วันที่ 5 กันายน 2565 นพ.
ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยผลการทดสอบภูมิคุ้มกันต่อโรคฝีดาษลิง" ในคน ที่เคยปลูกฝี หรือได้รับวัคซีนฝีดาษมานานกว่า 40 ปี และทดสอบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อในประเทศไทย
สำหรับวัคซีนฝีดาษคน ในประเทศหยุดการฉีดตั้งแต่ปี 2523 ในครั้งนี้ทดสอบ ในอาสาสมัคร 28 คน ได้แก่ ช่วงอายุ 45-54 ปี ช่วงอายุ 55-64 ปี ช่วงอายุ 65-74 ปีโดยผลทดสอบพบว่าอาสาสมัคร จำนวน 28 คน ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสฝีดาษลิงทั้ง 2 สายพันธุ์ โดยมี 2 คน พบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันขึ้นมาเล็กน้อย สามารถลบล้างฤทธิ์ของไวรัสฝีดาษลิงได้แบบปริ่มๆ ซึ่ง 1 คน พบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ A.
สำหรับทางด้านผลการทดสอบในน้ำเลือดคนติดเชื้อฝีดาษลิง ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วมีภูมิธรรมชาติ พบว่า สามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์ A.2 ได้มากกว่าสายพันธุ์ B.1 ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนฝีดาษลิงโดยตรง แต่ที่นำมาใช้คือวัคซีนฝีดาษคน ได้ผลประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อฝีดาษลิงร้อยละ 85 ปัจจุบันมีวัคซีนรุ่น 3 ซึ่งไม่ต้องปลูกฝี สหรัฐอเมริกาและยุโรปได้มีการอนุมัติการใช้ วิธีฉีดคือเข้าชั้นผิวหนัง เป็นตุ่มเม็ดถั่วเขียว ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร และชั้นใต้ผิวหนัง ปริมาณ 0.
ทั้งนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการขอเชื้อไวรัสฝีดาษดลิงที่กรมวิทย์ฯ ได้ทำการเพาะขึ้นมา เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด ผลิตวัคซีนสำหรับโรคฝีดาษลิงโดยตรง หากทำได้จริงก็จะทำให้ไทยมีวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงที่มีราคาถูก