กระทรวงการคลัง เตรียมแผนรองรับงบปี 67 ล่าช้าหลังคาดกระทบจีดีพี 0.05% ให้รัฐวิสาหกิจ-แบงก์รัฐ เร่งเบิกจ่ายดันเม็ดเงินหมุนเวียนลงระบบเศรษฐกิจ
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังคาดว่างบประมาณปี 67 จะมีความล่าช้าประมาน 6 เดือน ซึ่งจะทำให้งบลงทุนหายไปประมาน 6 แสนล้านบาท และจะกระทบต่อจีดีพีประมาณ 0.05% ดังนั้นกระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการเพื่อรองรับและเพื่อให้มีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ช่วงที่พ.ร.บ. งบประมาณปี 67 ยังไม่มีผลบังคับใช้ประมาณ 1 แสนล้านบาทได้แก่
2.เร่งรัดให้สถาบันการเงินของรัฐเร่งใช้เม็ดเงินสำหรับโครงการที่รัฐบาลให้เงินอุดหนุน ซึ่งยังมีวงเงินเหลืออยู่ 7 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยผลักดันเศรษฐกิจในปลายปีนี้และต้นปี 67 ซึ่งสศค. ได้เตรียมการไว้แล้ว นายกฤษฎา เปิดเผยว่า ในช่วงที่ยังไม่มีรัฐบาลระบบของราชการยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยเฉพาะกระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และมาตรการประคับประคองเศรษฐกิจ
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'เอกชน' จับตาโหวตนายกฯ รอบ 2 หวั่นยื้อตั้งรัฐบาลซ้ำเติมเศรษฐกิจภาคเอกชนและนักเศรษฐศาสตร์ จับตาตั้งรัฐบาลใหม่ใกล้ชิดวันต่อวัน หลัง “พิธา” ไม่ผ่านโหวตครั้งแรก กระทบท่องเที่ยว-ชะลอลงทุน ทุบเศรษฐกิจไทยดิ่ง โบรก เกาะติดโหวตรอบใหม่ ม.หอการค้า ห่วงตั้งรัฐบาลช้าฉุดจีดีพีเหลือ 2.5-3.0% ธุรกิจอสังหาฯ หวั่นงบประมาณปี 67 ล่าช้า
อ่านเพิ่มเติม »
คลัง ยันเตรียมเม็ดเงินขับเคลื่อนเศรษฐกิจช่วงรอยต่อหากงบฯปี 67 ล่าช้า : อินโฟเควสท์นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีหากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่คาดว่าจะล่าช้าออกไปราว 6 เดือน เนื่องจากยังไม่มีรัฐบาลใหม่นั้น กระทรวงการคลังมีแผนรองรับไว้พร้อมแล้ว เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น 1.การนำงบประมาณรายจ่ายประจำที่สามารถเบิกจ่ายก่อนได้ จากเดิมที่จะเบิกจ่ายช่วงปลายปีงบประมาณ ให้นำมาใช้ก่อนในช่วงต้นปีงบประมาณทันที เช่น งบอบรม สัมมนา ซึ่งมีอยู่ราว 5-6 หมื่นล้านบาท 2.งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 5 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ จะต้องไปดูว่ามีเท่าใดที่จะสามารถเร่งเบิกจ่ายได้ 3.เป็นโครงการต่างๆ ที่ขับเคลื่อนโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) อีกประมาณ 7 หมื่นล้านบาท นายกฤษฎา เชื่อว่างบจากทั้ง 3 ส่วนนี้ จะสามารถเพียงพอรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงรอยต่อระหว่างที่ยังไม่มีรัฐบาลใหม่ไปพลางก่อนได้ “เรามีมาตรการ front load เตรียมพร้อมแล้ว ส่วนที่จะเข้ามาช่วยทดแทน เป็นงบลงทุนรัฐวิสาหกิจของหลายหน่วยงานทั้งหมด 5 แสนล้านบาท ก็น่าจะเอามา front load ได้ก่อน 5-6 หมื่นล้านบาท และอีกส่วนเป็นโครงการของ SFI อีกราว 7 […]
อ่านเพิ่มเติม »
ไม่มีเกียร์ว่าง! คลังเตรียมเม็ดเงิน 1.2 แสนล้านบาท วาง 3 แผนขับเคลื่อน ศก.ช่วงรอยต่อ หากงบประมาณปี 67 ล่าช้าคลังเตรียมเม็ดเงิน 1.2 แสนล้านบาท วาง 3 แผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจช่วงรอยต่อหากงบประมาณปี 67 ล่าช้า นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่คาดว่าจะล่าช้าออกไปราว 6 เดือน เนื่องจากยังไม่มีรัฐบาลใหม่นั้น กระทรวงการคลังมีแผนรองรับไว้พร้อมแล้ว เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น 1.การนำงบประมาณรายจ่ายประจำที่สามารถเบิกจ่ายก่อนได้ จากเดิมที่จะเบิกจ่ายช่วงปลายปีงบประมาณ ให้นำมาใช้ก่อนในช่วงต้นปีงบประมาณทันทีเช่น งบอบรม สัมมนา ซึ่งมีอยู่ราว 5-6 หมื่นล้านบาท 2.งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 5 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ต้องไปดูว่ามีเท่าใดที่จะสามารถเร่งเบิกจ่าย
