ตามที่ได้มีการส่งต่อคำแนะนำในประเด็นเรื่องใช้นิ้วนวดบริเวณรอบดวงตา ช่วยทำให้สายตาดีขึ้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป
็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการส่งต่อคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพว่าวิธีการทำให้สายตาดีขึ้น ด้วยการใช้นิ้วมือกดจุด นวดบริเวณคิ้ว รอบดวงตา สันจมูก ขมับ ใบหู และติ่งหู ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า วิธีการที่แชร์กันในโลกออนไลน์นั้น ยังไม่มีรายงานทางวิชาการที่สามารถวัดผลได้จริง รวมทั้งหากนวดบริเวณรอบดวงตาไม่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เส้นเลือดฝอยใต้เยื่อบุตาแตกได้ หรืออาจมีผลร้ายแรงถึงขั้นตาบอด...
โดยภาวะสายตายาวเป็นความบกพร่องของสายตา ที่ไม่สามารถแพ่งหรือมองวัตถุได้ชัดเจนในระยะใกล้ๆ ซึ่งตามปกติแล้วสายตายาวเกิดขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และการรักษา คือ การสวมแว่นตามที่แพทย์สั่ง โดยการตรวจวัดค่าสายตาจากแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ โทร...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เปิด 10 อันดับ 'ข่าวปลอม' คนสนใจสูงสุด เช็กเลยอย่าเชื่อเด็ดขาด!ดีอีเอส เปิดอันดับ 10 ข่าวปลอม ที่ได้รับความสนใจลำดับต้นๆช่วง 17 – 23 ก.พ.66 เช็กเลยอย่าเชื่อเด็ดขาด!นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดี
อ่านเพิ่มเติม »
เช็คก่อนเชื่อ!สแกน‘ข่าวปลอม’ นโยบายรัฐไม่แผ่ว ‘ลงทุน-สินเชื่อกู้ยืม’ติดท็อป10‘กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม’ สรุปสถานการณ์ ‘เฟคนิวส์’ รายสัปดาห์ พบข่าวปลอมนโยบายรัฐไม่แผ่ว ประชาชนให้ความสนใจข่าวหลอกลงทุน-ปล่อยสินเชื่อ เงินกู้ ติดอันดับมากสุด เตือนอย่าเสียรู้โจร เช็คข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ
อ่านเพิ่มเติม »
ข่าวปลอม อย่าแชร์! ริดสีดวงเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ใหญ่
อ่านเพิ่มเติม »
ข่าวปลอม อย่าแชร์! ทำสีผมช่วงเป็นประจำเดือน ร่างกายจะอ่อนแอลงทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย
อ่านเพิ่มเติม »
ปลอมอย่าแชร์! กินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำให้เป็น 'โรคพาร์กินสัน' | เดลินิวส์ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม Anti-Fake News Center Thailand เตือนข่าวปลอม อย่าแชร์ กินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำให้เป็น 'โรคพาร์กินสัน' ชี้ไม่มีปัจจัยเสี่ยง น้ำเต้าหู้ เครื่องดื่ม ข่าวปลอม พาร์กินสัน เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »