กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เผยภาพถ่ายของ “IC 4709” กาแล็กซีประเภทกังหัน (spiral galaxy) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60,000 ปีแสง ห่างจากโลกประมาณ 240 ล้านปีแสง
กาแล็กซีประเภทกังหัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60,000 ปีแสง ห่างจากโลกประมาณ 240 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งเป็นกลุ่มดาวทางซีกฟ้าใต้ กาแล็กซีนี้ค้นพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2444 โดย DeLisle Stewart นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน จนในอีกร้อยกว่าปีถัดมาในที่สุดเราก็มีโอกาสได้เห็นภาพของกาแล็กซีนี้แบบชัดเจน
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้ความรู้ว่า บริเวณใจกลางของ IC 4709 มีหลุมดำมวลยวดยิ่ง มีมวลมากกว่า 65 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ กำลังดูดกลืนมวลสารบริเวณโดยรอบ ส่งผลให้มวลสารเหล่านี้อัดแน่นและหมุนวนด้วยความเร็วสูง จนเกิดการชนกันของมวลสาร และแผ่รังสีพลังงานสูงออกมา พื้นที่นี้จึงส่องสว่าง มีอุณหภูมิสูง และปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างมหาศาล เรียกว่า นิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ หรือ AGN
จากภาพความละเอียดสูงนี้ทำให้นักดาราศาสตร์พบว่าความส่องสว่างของนิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ในกาแล็กซี IC 4709 มีแถบฝุ่นหนาแน่นบดบังอยู่ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาการปฏิสัมพันธ์ของนิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ภายในกาแล็กซี รวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลุมดำมวลยวดยิ่งที่อยู่ใจกลางกาแล็กซีอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป ซึ่งจะไม่สามารถแยกรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังเช่นกาแล็กซี IC 4709...
ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องสำรวจขั้นสูง ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ และแสงที่ตามองเห็น ในช่วงหนึ่งของสเปกตรัม ซึ่งถ่ายผ่านฟิลเตอร์สองตัว และประมวลออกมาเป็นภาพสีจากเฉดสีของฟิลเตอร์ทั้งสอง แสดงให้เห็นรูปร่างกังหันของกาแล็กซี ดาวฤกษ์ ฝุ่น และฮาโลจาง ๆ รอบกาแล็กซี 🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
กล้องฯ ฮับเบิล, MAVEN ไขปริศนาสูญเสียน้ำครั้งสำคัญของดาวอังคารNASA ในช่วงวัฏจักร Solar Maximum ของดวงอาทิตย์ในรอบนี้ NASA ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลควบคู่กับยานอวกาศ MAVEN ที่อยู่ในวงโคจรของดาวอังคารสำรวจการสูญเสีย “น้ำ” ในชั้นบรรยากาศของ “ดาวอังคาร” ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของดวงอาทิตย์หรือไม่
อ่านเพิ่มเติม »
“กล้องฯ เจมส์ เว็บบ์” พบ “ดาวเคราะห์” ที่ไม่ได้โคจรรอบ “ดาวฤกษ์”กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ หรือ James Webb Space Telescope (JWST) ได้ถ่ายภาพ “ดาวเคราะห์ล่องลอยอิสระ” จำนวน 6 ดวงที่กำลังโคจรอยู่อย่างโดดเดี่ยวในแถบเมฆโมเลกุลเพอร์เซอุส
อ่านเพิ่มเติม »
ค้นพบใหม่จาก “ฮับเบิล” ลำแสงจากหลุมดำก่อให้เกิดการระเบิดโนวาของดาวดวงอื่นได้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลพบปริศนาใหม่ เมื่อลำเจ็ตที่พวยพุ่งออกมาจากหลุมดำมวลยิ่งยวด เหนี่ยวนำให้ดาวดวงอื่น ๆ ที่ลำเจ็ตพาดผ่านเกิดการระเบิดโนวาขึ้น
อ่านเพิ่มเติม »
EV-AI โอกาสไทยสู่ฐานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับภูมิภาคเนคเทค เผย เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ลงทุนสูง หากรัฐต้องการเป็นฐานเซมิคอนดักเตอร์ระดับภูมิภาค ต้องเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ชัด ชี้ไทยมีจุดอ่อนด้านการออกแบบ IC แนะเร่งพัฒนาบุคลากร
อ่านเพิ่มเติม »
กราฟ Bitcoin Rainbow Chart ส่งสัญญาณ “ซื้อ” ได้เวลาเก็บของเพิ่มแล้วหรือยัง?ราคา Bitcoin (BTC) เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงราคา 60,000-70,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาเป็นเวลานานกว่า 7 เดือนแล้ว แม้ว่าราคาจะไม่เคลื่อนไหวมากนัก แต่ราคาปัจจุบันของ
อ่านเพิ่มเติม »
กล้องฯ ฮับเบิล, MAVEN ไขปริศนาสูญเสียน้ำครั้งสำคัญของดาวอังคารNASA ในช่วงวัฏจักร Solar Maximum ของดวงอาทิตย์ในรอบนี้ NASA ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลควบคู่กับยานอวกาศ MAVEN ที่อยู่ในวงโคจรของดาวอังคารสำรวจการสูญเสีย “น้ำ” ในชั้นบรรยากาศของ “ดาวอังคาร” ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของดวงอาทิตย์หรือไม่
อ่านเพิ่มเติม »