ก.ทรัพย์ ส่ง เครื่องสูบน้ำ ขนาดใหญ่ 6 เครื่องช่วยกทม. แนะเตรียมรับมือน้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุน น้ำท่วมกรุงเทพ น้ำท่วม อินโฟเควสท์
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ขอการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำ ซึ่งตนได้สั่งการไปยังกรมทรัพยากรน้ำให้นำเครื่องสูบน้ำ ขนาด 30 นิ้ว ไปติดตั้งในช่วงบ่ายวันนี้ ที่สถานีสูบน้ำพระโขนง จำนวน 4 เครื่อง ส่วนอีก 1 เครื่อง ได้ติดตั้งแถวเขตศรีนครินทร์ บางนาแล้ว และอีก 1 เครื่องกำลังขนย้ายและจะนำมาติดตั้งในวันที่ 19 ก.ย.
เครื่องสูบน้ำ ขนาด 30 นิ้วนี้เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่มาก และหากเดินเครื่องอย่างเต็มที่พร้อมๆกัน 3-4 เครื่อง จะมีกำลังการสูบที่จะทำให้ปริมาณระดับน้ำในกทม. ลดลง คาดว่า วันนี้ หรือพรุ่งนี้จะสามารถเดินเครื่องได้ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมขังในกทม.ขณะนี้ มีความแตกต่างกับในปี 2554 ที่เป็นน้ำเหนือไหลท่วมลงมายังกทม.ทีละส่วน แต่น้ำที่ท่วมในกทม.ขณะนี้เป็นน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ ส่วนน้ำเหนือที่ไหลลงมายังในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ก็กำลังพยายามพร่องน้ำเพื่อระบายลงสู่อ่าวไทย ไม่ให้ไหลเข้าสู่กทม.
ขณะที่การเตรียมรับมือน้ำเหนือที่จะไหลลงมานั้น นายวราวุธ กล่าวว่า จะต้องหารือกับผู้ว่าฯกทม. ว่าปริมาณน้ำในคลองของกทม.แต่ละคลองจะสามารถพร่องน้ำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะต้องระวังสถานการณ์น้ำทะเลหนุนด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อน้ำทะเลหนุนจะทำให้ศักยภาพการผลักดันน้ำมีความลำบากและต้องใช้เครื่องสูบน้ำมากขึ้น ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำยินดีให้การสนับสนุนกับทางกทม. ถ้าหากมีการร้องขอมา
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
กรมชลฯ เตรียมปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาตั้งแต่ 15 ก.ย.นี้ : อินโฟเควสท์นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักสะสมในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำท่าไหลลงสู่แม่น้ำสายหลัก ทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น กรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมในการดำเนินการแจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ที่จะปรับเพิ่มปริมาณการระบายน้ำเป็น 1,800-2,000 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2565 ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ ทำให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ในช่วงวันที่ 16-17 กันยายน 2565 ดังนั้นจึงได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ และให้จัดเจ้าหน้าที่ พร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดัน ประจำจุดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขังให้สามารถพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มกำลัง รวมทั้งให้เร่งรีบแก้ไขปัญหาในจุดที่มีน้ำท่วมให้กลับเข้าสู่สภาวะปรกติโดยเร็ว ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้มีการตรวจสอบความพร้อมของอาคารชลประทานและพนังกันน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมบริหารจัดการน้ำในอ่างฯ ให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม โดยพิจารณาปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมทั้งปฏิบัติตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 อย่างเคร่งครัด ตามข้อสั่งการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) รวมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบอย่างทันท่วงที ปัจจุบัน (12 ก.ย.65) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 50,510 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น …
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต.กับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานกลางเพื่อมุ่งสู่ตลาดทุนดิจิทัล (ตอนที่ 1) : อินโฟเควสท์นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายสื่อสารองค์กรและเครือข่ายตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุในบทความ “ก.ล.ต. กับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานกลาง เพื่อมุ่งสู่ตลาดทุนดิจิทัล (ตอนที่ 1)” ว่า ในช่วงปลายปี 2562 สำนักงาน ก.ล.ต.ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ของตลาดทุนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น DLT หรือ blockchain เป็นต้น มาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพตลาดทุน ซึ่งโครงการได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจและช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ลดต้นทุนการทำธุรกรรมและอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดทุนได้ง่าย รวมถึงได้รับบริการผ่านระบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) จะเปรียบเสมือนถนนสายกลางหรือกระดูกสันหลังของตลาดทุนที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบหลังบ้าน (back office) ของผู้เกี่ยวข้องทั้งอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน และถูกออกแบบให้เป็น open architecture ที่เปิดกว้างรองรับผู้ประกอบธุรกิจการทุกราย โดยระบบกลางดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในตลาดทุนให้บริการอยู่บนระบบที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งอุตสาหกรรม และปรับเปลี่ยนกระบวนการในตลาดทุนให้เป็นดิจิทัลตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การเริ่มเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ การจองซื้อหลักทรัพย์ที่ออกเสนอขายครั้งแรก การซื้อขายเปลี่ยนมือหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนมีอยู่เดิม ไปจนถึงการทำธุรกรรมหลังการซื้อขายแล้วเสร็จ และสามารถเรียกขอข้อมูลภาพรวมการลงทุนหลักทรัพย์ที่ถือครองได้ทั้งหมดในลักษณะพอร์ตโฟลิโอจากทุกบัญชีที่ใช้บริการในตลาดทุน (Account Aggregation) โดยครอบคลุมผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทุกประเภท ทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน …
อ่านเพิ่มเติม »