ความอยู่รอดของเกาหลีเหนือ 'เพื่อประชาชน' หรือ 'แค่คนชั้นนำ'? | เดลินิวส์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

ความอยู่รอดของเกาหลีเหนือ 'เพื่อประชาชน' หรือ 'แค่คนชั้นนำ'? | เดลินิวส์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 DailynewsTwit
  • ⏱ Reading Time:
  • 60 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 27%
  • Publisher: 51%

สถานการณ์ด้านอาหารของ เกาหลีเหนือ ยังคงอยู่ในขั้นวิกฤติ อย่างไรก็ตาม ท่านผู้นำของประเทศเดินหน้าโครงการพัฒนาอาวุธ โดยให้เหตุผล 'เพื่อป้องกันตัวเอง และเพื่อความอยู่รอด' คิมจองอึน เดลินิวส์

เกาหลีหนือส่งจรวด “ช็อลลิมา-1” ซึ่งเป็นจรวดที่ได้รับการพัฒนารุ่นล่าสุด เป็นพาหนะนำส่งดาวเทียมสอดแนมทางทหาร “มัลลิกย็อง-1” ออกจากฐานปล่อยดาวเทียมโซแฮ ที่เป็นศูนย์ปฏิบัติงานด้านอวกาศแห่งสำคัญของเกาหลีเหนือ ตั้งอยู่ในเขตโชลซาน ของจังหวัดพย็องอันเหนือ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา

แม้ความพยายามดังกล่าวประสบกับความล้มเหลว แต่การที่ น.ส.คิม โย-จอง น้องสาวของนายคิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ ประกาศว่า จะพยายามส่งจรวดปล่อยดาวเทียมอีกครั้ง “ภายในอนาคตอันใกล้นี้” ยิ่งบ่งชี้ชัดมากขึ้นไปอีกว่า สำหรับเกาหลีเหนือ “ความอยู่รอดของรัฐ” ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ความมั่นคงทางทหาร” ไม่ใช่การดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ

ยิ่งไปกว่านั้น การแจกจ่ายหรือการปันส่วนอาหารเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมากในเกาหลีเหนือ ทั้งที่มาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญเกาหลีเหนือระบุว่า พลเมืองทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมจากรัฐ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากรัฐบาลเปียงยางมีบรรทัดฐานทางสังคม ที่เรียกว่า “ซองบุน” และการเน้นเฉพาะ “กลุ่มหลัก” ซึ่งถือเป็นชนชั้นสูง ที่แน่นอนว่า คือ ตระกูลคิม และทหารระดับสูง ซึ่งเกาหลีเหนือถือว่า “เป็นกำลังหลักของประเทศ”...

จนถึงปัจจุบัน เคไอเอ็นยูประเมินว่า เกาหลีเหนือลงทุนด้านการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์และอาวุธยุทโธปกรณ์ไปแล้ว 1,000-1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ “เป็นอย่างน้อย” หากนำงบประมาณเหล่านี้ไปใช้เพื่อการจัดซื้อจัดหาอาหารให้แก่ประชาชน จะเพียงพอแก่ความต้องการบริโภคของชาวเกาหลีเหนือทั้งประเทศได้นาน 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี โดยไม่จำเป็นต้องมีการปันส่วนตามชนชั้นทางสังคม

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

DailynewsTwit /  🏆 63. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

“เคารพต้นฉบับ” หรือ “รักษาตัวตนและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์” | เดลินิวส์“เคารพต้นฉบับ” หรือ “รักษาตัวตนและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์” | เดลินิวส์คันปากอยากเมาท์ : “เคารพต้นฉบับ” หรือ “รักษาตัวตนและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์” คันปากอยากเมาท์ LittleMermaid ariel เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »

เสพสมบ่มิสม : ผู้หญิง...เบื่อหน่ายเรื่องเพศ | เดลินิวส์เสพสมบ่มิสม : ผู้หญิง...เบื่อหน่ายเรื่องเพศ | เดลินิวส์ชายที่ถูกหญิงผลักไสไล่ส่ง บอกบ่อย ๆ ว่าจะไปไหนก็ไปรำคาญ อย่ามาใกล้ชิดเหนื่อยนะ ยิ่งถูกบ่นว่าทำอย่างอื่นไม่เป็นหรือ ทำไมถูกตัวหน่อยก็จะชวนมีเพศสัมพันธ์เรื่อย ๆ น่าเบื่อ ก็จัดได้ว่าชายนั้นมีจุดอ่อน | เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »

พ่อเฒ่าหัวใจแกร่ง ใช้บั้นปลายชีวิตต่อยอด สืบสานต้นกล้ามวยไทย | เดลินิวส์พ่อเฒ่าหัวใจแกร่ง ใช้บั้นปลายชีวิตต่อยอด สืบสานต้นกล้ามวยไทย | เดลินิวส์ทหารเกษียณผู้รักมวยไทย ถ่ายทอดความรู้ให้เด็กเยาวชนฟรี เป็นวิทยาทาน หวังบั้นปลายชีวิต ช่วยให้เยาวชนต้นกล้า ร่วมสืบสานอนุรักษ์ศิลปะแม่ไม้มวยไทย | เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »

‘วิถีผิงตง’ โยงการศึกษาผสานท่องเที่ยว ‘เปิดโลกการเรียนรู้เด็กไทย’ ดินแดนสมญา ‘ไข่มุกงามแห่งไต้หวัน’ | เดลินิวส์‘วิถีผิงตง’ โยงการศึกษาผสานท่องเที่ยว ‘เปิดโลกการเรียนรู้เด็กไทย’ ดินแดนสมญา ‘ไข่มุกงามแห่งไต้หวัน’ | เดลินิวส์'รู้สึกดีใจมากที่ได้มีโอกาสต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากไทย หวังว่าครูและนักเรียนที่ได้มีโอกาสมาทัศนศึกษาที่เมืองผิงตง นอกจากจะได้รับความสนุกเพลิดเพลินแล้ว จะช่วยให้ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ อีกด้วย” เป็นคำกล่าวต้อนรับจากทาง “โจวชุนหมี่” นายกเทศมนตรีหญิงของเมืองผิงตง | เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »

โยนหินถามทางเขย่าขวัญ! | เดลินิวส์โยนหินถามทางเขย่าขวัญ! | เดลินิวส์การโยนหินถามทางเรื่องคดีของว่าที่นายกฯ จนไปถึงการเลือกตั้งซ่อม ต้องเลือกตั้งใหม่ทั้งประเทศ เเบบนี้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจคงพังเละเทะแน่งานนี้!!. | เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »

สังคมโลก : จำฝังใจ | เดลินิวส์สังคมโลก : จำฝังใจ | เดลินิวส์หมุดที่ซ่อนอยู่ในรองเท้า, การถูกจับหัวกดลงในชักโครก และการถูกเตะเข้าที่ท้อง สิ่งเหล่านี้คือความรุนแรงในโรงเรียนที่ น.ส.พโย เย-ริม วัย 26 ปี เคยเผชิญ และตอนนี้ เธอได้พูดระบายออกมาแล้ว HakpokMeToo เกาหลี เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-03-31 17:15:21