เราชอบกินอาหาร เพราะเราหลงใหลรสชาติของมัน แต่เราเคยรู้ไหมว่าแล้วอะไรล่ะคือ “รสชาติ” ?
นักพฤกษศาสตร์และนักเขียนวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพันธุ์พืชและอาหารท้องถิ่นดั้งเดิม ทั้งคู่นำความรู้ทั้งด้านชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ของอาหารมาอธิบายความสัมพันธ์ของมนุษย์กับการกิน ไม่ว่าจะเป็นตอนซึ่งกล่าวถึงบทบาทของอาหารในการสร้างร่างกายของเรา ทำให้เราอยู่รอดและเจริญเติบโต, ตอน“Food on the Brain อาหารกับสมอง"เช่น ทำไมอาหารบางชนิดสามารถทำให้เรา “ติด” หรือบางชนิดเป็นที่หลงใหลของบางคน...
หว่องทำให้เราต้องทึ่งกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติด้วยการอธิบายความสำคัญของรสเปรี้ยวในผลสตรอว์เบอร์รีตอนยังไม่สุก ว่ามีเพื่อป้องกันไม่ให้ผึ้งมากัดกินเนื้อของมันก่อนเวลาอันควร ก่อนที่จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นรสหวานพร้อมผิวแดงสุกปลั่งเมื่อพร้อม เป็นการส่งสัญญาณเชิญชวนให้ผึ้งมาบริโภคพร้อมกับหอบเอาเมล็ดของมันไปแพร่พันธุ์ต่อ อีกเรื่องหนึ่งที่หว่องเล่า และคราวนี้ชวนให้ว้าวกับความชาญฉลาดของมนุษย์บ้าง ก็คือเรื่องของครอบครัวเกษตรกรปลูกมันฝรั่งบนเทือกเขาแอนดีส...