก.ย. ขณะที่เมืองกุ้ยหยางซึ่งมีประชากร 6.1 ล้านคน สั่งล็อกดาวน์ชุมชนใน 6 เขตจากทั้งหมด 10 เขตเพื่อสกัดการระบาดของโควิด-19 …
อ่านเพิ่มเติม »