ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ ที่ระดับ 35.95 บาทต่อดอลลาร์ ฐานเศรษฐกิจ
▪ ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ในเดือนพฤศจิกายน โดยตลาดคาดว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตจะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 49.
ตลาดประเมินว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยรวมอาจชะลอลง สะท้อนผ่านยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ในเดือนพฤศจิกายนที่จะเพิ่มขึ้น 2 แสนตำแหน่ง ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่มีการจ้างงาน +2.6 แสนตำแหน่งนอกจากนี้ ค่าจ้าง อาจโตชะลอลงเหลือ +0.3%m/m หรือ +4.6%y/y ซึ่งอาจช่วยลดแรงกดดันต่อสถานการณ์เงินเฟ้อหรือลดความเสี่ยงของ Wage-Price Spiral ที่เฟดกังวล
ทั้งนี้ อีกไฮไลท์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด Jerome Powell หลังเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่ได้ส่งสัญญาณสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด ในอัตราการขึ้นดอกเบี้ยที่ชะลอลงจากช่วงก่อนหน้าดังนั้น ตลาดจะรอลุ้นว่า ประธานเฟดจะมีมุมมองอย่างไร โดยต้องระวังหากประธานเฟดส่งสัญญาณย้ำว่า เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกมาก เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ ตลาดก็อาจกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ได้ไม่ยาก– ตลาดประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เงินบาทปิด 35.82 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบสัปดาห์หน้า 35.25-36.25 บาท จับตาตัวเลขส่งออกไทย-ประชุม กนง.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวในกรอบที่ผันผวน ระหว่างวันที่ 21-25 พ.ย.65 โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ แม้ว่าจีดีพีไตรมาส 3/65 ของไทย จะออกมาดีกว่าที่คาด ตามทิศทางราคาทองคำในตลาดโลกและการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเอเชีย นำโดย เงินหยวน ซึ่งเจอแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและมาตรการสกัดการระบาดของโควิดในจีน นอกจากนี้ แรงขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติก็เป็นปัจจัยลบของค่าเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกแข็งค่าผ่านแนว 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้อีกครั้ง เนื่องจากบันทึกการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟดเมื่อวันที่ 1-2 พ.ย.65 ตอกย้ำโอกาสที่เฟดจะช
อ่านเพิ่มเติม »
KBANK ให้กรอบบาทสัปดาห์หน้า 35.25-36.25 จับตาตัวเลขส่งออกไทย-ประชุมกนง. : อินโฟเควสท์ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์ถัดไป (28 พ.ย.-2 ธ.ค.) ที่ระดับ 35.25-36.25 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดวันศุกร์ที่ 25 พ.ย.ที่ระดับ 35.82 บาท/ดอลลาร์ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบที่ผันผวน โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ (แม้ว่าจีดีพีไตรมาส 3/65 ของไทยจะออกมาดีกว่าที่คาด) ตามทิศทางราคาทองคำในตลาดโลกและการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเอเชีย นำโดย เงินหยวน ซึ่งเผชิญแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและมาตรการสกัดการระบาดของโควิดในจีน นอกจากนี้ แรงขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติก็เป็นปัจจัยลบของค่าเงินบาทด้วยเช่นกัน โดยสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 21-25 พ.ย. 2565 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 5,388 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตร 11,666 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิพันธบัตร 8,775 ล้านบาท ขณะที่มีตราสารหนี้ที่หมดอายุ 2,891 ล้านบาท อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกแข็งค่าผ่านแนว 36.00 บาท/ดอลลาร์ ได้อีกครั้ง เนื่องจากบันทึกการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันที่ 1-2 …
อ่านเพิ่มเติม »
ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ ที่ระดับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์เงินบาทอาจถูกชะลอการแข็งค่าลงบ้าง จากแรงขายทำกำไร 'หุ้น-การลงทุนในบอนด์ไทย'ของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะบอนด์ระยะสั้นและผู้นำเข้าอาจเริ่มทยอยซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงปลายเดือน
อ่านเพิ่มเติม »
ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ 'แข็งหลุด 36' หลังรายงานเฟดหนุนชะลอขึ้นดอกเบี้ยค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.9860 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.27 บาทต่อดอลลาร์ กรอบวันนี้ที่ 35.85-36.15 บาท/ดอลลาร์ . อ่านเพิ่มเติม : ค่าเงินบาท ดอลลาร์สหรัฐ เฟด เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยเฟด PPTVHD36
อ่านเพิ่มเติม »
ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ ที่ระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ ที่ระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ เงินบาทยังมีปัจจัยหนุน-ชะลอ การแข็งค่าทั้งภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด -การทยอยขายทองคำทำกำไรเมื่อราคาทองปรับขึ้น แต่ผู้นำเข้าเริ่มซื้อเงินดอลลาร์ ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ ที่ระดับ 36.29 บาทต่อดอลลาร์เงินบาทผันผวนสูงแนะนำ ผู้ประกอบการควรใช้Options ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวนหนัก
อ่านเพิ่มเติม »