dtac TriNet ชำระค่า คลื่นความถี่ 700 MHz และค่าคลื่นความถี่ 900 MHz แก่ กสทช. เรียบร้อย dtac ดีแทค ข่าวไอที TechOffside ล้ำหน้าโชว์
dtac TriNet ชำระค่า คลื่นความถี่ 700 MHz งวดที่ 3 จำนวนเงิน 1,881,488,000 บาท พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือวงเงิน 6,585,208,000 บาท และ ชำระเงินค่าคลื่นความถี่ 900 MHz งวดที่ 5 จำนวนเงิน 4,072,848,000 บาท พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือวงเงิน 10,385,762,400 บาท จากการประมูลและได้รับการจัดสรรคลื่น โดยได้ชำระเงินแก่ กสทช.
ดีแทคนำคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำมาขยายความครอบคลุมพื้นที่ใช้งานและเพิ่มความจุของโครงข่ายทั่วประเทศ เพื่อยกระดับประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสู่ลูกค้าทุกคน ทำให้ลูกค้าใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ดีแทคมุ่งพัฒนาโครงข่ายสำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพิ่มสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ใช้งานมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ดีแทคได้ขยายสถานีฐานคลื่น 700 MHz โดยติดตั้งแล้วทั้งสิ้นประมาณ 18,800 สถานีฐาน...
สำหรับใบอนุญาตคลื่นทั้งสองความถี่คือ 700 MHz ขนาด 2 x 10 MHz จำนวน 1 ชุด มีอายุการใช้งาน 15 ปี หรือ จนถึง พ.ศ. 2578 และคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ขนาด 2×5 MHz จำนวน 1 ชุด มีอายุการใช้งาน 15 ปี หรือจนถึง พ.ศ. 2576
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ดีแทค ไตรเน็ต ชำระค่าคลื่นความถี่ 700 MHz และค่าคลื่นความถี่ 900 MHzดีแทค ไตรเน็ต ชำระค่าคลื่นความถี่ 700 MHz และค่าคลื่นความถี่ 900 MHz iphonedroid
อ่านเพิ่มเติม »
DTAC จ่ายแล้วกว่า 5.9 พันล้าน !! ค่าคลื่น 700MHz งวด 3 และ 900MHz งวด 5 : อินโฟเควสท์นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เปิดเผยว่า ดีแทค ไตรเน็ตชำระค่าคลื่นความถี่ 700 MHz งวดที่ 3 จำนวนเงิน 1,881,488,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือวงเงิน 6,585,208,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และ ชำระเงินค่าคลื่นความถี่ 900 MHz งวดที่ 5 จำนวนเงิน 4,072,848,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือวงเงิน 10,385,762,400 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากการประมูลและได้รับการจัดสรรคลื่น โดยได้ชำระเงินแก่ กสทช. เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 ดีแทคนำคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำมาขยายความครอบคลุมพื้นที่ใช้งานและเพิ่มความจุของโครงข่ายทั่วประเทศ เพื่อยกระดับประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสู่ลูกค้าทุกคน ทำให้ลูกค้าใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ดีแทคมุ่งพัฒนาโครงข่ายสำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพิ่มสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ใช้งานมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ดีแทคได้ขยายสถานีฐานคลื่น […]
อ่านเพิ่มเติม »
ฮือจี้ 'รัฐบาล-กสทช.' เลิกประมูลสิทธิวงโคจรดาวเทียม เสนอหน่วยงานรัฐดำเนินการเองที่บริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
อ่านเพิ่มเติม »
ดาวโจนส์ร้อนแรง พุ่ง 700 จุด คาดเฟดชะลอขึ้นดบ. หลังเงินเฟ้อแผ่วดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันศุกร์ (6 ม.ค.)ทะยาน 700 จุด ขานรับรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร รวมทั้งดัชนีภาคบริการของสหรัฐ ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อ่านต่อ:
อ่านเพิ่มเติม »
MediaTek เปิดตัว Genio 700 แพลตฟอร์ม IoT สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสมาร์ทโฮมMediaTek เปิดตัว Genio 700 แพลตฟอร์ม IoT สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสมาร์ทโฮม iphonedroid
อ่านเพิ่มเติม »
บุกกสทช.! จี้ยกเลิกเปิดให้เอกชนประมูลสิทธิวงโคจรดาวเทียม : อินโฟเควสท์สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (สร.ทช.) พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย และพรรคไทยภักดี เดินทางไปสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อยื่นแถลงการณ์เรียกร้องใหรัฐบาล และ กสทช. ยกเลิกการประมูลสิทธิวงโคจรดาวเทียม และให้ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) หน่วยงานของรัฐดำเนินการเอง แถลงการณ์ ระบุว่า ตามที่รัฐบาลได้มีความพยายามเร่งรีบผ่านคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อดำเนินการประมูลสิทธิการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมภายหลังการสิ้นสุดสัญญาของบริษัทเอกชน แทนที่จะส่งต่อให้หน่วยงานรัฐได้เข้ามาทำหน้าที่ดำเนินการให้บริการสาธารณะกับประชาชนได้เข้าถึงอย่างเป็นธรรม ในประเด็นนี้มีความเห็นว่า 1.กิจการดาวเทียมโครงสร้างหรือโครงข่ายชั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ โดยตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา กิจการดาวเทียมตกอยู่ในมือของกลุ่มทุนเอกชนเพื่อนำไปหาผลประโยชน์ให้แก่บริษัทตนเอง ได้สร้างความร่ำรวยมั่งคั่งให้อย่างมหาศาล แต่ประโยชน์ที่ตกสู่ประเทศชาติและประชาชนคนไทยได้รับเพียงเล็กน้อยและประชาชนในชาติยังต้องแบกรับภาระค่าบริการที่แสนแพง เนื่องจากการแสวงหาผลกำไรนั้นอีก 2.การออกประกาศของ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) จึงเป็นการกระทำที่เข้าข่ายขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 56 วรรคสอง “โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ รัฐจะกระทำด้วยประการใดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดมิได้” […]
อ่านเพิ่มเติม »