'หนี้ กยศ. ไม่จำเป็นต้องใช้คืนก็ได้ เดี๋ยวทางโน้นก็ทวงมาเอง...ถึงเวลานั้นค่อยว่ากันอีกที' ความคิดนี้ถือเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ และจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งหากความคิดนี้เกิดขึ้นจริงกับผู้ที่กู้ยืมเงินจาก กยศ. อ่านต่อ: กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กยศ. ให้กู้ยืมเงินไปแล้วกว่า 670,000 ล้านบาท โดยมีผู้มาขอกู้ยืมเงินมากกว่า 6 ล้านคน
กยศ. ได้เปิดเผยถึงการบริหารจัดการบัญชีของผู้กู้ยืม กล่าวคือ ผู้กู้ยืมทุกรายจะได้รับการปลอดการชำระหนี้ 2 ปีหลังจากจบการศึกษา จากนั้นผู้กู้ยืมจะมีภาระหนี้ที่ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 หากผู้กู้ยืมรายใดยังคงค้างชำระก็จะมีการดำเนินคดีโดยทำสัญญาประนีประนอมผ่อนในระยะเวลา 9-15 ปี ซึ่งถ้าผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ได้เสร็จสิ้นก็จะนำไปสู่การปิดบัญชีหรือตัดหนี้สูญ
ด้วยจำนวนยอดผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ ประกอบกับวิกฤตด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ กยศ. ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ทันงวดลดอัตราเบี้ยปรับจากร้อยละ 7.5 เหลือร้อยละ 0.5 ต่อปีจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับผู้กู้ยืมที่ไม่เคยผิดนัดชำระเหลือร้อยละ 0.
อย่างไรก็ตาม ความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างมากในทุกประเทศ ส่งผลให้ปัญหาการเป็นหนี้กับ กยศ. เป็นประเด็นปัญหาที่หลายฝ่ายในสังคมให้ความสนใจ และพยายามเสนอข้อคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาดังกล่าวที่สำเร็จการศึกษาด้วยเกรดเฉลี่ยสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด การยกหนี้ กยศ. ให้ทั้งหมดสำหรับผู้กู้ยืมทุกรายด้วยเหตุผลของความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นต้น
ถือได้ว่า เป็นการสร้างวินัยทางการเงินในทางที่ผิดให้กับประชาชน และมีความเป็นไปได้ว่า การกู้ยืมจาก กยศ. โดยไม่มีภาระการชดใช้คืนหนี้สิน อาจมีผลต่อความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนของผู้กู้ยืม เหตุเพราะไม่มีความจำเป็นจะต้องเร่งรีบหางานที่ดีทำเพื่อให้ได้รายได้เพียงพอสำหรับการชดใช้หนี้หลังสำเร็จการศึกษา