กกต.สารภาพเสียงอ่อย ไม่มีอำนาจตรวจสอบนโยบายหาเสียง'ทำได้จริงหรือไม่?' คลิกอ่านที่นี่
25 เม.ย.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมกกต.ได้รับทราบกรณี 70 พรรคการเมืองชี้แจงรายละเอียดนโยบายหาเสียงตามมาตรา 57 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มายังกกต.ตามที่สำนักงาน กกต.เสนอและมีมติให้ตั้งคณะทำงานที่จะประกอบไปด้วยผู้แทนของกกต. ขึ้นมาตรวจสอบว่ารายละเอียดนโยบายที่ 70 พรรคการเมืองส่งมานั้นครบถ้วนตามเงื่อนไข 3 ข้อ คือ 1.มีการระบุวงเงินที่ต้องใช้และที่มาของเงินที่จะใช้ดำเนินการ 2.ระบุความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย 3.
มีรายงานว่า ที่ประชุมกกต.ยังเห็นว่าในชั้นนี้ มาตรา 57 กำหนดให้ กกต.มีอำนาจเพียงสั่งให้พรรคการ เมืองชี้แจงเงื่อนไข 3 ข้อมาให้ครบเท่านั้น หากชี้แจงมาไม่ครบก็ให้สั่งปรับ 500,000 บาทและอีกวันละ 10,000 บาทจนกว่าพรรคการเมืองจะดำเนินการชี้แจงครบตามเงื่อนไข โดยกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจ กกต.ที่จะตรวจสอบว่านโยบายที่ชี้แจงมานั้นทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้ควรต้องเป็นกรณีมีผู้ร้องเรียนและมีการกล่าวอ้างข้อมูลที่มีน้ำหนัก กกต.จึงจะสืบสวนเอาผิดฐานหลอกลวง เพื่อจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมตามมาตรา 73 พ.ร.ป.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เลือกตั้ง'66: 130 ผู้สมัครส.ส.ลุ้น กกต.รอเช็คคุณสมบัติถือหุ้นสื่อ : อินโฟเควสท์นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวกรณีมีกระแสข่าวว่า กกต.จะมีการถอนสิทธิผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. 130 คนว่า ในหลักการที่ กกต.จะพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 42 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.นั้นจะต้องมี 26 หน่วยงาน มาร่วมสนับสนุนการตรวจสอบคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามด้วย ซึ่งตามขั้นตอนหลังจากรับสมัครแล้ว กกต.จะให้แต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุน กกต.ในการตรวจสอบ สำหรับกรณีที่เป็นข่าวนั้น เป็นเรื่องการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 42 (3) ดังนั้น จึงส่งเรื่องให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นผู้ตรวจสอบ และทำบัญชีส่งกลับมายัง กกต. โดยในการตรวจสอบนั้นจะตรวจสอบหลักทรัพย์ทุกประเภทที่ผู้สมัครคนนั้นถืออยู่ ไม่ใช่เฉพาะหลักทรัพย์ด้านสื่อสารมวลชนเท่านั้น “เมื่อ กกต.ได้รับข้อมูลกลับมา ก็ต้องมาพิจารณาว่า หลักทรัพย์แบบใดที่เข้าลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ส.ส. คือการห้ามเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นในองค์กรสื่อสารมวลชนใดๆ ถ้าถือหุ้นบริษัทอื่นๆ ก็ไม่ถือว่าเข้าข่ายลักษณะต้องห้าม” นายแสวง กล่าว ดังนั้น ในกรณีของ 130 คน หากตรวจสอบแล้วว่าเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นในสื่อมวลชน จะถือว่าเป็นผู้มีลักษณะต้องห้าม ซึ่งใน 130 คนนั้น […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง 2566 : กกต.ยอมรับผิดพลาดจริง เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่กรุงลอนดอน ประเทศอักฤษเลขาฯ กกต. แจงปัญหาเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กรุงลอนดอน พิมพ์รูปผู้สมัครสลับกัน ยอมรับผิดพลาดจริง แต่แก้ไขแล้ว นายแสวง บุญมี เลขาธิการคระกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีประกาศที่ออกโดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน…
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง 2566 : เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่ซูดาน กกต.ชี้คนไทยในซูดานไม่เป็นผู้เสียสิทธิเลือกตั้งกกต. ชี้เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่ซูดาน หลังอพยพคนไทยกลับประเทศจะไม่เป็นผู้เสียสิทธิ ขอศึกษากฎหมาย ให้ได้เลือกตั้งก่อนกลับไทย นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนายกิตติพงษ์ บริบูรณ์ รองเลขาธิการ…
อ่านเพิ่มเติม »
กกต.เปิด 5 ขั้นตอนคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า กกต. ได้ประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์การคํานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์)
อ่านเพิ่มเติม »
กกต.แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนการร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส.รวม 128 คณะวันที่ 24 เม.ย.66-ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มอบนโยบายให้ส่วนงานต่างๆ ของสำนักงาน กกต.ดำเนินการและปฏิบัติภารกิจจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย ตามอำนาจหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยเฉพาะปัญหาการทุจริตซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนหรือไต่สวน ปฏิบัติงานการข่าว ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตลอดทั้งเพิ่มช่องทางการแจ้งเหตุหรือเบาะแสทุจริต รวมถึงการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อป้องปรามและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพรรคการเ
อ่านเพิ่มเติม »