การลงจอดยานอวกาศบนขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์โดยหน่วยงานด้านอวกาศของอินเดียกำลังเข้าใกล้ความสำเร็จไปอีกขั้น ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจที่มีผลกระทบต่อสถานะของอินเดียในฐานะมหาอำนาจด้านอวกาศและการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต
ยาน Chandrayaan-3 ของอินเดีย ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม จากศูนย์อวกาศ Satish Dhawan บริเวณชายฝั่งทิศตะวันออก ในรัฐอานธรประเทศทางตอนใต้ของอินเดีย
หากสามารถลงจอดบริเวณขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จ คาดว่ายาน Chandrayaan-3 จะสามารถทำงานได้ต่ออีกราว 2 สัปดาห์ ซึ่งจะดำเนินการทดลองต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์สเปกโตรมิเตอร์ขององค์ประกอบแร่ของพื้นผิวดวงจันทร์ ทั้งนี้ ยาน Chandrayaan-3 มีความสูงประมาณ 2 เมตร และมีน้ำหนัก 1,700 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับรถ SUV 1 คัน ในปี 2019 อินเดียเคยส่งยานอวกาศ Chandrayaan-2 เพื่อสำรวจดวงจันทร์มาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จระหว่างการลงจอดบนดวงจันทร์
ขณะที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกของรัสเซียในรอบ 47 ปี ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน จากการที่ยานอวกาศ Luna-25 พุ่งชนเข้ากับพื้นผิวของดวงจันทร์หากภารกิจนี้ประสบความสำเร็จ อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่ 4 ที่สามารถนำยานลงจอดบนดวงจันทร์ได้ รองจากสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ และจีน ซึ่งนับเป็นการก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจด้านอวกาศ
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ยานลงจอดภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของอินเดียเตรียมลงจอด 23 ส.ค.นี้ : อินโฟเควสท์เอส โสมานาถ ประธานองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย ประกาศว่า ยานลงจอดวิกรม (Vikram) ของยานอวกาศภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งที่ 3 ที่มีชื่อว่าจันทรายาน-3 (Chandrayaan-3) ของอินเดีย จะทำการลงจอดอย่างนุ่มนวลบนพื้นผิวดวงจันทร์ในวันที่ 23 ส.ค. นี้ แม้เครื่องยนต์ 2 เครื่องและตัวเซนเซอร์ทั้งหมดจะหยุดทำงานก็ตาม โสมานาถเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเมื่อวันอังคาร (8 ส.ค.) ขณะกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง “จันทรายาน-3: ภารกิจอวกาศแห่งความภาคภูมิของภารตะ” (Chandrayaan-3: Bharat’s Pride Space Mission) ซึ่งจัดโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในเบงกาลูรู พร้อมเสริมว่าการออกแบบยานลงจอดมีขึ้นเพื่อรับรองว่าตัวยานจะสามารถรับมือข้อผิดพลาดได้ โสมานาถระบุว่าหากทุกอย่างล้มเหลว หากเซนเซอร์ทั้งหมดหยุดทำงาน หรือไม่มีอะไรทำงานเลยก็ตาม ยานวิกรมจะยังคงทำการลงจอด มันถูกออกแบบมาให้เป็นอย่างนั้น โดยมีเงื่อนไขว่าระบบขับเคลื่อนทำงานได้ดี สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ยานอวกาศจันทรายาน-3 ถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา และเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์เมื่อวันอาทิตย์ (6 ส.ค.) โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 ส.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
อินเดียส่ง “จันทรายาน-3” พิสูจน์เงามืดบนดวงจันทร์อินเดีย ยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะถีบตัวเองขึ้นไปเป็นประเทศมหาอำนาจด้านอวกาศให้ได้ แม้จะไม่ประสบความสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน กับภารกิจส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ในโครงการก่อนหน้าน
อ่านเพิ่มเติม »
อินเดียเผยภาพผิวดวงจันทร์ครั้งแรกจาก ‘จันทรายาน-3’ ลุ้นหนัก ลงจอดฉลุยอินเดียเผยภาพถ่ายผิวดวงจันทร์ครั้งแรกจาก ‘จันทรายาน-3’ หลังเข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์เมื่อ 2 วันก่อน อินเดียลุ้นหนัก จันทรายาน-3 จะสามารถลงจอดบนขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จ
อ่านเพิ่มเติม »
อินเดียเฮ! ประสบความสำเร็จปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์ รอลุ้นอีกทีวันลงจอดอินเดียประสบความสำเร็จส่ง 'จันทรายาน-3' พุ่งทะยานขึ้นจากฐานปล่อย เป้าหมายคือบริเวณขั้วด้านใต้ของดวงจันทร์ คาดว่าจะเดินทางไปถึงและเตรียมลงจอดในวันที่ 23-24 ส.ค. หากทำสำเร็จ อินเดียจะเป็นชาติที่ 4 ของโลก ที่สามารถส่งยานไปลงจอดบนดวงจันทร์ ไทยรัฐออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม »
อินเดียพร้อมปล่อย ‘จันทรายาน’ สู่ขั้วใต้ดวงจันทร์สำนักงานอวกาศอินเดียเตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย ก่อนปล่อยยิงจรวดจันทรายาน นำยานสำรวจลงไปจอดที่ขั้วใต้ดวงจันทร์เป็นครั้งแรกของการสำรวจอวกาศ กรุงเทพธุรกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
องค์การอวกาศอินเดีย ระบุ จันทรายาน-2 ขาดการติดต่อขณะร่อนลงดวงจันทร์ - bectero.tvFacebookTwitterLineภารกิจยานสำรวจของอินเดียที่เดินทางไปดวงจันทร์ เมื่อวานนี้ องค์การอวกาศของอินเดีย ระบุว่า Chandrayaan-2 ขาดการติดต่อกับศูนย์ควบคุม ‘Indian Space Research Organisation’ หรือ ISRO ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลโครงการอวกาศของอินเดีย แถลงว่า ขาดการติดต่อกับ จันทรายาน-2 (Charandrayaan-2) เมื่อวานนี้ ขณะที่ยานกำลังร่อนลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ในช่วงเช้ามืดของวันเสาร์ โดยสัญญาณหายไป ขณะที่ยานเข้าใกล้พื้นผิวดวงจันทร์ประมาณ 2.1 กิโลเมตร เดิมที โครงการอวกาศอินเดีย มีแผนจะส่งยานไร้คนขับ ไปสำรวจขั้วใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เกิดข้อผิดพลาดขึ้นตรงไหน และนาย K Sivan ประธาน ISRO กล่าวว่า “ขณะนี้ กำลังวิเคราะห์ข้อมูลอยู่” ในขณะที่เมื่อวานนี้ บรรยากาศในศูนย์ควบคุมภารกิจ Charandrayaan-2 ที่เมือง Bangalore ทางใต้ของอินเดีย เต็มไปด้วยความผิดหวัง ด้านนายกรัฐมนตรีของอินเดีย เดินทางไปดูภาระกิจร่อนลงจอดด้วยตัวเอง กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “เรามันใจว่า หากพูดถึงโครงการอวกาศของอินเดียแล้ว ยังมีความสำเร็จรออยู่อีกแน่นอน” นอกจากนี้ ก็กล่าวให้กำลังใจนักวิทยาศาสตร์ของ ISRO ว่า “ชาวอินเดียทุกคนเป็นกำลังใจให้ …
อ่านเพิ่มเติม »