อ่านเพิ่มเติม »
ลุ้นสผ.ไฟเขียวอีไอเอ สร้างสะพานสนามบินน้ำ 5 พันล้าน“ทางหลวงชนบท” ชงสผ.เคาะอีไอเอสร้างสะพานสนามบินน้ำ 5 พันล้านบาท คาดเสร็จกลางปี 67 ลุ้นรัฐบาลใหม่ไฟเขียวงบเวนคืนที่ดิน ฟากชาวบ้านยอมถอยดันโครงการฯเดินหน้าต่อ EIA สะพานสนามบินน้ำ เวนคืนที่ดิน
อ่านเพิ่มเติม »
OECD เผยนานาประเทศเห็นพ้องขยายเวลาระงับเก็บภาษีบริการดิจิทัลไปจนถึงปี 67 : อินโฟเควสท์องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยในวันนี้ (12 ก.ค.) ว่า นอกจากแคนาดาแล้ว ประเทศต่าง ๆ ที่มีการเรียกเก็บภาษีบริการดิจิทัล (digital services taxes) ตกลงที่จะระงับการเรียกเก็บภาษีดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อยอีกหนึ่งปี โดยเป็นผลมาจากการที่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงสนธิสัญญาเรื่องภาษีระหว่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้แทนที่ภาษีบริการดิจิทัล สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เดิมทีแล้วกว่า 140 ประเทศควรจะได้เริ่มใช้ข้อตกลงที่ลงนามเมื่อปี 2564 ในปีหน้า ซึ่งมุ่งยกเครื่องกฎหมายเดิมที่ล้าสมัยเกี่ยวกับวิธีการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ เนื่องจากยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลอย่างแอปเปิ้ล หรืออะเมซอน สามารถทำกำไรมหาศาลในประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีต่ำ เนื้อหาส่วนแรกของข้อตกลงภาษีระหว่างประเทศ หรือ เสาหลักแรก (Pillar One) มีเป้าหมายเพื่อจัดสรรสิทธิทางภาษีจากผลกำไรประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์ของบริษัทข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดและทำกำไรมากที่สุดให้กับประเทศที่มีการขายเกิดขึ้น รัฐบาลกว่า 30 ประเทศที่มีหรือวางแผนจัดเก็บภาษีบริการดิจิทัลระดับชาติได้เห็นพ้องที่จะระงับการเก็บภาษีบริการดิจิทัลจนถึงสิ้นปีนี้ หรือยกเลิกทั้งหมดเมื่อเนื้อหาส่วนแรกของข้อตกลงภาษีระหว่างประเทศเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ส่วนเนื้อหาส่วนที่สองของข้อตกลงภาษีระหว่างประเทศ หรือเสาที่สอง (Pillar Two) นั้นเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการแข่งขันด้านภาษีระหว่างรัฐบาลเพื่อดึงดูดการลงทุน โดยกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำอยู่ที่ 15% ตั้งแต่ปีหน้า หลักจากการหารือในกรุงปารีส OECD ระบุว่า ขณะที่กว่า 50 ประเทศอยู่ในกระบวนการดำเนินการตามเสาที่สอง แต่บางประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับสนธิสัญญาพหุภาคีที่สนับสนุนเสาหลักแรก ดังนั้น แผนดังกล่าวจึงได้รับการแก้ไขเพื่อสรุปรายละเอียดเพื่อให้รัฐบาลสามารถลงนามได้ก่อนสิ้นปี […]
อ่านเพิ่มเติม »
ออมเดียชี้ตลาดอุปกรณ์ผลิตจอแบนปี 66 ชะลอตัวต่ำสุด คาดตลาดฟื้นตัวปี 67 : อินโฟเควสท์ตลาดสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตแผงจอ OLED และ LCD ได้รับผลกระทบจากรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี หลังจากที่รายได้เคยแตะระดับสูงสุดที่เกือบ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2560 เนื่องจากอุตสาหกรรมจอแบน (FPD) มาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว เทรนด์นี้จะแตะระดับต่ำสุดในปี 2566 โดยรายได้จากอุปกรณ์ FPD ลดลง 71% สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่เพียง 3.1 พันล้านดอลลาร์ รายงานอุปสงค์และอุปทานของ OLED และ LCD และตัวติดตามอุปกรณ์ผลิตจอ (OLED and LCD Supply Demand and Equipment Tracker) ของออมเดีย (Omdia) ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ คาดว่า ตลาดจะฟื้นตัวด้วยการเติบโต 153% สู่ระดับ 7.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 “ในขณะนี้ แผนการลงทุนในปี 2568 ยังไม่ชัดเจนนัก แต่หากว่าโรงงานบางแห่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เช่น โรงงานจอภาพ Gen 8.6 […]
อ่านเพิ่มเติม »