กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยัน ไทยพบผู้ป่วยติดโควิดโอมิครอน BA.2.75.2 แล้ว 1 ราย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่หลบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด แต่ขอประชาชนไม่ต้องกังวล ยังเป็นส่วนน้อย เผย BA.2.75 และสายพันธุ์ย่อย พบในไทยเพียง 1% อ่านข่าว : เรื่องเล่าเช้านี้
จากที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ระบุพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.75.2 เจเนเรชั่นที่ 3 ซึ่งหลบภูมิได้ดีที่สุด จำนวน 1 รายในไทย นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในไทย ว่า ผลการสุ่มตรวจจำแนกสายพันธุ์ กับผู้ป่วย 359 ราย ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อหาสายพันธุ์ทั้งตัว ในผู้ป่วย 803 ราย พบ มีสายพันธุ์ BA.2.75 มี 9 ราย ใน จ.แพร่ 2 รายตรัง และสงขลา จังหวัดละ 1 ราย ส่วนกทม.พบ 5 ราย เป็นสายพันธุ์ BA.2.75 จำนวน 2 ราย และสายพันธุ์ย่อย BA.2.75.1 BA.2.75.2 และ BA.2.75.3 อย่างละ 1 ราย ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของโลก ที่ BA.5 ที่มีการขยับตัวสูง ขณะที่ ba.4 มีแนวโน้มลดลง ขณะที่ ba.2.75 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนกลายพันธุ์เจน 3 BA.2.75.2 แล้ว 1 ราย : อินโฟเควสท์ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบโอมิครอน BA.2.75.2 จากประเทศไทยที่อัปโหลดขึ้นมาบน GISAID เพียง 1 ราย ซึ่งยังไม่สามารถคำนวณความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เปรียบเทียบกับโอมิครอน BA.4 และ BA.5 ที่ระบาดในประเทศไทยได้ เพราะจำนวนตัวอย่าง BA.2.75.2 ในประเทศไม่มากพอ อย่างไรก็ดี ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ มีความจำเป็นที่จะต้องแยกโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ ออกจากกันให้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 24-48 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น BA.2, BA.4, BA.4.6, BA.5, BA.2.12.1, BA.2.75, BA.2.75.2 ฯลฯ เพราะการรักษาโควิด-19 เริ่มมีลักษณะมุ่งเป้า (precision medicine) มากขึ้นเป็นลำดับ ต่างจากการรักษาในช่วงต้นของการระบาดในปี 62 ซึ่งผู้ป่วยทุกรายรักษาเหมือนกัน (One-size-fits-all) เนื่องจากปัจจุบันพบว่าเวชภัณฑ์ อาทิ วัคซีน (เข็มหลัก และเข็มกระตุ้น) ยาต้านไวรัส …
อ่านเพิ่มเติม »
ศูนย์จีโนมฯ เผยติดตามโควิด-19 “เจเนอเรชัน 3” หลังไทยพบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75.2 แล้ว 1 รายศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก 'GISAID' พบโอมิครอน BA.2.75.2 จากประเทศไทยที่อัปโหลดขึ้นมาบน GISAID เพียง 1 ราย ซึ่งยังไม่สามารถคำนวณความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative g
อ่านเพิ่มเติม »
ไทยพบ 1 ราย โอมิครอน BA.2.75.2 ชี้เป็นเจน 3 แพร่ดีกว่าตัวแม่ 248% หลบวัคซีนได้ดีที่สุดไทยพบ 1 ราย โอมิครอน BA.2.75.2 ชี้เป็นเจน 3 แพร่ดีกว่าตัวแม่ 248% หลบวัคซีนได้ดีที่สุด หวั่นทำแพร่เชื้อมากขึ้น กรมวิทย์ระบุยังไม่มีนัยสำคัญ
อ่านเพิ่มเติม »
ศูนย์จีโนมฯพบในไทยแล้ว 1 ราย โควิดเจเนอเรชัน 3 โอไมครอน 'BA.2.75.2'ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เฝ้าติดตามโควิด-19 'เจเนอเรชัน 3' โอไมครอน 'BA.2.75.2' พบแล้วในไทย 1 ราย เตรียมพร้อมการตรวจกรองรับมือการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
อ่านเพิ่มเติม »
ไทยพบแล้ว 1 ราย ผู้ติดเชื้อโอมิครอน BA.2.75.2 ที่หลบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด'GISAID' พบ โอมิครอน BA.2.75.2 จากประเทศไทยที่อัปโหลดขึ้นมาบนฐานข้อมูล 1 ราย ยอมรับแม้จำนวนตัวอย่าง BA.2.75.2 ในไทยยังไม่มากพอ แต่จำเป็นต้องแยกแยะสายพันธุ์ต่างๆ ให้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะวัคซีน-ยาที่มีอยู่ เริ่มมีประสิทธิภาพในการป้องกันรักษาแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกัน
อ่านเพิ่มเติม »
สธ. ขออย่าตระหนก ชี้ BA.2.75.2 เป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย ไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ : อินโฟเควสท์นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ในภาพรวมยังเป็นการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 เป็นส่วนใหญ่ (93%) โดยจากการตรวจแบบละเอียด (Whole genome sequencing) ตั้งแต่เดือนพ.ค. พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ทั้งหมด 9 ราย โดยในจำนวนนี้พบสายพันธุ์ที่เป็นลูกหลานของ BA.2.75 ได้แก่ BA.2.75.1, BA.2.75.2 และ BA.2.75.3 อย่างละ 1 ราย “การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์โควิด เป็นเรื่องธรรมชาติของไวรัส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต้องจับตาดูการกลายพันธุ์ที่มีความหมายว่าจะมีความรุนแรง หรือแพร่เร็วขึ้นหรือไม่” นพ.ศุภกิจ กล่าว ทั้งนี้ จากการดูตำแหน่งกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ BA.2.75 เป็น BA.2.75.2 มีความกังวลว่าสายพันธุ์ลูกนี้อาจมีความรุนแรง หรือแพร่เร็วขึ้น ซึ่งมีข้อมูลทางสถิติระบุว่า BA.2.75.2 พบเพิ่มขึ้น 114.17% อย่างไรก็ดี การที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมบางตำแหน่ง และข้อมูลทางสถิติ ยังไม่สามารถตอบคำถามในโลกความเป็นจริงได้ เนื่องจากมีสายพันธุ์หลายตัวที่เคยกังวลว่าจะเป็นปัญหา …
อ่านเพิ่มเติม »