สกู๊ปหน้า 1 : ความหวังผู้ป่วยมะเร็ง แพทย์จุฬาฯโชว์ผลวิจัย วัคซีนรักษาเฉพาะคน
สกู๊ปหน้า 1 : มะเร็ง…ถือเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากในแต่ละปี สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ยปีละ 8 หมื่นคน และมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 1.5 แสนคนต่อปี
ศ.นพ.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า โครงการแพทย์จุฬาฯ พัฒนางานวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง เป็นโครงการวิจัยขนาดใหญ่ของจุฬาฯ ซึ่งเกิดจากการผนึกกำลังความร่วมมือจากหลายคณะและสถาบันในจุฬาฯ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานที่ท้าทายเหล่านี้สามารถริเริ่มได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ ภูมิคุ้มกันบำบัดทั้ง 3 วิธีนี้ มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน และสามารถใช้รักษาร่วมกัน และใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
การให้วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล เริ่มต้นด้วยการนำชิ้นเนื้อมะเร็งจากผู้ป่วยมาถอดรหัสพันธุกรรมใช้เวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อตรวจหาการกลายพันธุ์ที่พบในชิ้นเนื้อมะเร็งเท่านั้น ซึ่งไม่พบในเซลล์ปกติของร่างกาย และนำข้อมูลการกลายพันธุ์มาผลิตเป็นชิ้นส่วนของโปรตีนของมะเร็งที่กลายพันธุ์ขนาดเล็ก ที่มีเพียงข้อมูลการกลายพันธุ์แต่ไม่สามารถก่อโรคได้ โดยไม่มีการฉีดเซลล์มะเร็งเข้าในร่างกายแต่อย่างใด