ก.ล.ต.ปรับปรุงแบบรายงานกรรมซื้อขายระหว่างกองทุนรวม-กองทุนบลจ.เดียวกัน กลต กองทุนรวม ซื้อขายกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน บลจ อินโฟเควสท์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ปรับปรุงแบบรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินระหว่างกองทุนรวมและกองทุนอื่นภายใต้บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน เดียวกัน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามธุรกรรมที่มีความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนในแต่ละกองทุนและสอดคล้องกับหลักสากล รวมทั้งเป็นการลดภาระแก่ผู้ประกอบธุรกิจตามแนวทาง Regulatory Guillotine
โดยยกเลิกการรายงานธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินระหว่างกองทุนรวมและกองทุนอื่นภายใต้การจัดการในรอบ 5 วันทำการที่ผ่านมา ที่ผ่านตัวกลางรายเดียวกันที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมปกติและมีจำนวนมาก ทั้งนี้ ยังคงการรายงานธุรกรรมซื้อขายระหว่างกองทุน ซึ่งธุรกรรมลักษณะนี้อาจมีความเสี่ยงในเรื่องการถ่ายโอนหลักทรัพย์จากกองทุนที่มีปัญหาสภาพคล่องไปสู่กองทุนอื่นหรือการถ่ายโอนกำไรระหว่างกองทุนภายใต้การจัดการเดียวกัน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามธุรกรรมดังกล่าวได้ง่ายขึ้น โดยสามารถติดตามได้ทั้งลักษณะรายการ ราคาที่เกิดขึ้น ราคาอ้างอิง และขนาดรายการและเหตุผลในการทำธุรกรรม เพื่อให้มั่นใจว่าการทำรายการ cross trade นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนในแต่ละกองทุนและสอดคล้องกับหลักสากล...
นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังได้ปรับปรุงวิธีการคำนวณขนาดรายการจากเดิมที่อ้างอิงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นเดือน เป็น NAV ณ วันที่ทำธุรกรรม เพื่อให้การเทียบสัดส่วนมูลค่าซื้อขายต่อ NAV สะท้อนถึงข้อมูลการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้นยิ่งขึ้น และผู้ลงทุนมีข้อมูลเป็นปัจจุบันมากขึ้น ทั้งนี้ แบบรายงานดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ก.ล.ต.ไทยเตรียมจัดประชุม IOSCO ชวนคนไทยเป็นเจ้าภาพ 13-15 มิ.ย.นี้ก.ล.ต.ไทยเตรียมจัดประชุม IOSCO หรือ ก.ล.ต.โลก เพื่อส่งเสริมมาตรฐานสากล-ความร่วมมือระหว่างองค์กรกำกับตลาดทุนทั่วโลก ชวนคนไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 13-15 มิ.ย.2566 นี้ ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต. เปิด 7 ขั้นตอนเมื่อจะตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : อินโฟเควสท์ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมความรู้ตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นำเสนอบทความเรื่อง “นับหนึ่งถึงเจ็ด จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้” โดยมีเนื้อหาว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการด้านการออมและการลงทุนที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง โดยนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนให้ทุกเดือนนอกเหนือจากที่ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนเช่นกัน เปรียบเสมือนลูกจ้างได้เงินเพิ่มจากนายจ้างอีกก้อนนอกเหนือจากเงินเดือน กล่าวได้ว่า นายจ้างที่ให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการ เป็นนายจ้างที่ปรารถนาดี อยากเห็นลูกจ้างมีเงินไว้ใช้จ่ายในวัยชราภายหลังจากสิ้นสุดการเป็นมนุษย์เงินเดือนหากจะเริ่มนับหนึ่งจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น นายจ้างต้องเริ่มจากตรงไหน และมีขั้นตอนอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ *นับหนึ่ง เช็กความพร้อมของนายจ้างและลูกจ้างก่อนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกิดจากการตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องมีความพร้อม 1. ความพร้อมของนายจ้าง : นายจ้างพร้อมจ่ายเงินสมทบเป็นประจำทุกเดือนเข้ากองทุนหรือไม่ โดยตามกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ 2%-15% ของเงินเดือนของสมาชิก ซึ่งขึ้นกับข้อบังคับกองทุนที่กำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบไว้ รวมถึงนายจ้างต้องเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่แผนกการเงินหรือทรัพยากรบุคคลให้รับผิดชอบการนำส่งเงินเข้ากองทุน การจัดทำรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุน นอกจากนี้ นายจ้างต้องพิจารณาประเภทของกองทุนที่จะจัดตั้งว่าจะเลือกเป็นกองทุนเดี่ยว (single fund) กองทุนหลายนายจ้างของบริษัทในเครือ (group fund) หรือกองทุนหลายนายจ้าง (pooled fund) ซึ่งสามารถรับคำปรึกษาจากบริษัทจัดการได้ 2. ความพร้อมของลูกจ้าง : ความรู้ความเข้าใจด้านการออมและการลงทุนของลูกจ้างอยู่ในระดับใด และลูกจ้างพร้อมจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนหรือไม่ *นับสอง แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน คณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 2 ฝ่าย […]
อ่านเพิ่มเติม »
BRC ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. ขายหุ้น IPO ไม่เกิน 3,730 ล้านหุ้น'BRC' บิ๊กซี รีเทล ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. เสนอขายหุ้น IPO จำนวนรวมไม่เกิน 3,730 ล้านหุ้น ระดมทุนขยายธุรกิจทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หุ้น บิ๊กซีรีเทล
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต. แนะนายจ้าง 7 ขั้นตอน จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -19 เม.ย. 66 14:09 น. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานเรื่อง “นับหนึ่งถึงเจ็ด จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ย...
อ่านเพิ่มเติม »