กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เผยภาพล่าสุด กาแล็กซีล้อเกวียน หรือ Cartwheel Galaxy ที่แสดงให้เห็นโครงสร้างภายใน กลไกการเกิดใหม่ของกระจุกดาว และหลุมดำ อ่านต่อ: กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อยู่ห่างออกไป 500 ล้านปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวช่างแกะสลัก กาแล็กซีนี้มีลักษณะปรากฏคล้ายกับวงล้อขนาดใหญ่ล้อมรอบวงล้อขนาดเล็ก เชื่อมต่อด้วยสายธารของดาวฤกษ์ มีลักษณะคล้ายล้อเกวียน เกิดจากการชนกันของกาแล็กซี อันเป็นวิวัฒนาการสำคัญของกาแล็กซีที่ส่งต่อให้เกิดปฏิกิริยาใหม่มากมายตามมาภายหลังสำหรับ กาแล็กซีล้อเกวียน หรือ Cartwheel Galaxy นี้ เป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีที่มีโครงสร้างแบบกาแล็กซีวงแหวน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่หาได้ยากกว่ากาแล็กซีแบบกังหัน เช่น กาแล็กซีทางช้างเผือกที่พบเห็นได้ง่ายกว่าเป็นอย่างมาก...
ที่ศึกษาในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้นั้นเปิดเผยให้เห็นดาวฤกษ์เกิดใหม่ที่ถูกบดบังเอาไว้ด้วยฝุ่นที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็นโดยกล้องฮับเบิล แต่กาแล็กซีนี้ในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้นั้น พบเห็นเป็นดาวจำนวนมากมายที่หนาแน่นในช่วงแกนกลาง และดาวฤกษ์เกิดใหม่ที่ประปรายกว่าในบริเวณโดยรอบในขณะที่ภาพจากกล้อง MIRI ทำงานในช่วงย่านคลื่นอินฟราเรดกลาง เผยให้เห็นโครงสร้างของ "ก้าน" ที่เชื่อมต่อระหว่างวงแหวนวงในและวงนอก เปรียบได้กับโครงกระดูกที่เป็นส่วนเชื่อมต่อของกาแล็กซีเอาไว้ด้วยกัน...